เมื่อวานนี้ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้กล่าวถึงแผนการแก้ปัญหาจราจรใน กทม. ซึ่งจะเป็นการดัดนิสัยผู้ที่จอดรถผิดกฎจราจร โดยจะนำรถยกมาใช้ กับผู้ฝ่าฝืน ห้ามจอดในที่ห้าม โดยนอกจากจะโดนโทษปรับไม่เกิน 500 บาท แล้วยังต้องเสียค่าเคลื่อนย้าย 500 บาท (ยกไป สน.) และค่าดูแลอีกวันละ 200 บาท โดยเปลี่ยนวิธีการล๊อคล้อเป็นยกรถ และจะบังคับใช้เฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น โดยคาดว่าจะมีการเตรียมบังคับใช้ภายในต้นเดือนพฤศจิกายน
แต่สำหรับประเด็นหลักที่จะส่งผลกระทบต่อปากท้องของคนใช้รถ อย่างแน่นอน นั่นคือ การเสนอโครงการจำกัดอายุการใช้งานรถ โดยรถอายุเกิน 7-10 ปี ห้ามนำเข้ามาวิ่งในพื้นที่กทม. ซึ่งหากนำมาใช้อยู่จะต้องเสียภาษีเท่ารถใหม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกวิพากวิจารณ์ กันว่าเหมาะสมหรือไม่ ถึงแม้จะเป็นการศึกษากฎหมายตามแนวทางของต่างประเทศก็ตาม ถ้าหากมีการออกกฎหมายดังกล่าว นั่นอาจเป็นการบีบให้ผู้ที่ใช้รถเก่า ต้องขายรถคันเก่า และหันมาซื้อรถยนต์ใหม่? เพราะรถยนต์เก่าไม่เหมาะแก่การนำมาใช้บนถนน เนื่องจากอาจเกิดการเสีย และเป็นผลให้เกิดการจราจรติดขัดบนท้องถนน? หรืออาจเป็นอีกวิธีการหนึ่งเพื่อต้องการเรียกเก็บภาษีรถเก่า เพิ่ม เนื่องจากรถเก่าจะมีการเสียภาษีที่น้อยลง กันแน่?
นอกจากนั้น ยังมีผู้เสนอ ให้มีการเสียค่าปรับกรณีทำการจราจรติดขัด นาทีละ 100 บาท ซึ่งเหมาะสมหรือไม่?
ซึ่งคงต้องรอดูมาตรการ ดังกล่าวกันต่อไป ว่าจะมีการอนุมัติให้นำมาใช้กันจริง หรือไม่ ซึ่งนั่น อาจเป็นแง่ดีในการจัดระเบียนวินัยการจราจร บนถนนบ้านเรามากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่ก็คงได้รับผลกระทบกันไม่น้อยทีเดียว
ความคิดเห็น