เมื่อวานนี้เราได้นำเสนอข่าว เรื่องสหกรณ์แท็กซี่ เรียกร้องขอปรับราคาค่าโดยสารเพิ่ม อ้างค่าครองชีพกันไปแล้ว ซึ่งผลสรุปจะเป็นอย่างไร ยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่ที่แน่ๆ วันอาทิย์นี้ คนกรุงผู้ใช้ทางด่วนเป็นประจำ เตรียมรับชะตากรรมเพิ่มเติม กับค่าผ่านทางที่ถูกบวกเพิ่ม
ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอเรื่องนี้กันไปแล้ว โดยเนื้อหาใจมีดังนี้
ค่าผ่านทางจะถูกปรับเพิ่มขึ้นใน ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด) และทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี) อีก 5 บาท ตามสัญญา ที่ได้ทำไว้ ซึ่งกำหนดให้ขึ้นค่าผ่านทางได้ทุกๆ 5 ปี
ทั้งนี้การเพิ่มราคาดังกล่าวจะส่งผลให้ ค่าผ่านทางมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยรถยนต์นั่งไม่เกิน 4 ล้อ ปรับเพิ่มขึ้น จากเดิม 45 บาท เป็น 50 บาท รถ 6-10 ล้อ จากเดิม 70 บาท เป็น 75 บาท และรถมากกว่า 10 ล้อ จากเดิม 100 บาท เป็น 110 บาท ตามลำดับสำหรับโครงข่ายในเขตเมือง (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร : ดินแดง-ท่าเรือ, บางนา-ท่าเรือ, ดาวคะนอง-ท่าเรือ, ทางพิเศษศรีรัช ส่วน A และ B : พญาไท-พระราม 9, พญาไท-บางโคล่)
ส่วนโครงข่ายนอกเขตเมือง(ทางพิเศษศรีรัช ส่วน C และ D) จะปรับเฉพาะทางพิเศษศรีรัช ส่วน D(ถนนพระราม 9-ถนนศรีนครินทร์) สำหรับ รถ 6-10 ล้อ จากเดิม 50 บาท เป็น 55 บาท และรถมากกว่า 10 ล้อ จากเดิม 70บาท เป็น 75บาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าผ่านทางสำหรับทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษบูรพาวิถี จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1ก.ย. 2556และทางพิเศษอุดรรัถยา จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2556 เป็นต้นไป
ซึ่งการปรับขึ้นราคานั้น เล่นเอาคนใช้รถบ่นอุบ กันถ้วนหน้าจากภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละวันที่ต้องแบกเพิ่ม ในด้านการปรับขึ้นราคาสินค้าหรือบริการนั้น ว่าด้วยเหตุผล สินค้าหรือคุณภาพนั้น ควรต้องมีคุณภาพที่ดีขึ้นด้วย
แต่จะเห็นได้ว่า หลายครั้งที่ขึ้นทางด่วน เรามักจะพบช่องชำระค่าผ่านทาง ถูกปิดอย่างน้อย 1 ช่องเสมอ และทำให้ การจราจร ติดขัดบริเวณก่อนถึงด่านชำระเงิน นอกจากนั้น ในบางเส้นทางช่วงเวลากลางคืน ก็ปิดไฟ เป็นระยะทางยาว แทบจะต้องเปิดไฟสูงวิ่ง ซึ่งอาจทำให้แยงตา ต่อรถที่วิ่งสวนมาในฝั่งตรงข้ามอีก
จากสิ่งที่ผู้บริโภคได้ผลกระทบจาก การประหยัด ค่าใช้จ่ายของ กทพ. นั่นเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้วหรือ? กับการขึ้นราคาค่าผ่านทาง โดยอ้างดัชนิเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าเราลองมองวิเคราะห์ กันดูคร่าวๆ วันหนึ่งมีรถใช้บริการทางด่วนราว 2 ล้านคันต่อวัน ซึ่งจากการปรับเพิ่มค่าทางด่วน ทำให้กทพ.มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 58 ล้านบาทต่อวันเป็น 61 ล้านบาทต่อวัน คิดต่อปี กทพ. จะมีรายได้เพิ่มราว 10,950 ล้านบาท
ความคิดเห็น