พบเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ ได้ใน Automotive Industry Review ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.thaicar.com/air
หลังจากประสบกับวิกฤตหลาย ๆ ครั้งในช่วงที่ผ่านมา โตโยต้าได้กลับมาสู่ตำแหน่งที่เหมาะที่ควรอีกครั้ง ด้วยการประกาศตัวเลขผลกำไรจากการปฏิบัติการที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ถึง 2.9 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดสำหรับบริษัทญี่ปุ่นที่ไม่ได้เป็นบริษัททางด้านการเงิน และโตโยต้าก็ได้ประกาศการลงทุนครั้งใหญ่ในการรักษาตำแหน่งผู้นำต่อไปอีกทศวรรษ
นิกเกอิ อาเซียน รีวิว ได้อ้างคำพูดของ อากิโอะ โตโยดะ ประธานบริษัท ว่า “เราจะเริ่มต้นหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งการเติบโตในอนาคตตั้งแต่บัดนี้ ในช่วงเวลาที่เรามีความสามารถในการจับจ่ายเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมได้อยู่”
การใช้จ่ายทางด้านงานวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) จะถูกเพิ่มขึ้นประมาณ 5 หมื่นล้านเยน ซึ่งจะทำให้ทำลายสถิติการลงทุนทางด้านนี้ด้วยเงินลงทุนรวม 9.6 แสนล้านเยน นอกจากนี้ โตโยต้ายังวางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 1 ล้านล้านเยนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งบริษัทคาดหวังว่าจะเห็นผลลัพธ์แห่งการลงทุนภายใน 5-10 ปีในภายภาคหน้า
สัดส่วนการลงทุนขนาดใหญ่จะใช้เพื่อการพัฒนาแพลตฟอร์มที่จะนำมาใช้กับรถยนต์โตโยต้าเจนเนอเรชั่นถัดไป ที่เรียกว่า Toyota New Global Architecture (TNGA) ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโตโยต้า พริอุสรุ่นต่อไป ซึ่งโครงการนี้มีความคล้ายคลึงกับแพลตฟอร์มเอ็มคิวบีของโฟล์กสวาเกนอยู่ไม่น้อย
เป้าหมายการเปิดตัวของแพลตฟอร์มดังกล่าวจะเกิดขึ้นในปื 2559 โดยแพลตฟอร์มใหม่นี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ด้วยการลดจำนวนแพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าลงเหลือเพียง 3 แพลตฟอร์ม ซึ่งทั้งหมดจะใช้ในการผลิตรถยนต์ของโตโยต้ากว่าครึ่งหนึ่งของแผนการผลิตรถยนต์ทั่วโลก
แผนการทั้งหมดยังรวมถึงการเพิ่มจำนวนการใช้ชิ้นส่วนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ การลดระยะเวลาในการพัฒนาสินค้าใหม่ลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการพัฒนารถยนต์ที่สามารถตอบสนองขีดความจำกัดและความต้องการในแต่ละภูมิภาคได้
และด้วยความที่คู่แข่งรายอื่น ๆ พยายามที่จะวิ่งตามโตโยต้าในฐานะผู้นำระบบไฮบริด โตโยต้าก็เตรียมพร้อมที่จะส่งรถยนต์นั่งฟิวเซลล์ที่ใช้ไฮโดนเจนเป็นเชื้อเพลิงออกมาทำตลาด โดยจะเห็นได้จากรถต้นแบบรุ่นเอฟซีวี
ด้วยเป้าหมายที่จะรักษาตำแหน่งการเป็นผู้นำที่อยู่เหนือคู่แข่งทุกราย ในปัจจุบันนี้ โตโยต้าพบว่ายอดจำหน่ายในภูมิภาคหลัก ๆ อย่างอเมริกาเหนือ ยุโรปและเอเซีย ได้ถูกแย่งชิงไปด้วยคู่แข่งหลักอย่างโฟล์กสวาเกนและฮุนได
วิศวกรที่ถูกเลิกจ้างของโตโยต้าอาจจะถูกส่งมาทำงานในอาเซียน
อีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกัน มีการรายงานในนิกเกอิเช่นกันว่า โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ออสเตรเลีย อยู่ระหว่างการพิจารณาหางานให้สำหรับวิศวกร 220 คนที่จะถูกยกเลิกสัญญาหลังการปิดโรงงานในประเทศในปี 2560
รายการดังกล่าวระบุว่าวิศวกรเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตต้นทุนต่ำ น่าจะถูกส่งมาช่วยเหลือโรงงานผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในประเทศไทยและฟิลิปปินส์
พบเรื่องราวน่าสนใจอื่น ๆ ได้ใน Automotive Industry Review ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.thaicar.com/air
ความคิดเห็น