หลังจากเคยมีกรณีการใช้ชิลด์บังลมหมวกกันน็อคแบบทึบแสงไม่ว่าจะเป็น ชิลด์หน้าสีดำ ชิลด์หน้าสีปรอท และโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจโบกให้จอดเพื่อติดค่าเสียหายในกรณีที่เราทำผิดกฎหมายเนื่องจากใช้อุปกรณ์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตอนนี้มีอีกกรณีที่เงิบยิ่งกว่าโผล่ขึ้นมาในโลกโซเชียล
การใช้ชิลด์หน้าหมวกกันน็อคแบบทึบแสงไม่ว่าจะเป็นชิลด์หน้าแบบสีดำหรือชิลด์หน้าแบบปรอททางเจ้าหน้าแจ้งว่าผิดกฎหมาย เนื่องจากผู้ใช้งานออกนำไปก่อเหตุจี้ปล้นขโมยทรัพย์สิ้นผู้อื่นทำให้เสียหาย และทำให้ยากต่อการสืบหาและจับกุม (ทั้งที่บางที่เปิดหน้าปล้นก็ไม่เห็นจะจับได้) ผู้ใช้จักรยานยนต์ก็ทำใจและเปลี่ยนไปให้หมวกกันน็อคแบบที่มีกันแดดหรือซัน ไวเซอร์ (Sunvisor) ในตัว เพื่อความสะดวกและไม่ต้องพกแว่นกันแด
ล่าสุดน้าหนวดหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศไทยบ้านเราได้เปิดศักราชใหม่แห่งการปรับผู้สวมใส่หมวกกันน็อค ด้วยการจับและปรับผู้ที่ใช้หมวกกันน็อคแบบมีกันแดดในตัวด้วยข้อหาเดียวกับผู้ใช้ใช้ชิลด์กันลมหน้าแบบทึบ
โดยเจ้าหน้าที่ให้ความเห็นกับกรณีนี้ตามที่มีการแชร์ในกลุ่มสังคมออนไลน์ว่าการใช้ซันไวเซอร์นั้น "ยังไงก็ผิด ไม่เหมือนกับใช้เเว่นกันแดด เถียงไปยังไงก็ผิด" แล้วอย่างนี้ผู้ที่สายตาผิดปกติก็ต้องขี่รถจักรยานยนต์สู้แดดหรือไม่ก็ต้องหาแว่นกันแดดมาใส่ซ้อนอีกทีหรืออย่างไร
เหตุนี้ทำให้พี่กลุ่มคนบนโลกโซเชียลตังคำถามว่า ถ้าหมวกกันน็อคแบบนี้ผิดกรณีแล้วแบบไหนที่ถูกกฎหมาย แล้วถ้าผิดกฎหมายทางภาครัฐปล่อยให้พี่การนำออกมาจำหน่ายได้อย่างไร ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ออกมาชี้แจ้งในกรณีนี้แบบค้างๆ คูๆ ว่า "ก็เหมือนกับมีด ขายได้แต่ถ้านำไปใช้ก็ผิดกฎหมาย" เดี๋ยวๆ มีดกับหมวกมาเกี่ยวกันได้อย่างไร
ด้านผู้ผลิตเองก็ออกมาชี้แจงโดยทันควันโดยบอกว่า "ก่อนผลิตหมวกที่มีกลไกแว่นกันแดดผมศึกษาแล้วว่าใน มอก.369-2539 ระบุไว้ชัดเจนถึงความหมายของบังลมคือเอาไว้บังลมและกำหนดให้มีสีใส ซึ่งบังลมต้องอยู่ด้านหน้าหรือด้านนอกของหมวกเพื่อกันลม" ซึ่งแน่นอนว่าบังลมหรือชิลด์หน้านั้นอยู่ด้านหน้าจึงต้องเป็นสีใส
ในส่วนของชั้นที่เป็นบังแดดนั้นไม่ใช่บังลมและอยู่ภายในหมวกกันน็อค ซึ่งถ้าในกรณีดังกล่างหากบังแดดหรือซันไวเซอร์ผิดกฎหมายการใส่แว่นกันแดดขี่รถจักรยานยนต์ก็ต้องผิดกฎหมายด้วยไปโดยปริยาย แต่เจ้าหน้าที่เป็นคนบอกเองนะว่าใส่แว่นกันแดดได้
ส่วน มอก. หรือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับหมวกกันน็อคเองก็เก่าคร่ำครึไม่ได้ต่างไปจากกฎหมายจราจรที่ประชาชนรณรงค์ให้มีการปรับปรุงแต่ทางภาครัฐนิ่งเฉย โดย มอก. ดังกล่าวนั้นได้ออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 หรือเมื่อ 19 ปีที่แล้ว ในขณะที่เทคโนโลยีหมวกกันน็อคนั้นมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
อ่านข่าววงการมอเตอร์ไซค์ทั้งหมด คลิกที่นี่
ความคิดเห็น