หลังจากมีการเรียกร้องจากกลุ่มสหกรณ์แทกซี่ ขอขึ้นราคาค่าโดยสาร เริ่มต้นจาก 35 บาท เป็น 50 บาท โดยอ้างสาเหตุจากราคา LPG ที่มีการปรับขึ้น รวมทั้งเรทค่าโดยสารไม่มีการขยับมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งไม่สะท้อนกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในปัจจุบัน
โดยค่าโดยสารเริ่มต้น 35 บาท สำหรับ 2 กม. แรก ขอเพิ่มเป็น 50 บาท (ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน พค. เราเคยนำเสนอข่าวขอปรับขึ้นเป็น 40 บาทแล้วแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ) สำหรับกม. ที่ 2-12 ปัจจุบันคิด กม.ละ 5 บาท ขอปรับเป็น กม.ที่ 3 เป็นต้นไปคิด 12 บาท
กรณีเรียกผ่านศูนย์แท็กซี่ มีค่าธรรมเนียมที่ 20 บาท ขอปรับเป็น 50 บาท และการเรียกจากสนามบิน ปกนติ 50 บาท ขอเพิ่มเป็น 100 บาท และอัตรา 1.5 บาท/นาที กรณีรถติดไม่เคลื่อนที่ เพิ่มเป็น 3 บาท/นาที
ซึ่งจากรายละเอียดการร้องขอตรงนี้ ยิ่งรุนแรงขึ้นกว่า เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมาอีก จนทำให้มีเสียงวิพากวิจารณ์ไปต่างๆ นานา ถึงความเหมาะสมกับการขึ้นราคาแบบ ก้าวกระโดดเช่นนี้ อีกทั้งทุกวันนี้ ก็มีปัญหาร้องเรียนแท็กซี่จำนวนมาก ถึงพฤติกรรมการของผู้ขับแท็กซี่ แล้วยังเรื่องการเลือกปฏิบัติเลือกรับผู้โดยสาร โดยเฉพาะเน้นรับชาวต่างชาติ หรือ คนต่างจังหวัด หรือบางทีเรียกไปบางที่ก็ไป เรียกไปบางที่ก็ไม่ไป
และเมื่อเรามามองรายละเอียดการขึ้นค่า LPG อันนั้นเป็นในส่วนของภาคครัวเรือน แถมด้วยการมาดูสถิติ ของรถแท็กซี่ ที่แท้จริง พบว่า ใช้ LPG เพียง 33% เท่านั้น ซึ่งกลุ่มใหญ่ ยังคงเป็น CNG และ CNG มีกลไกควบคุมราคาที่อยู่ในเกณฑ์
ซึ่ง ณ ตอนนี้คงต้องมาดูการตอบคำร้องขอของกลุ่มแท็กซี่นี้ จากทางภาครัฐ กันว่าจะมีแนวทางการแก้ไขช่วยเหลือ อย่างไร ทั้งฝ่ายผู้โดยสาร รวมถึง ผู้ขับแท็กซี่ เพื่อความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นไร ผู้บริโภคคงต้องเป็นผู้เลือกตัดสินใจเองว่า จะใช้บริการหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มกับค่าโดยสารที่ต้องจ่ายแพงขึ้น ก็อาจมองรถโดยสารสาธารณะอื่น MRT, BTS, ARL หรือแม้กระทั่งรถเมล์, รถตุ๊กตุ๊ก ก็ตาม
ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้ขับแท็กซี่ ซึ่งมีจำนวนมากในปัจจุบัน ถ้าทนรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นไม่ไหว อาจจะต้องพิจารณาความเหมาะสมว่า ถ้ายังวิ่งต่อแล้วจะคุ้มค่ากับเงินที่ได้รับหรือไม่?
ความคิดเห็น