ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนอาจกลับบ้านไปเที่ยวพักผ่อนในเทศกาลวันหยุดยาว ด้วยการขับรถยนต์ส่วนตัว
และในการเดินทางไกล มักพบอาการเมื่อยล้าจากการขับขี่อยู่เสมอ ในวันนี้เราจึงนำเสนอวิธีการนั่งขับขี่ไม่ให้เมื่อยหลังมาฝากกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการขับขี่ทำงานในชีวิตประจำวันได้ด้วย
เริ่มที่ตำแหน่งของที่นั่งไม่ควรห่างหรือชิดจนเกินไป โดยให้ระยะเท้าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในการเหยียบแป้นคันเร่ง และเบรก
เลื่อนตำแหน่งเบาะให้เข่าอยู่สูงกว่าสะโพก ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม รวมถึงทัศนะวิสัยในการขับรถที่ดี
ศรีษะควรชิดพนักพิง หรือห่างไม่เกิน 1” เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อคอหดเกร็งทำงานหนัก และช่วยลดการบาดเจ็บของคอหากเกิดอุบัติเหตุ
เบาะพิงหลังควรมีเนินรับกับแผ่นหลังช่วงเอว ใสนรถที่มีตัวดันหลังควรปรับให้กระชับกับแป่นหลัง ถ้าไม่มีอาจใช้ผ้ารองแทนได้
สำหรับการขึ้นลงรถ ควรเลี่ยงการเอี้ยวตัวหมุน แต่ควรหมุนสะโพกและตัวไปพร้อมกัน ในขณะที่ลงจากรถควรใช้มือในการช่วยพยุงตัวขึ้น
กรณีขับรถเดินทางไกลเป็นเวลานาน ควรมีการพักและยืดหลัง เป็นระยะ โดยขณะจอดรถให้ปรับพิงเบาะเอนหลังเล็กน้อยเป็นระยะ จะช่วยลดความเครียดที่เกิดกับหลังได้ หรือออกจากรถมายืน ใช้มือทั้ง 2 จับเอว และแอ่นหลังช้าๆ ก็ได้
หากมีอาการปวดเมื่อยบริเวณหัวเข่า จากการยกเท้าออกจากแป้นคันเร่งมาเหยียบเบรกสลับไปมาบ่อยๆ ในสภาวะรถติด ก็อาจเหยียดขาตึงเผื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าได้ด้วย
ความคิดเห็น