โครงการ สาทร โมเดล “ร่วมกันขยับ ขับเคลื่อนสาทร” เพื่อแก้ปัญหาการจราจร อย่างยั่งยืน Share this

โครงการ สาทร โมเดล “ร่วมกันขยับ ขับเคลื่อนสาทร” เพื่อแก้ปัญหาการจราจร อย่างยั่งยืน

Coke Autospinn
โดย Coke Autospinn
โพสต์เมื่อ 27 November 2558

โครงการ สาทร โมเดล เพื่อการแก้ปัญหาการจราจร ในระแวกสาธรที่ขึ้นชื่อเกี่ยวกับการติดขัดของการจราจร ด้วยโครงการที่จะช่วยให้วิถีชีวิตของผู้ที่ขับขี่สันจรผ่านละแวกนี้ดีขึ้น ซึ่งถ้ามีผลการตอบรับที่ดี โครงการนี้ จะกลายเป็นโมเดล ต้นแบบในการแก้ปัญหาให้กับถนนเส้นอื่น ๆ อีกต่อไป

สาทร โมเดล โครงการนำร่องเพื่อการแก้ปัญหาจราจรอย่างยั่งยืนโครงการสาทรโมเดล ริเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2557 โดยสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมกับภาคเอกชนและได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากกรุงเทพมหานครกระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เพื่อบรรเทาการจราจรที่ติดขัดบนถนนสาทร

Sathon Model_006

มร.เคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น / กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ เซลส์ / กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง / กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า  “รถยนต์เป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทางอย่างเสรีของผู้คน ใช้ในการขนส่งสินค้าและมีส่วนในการพัฒนาความเจริญของสังคม แต่ในทางตรงกันข้ามการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของรถยนต์ทำให้การจราจรติดขัด เพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อมและอุบัติเหตุบนท้องถนน

การแก้ปัญหาจราจรด้วยการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมนั้นต้องใช้เวลาที่ยาวนานและงบประมาณมหาศาลแต่การใช้ระบบขนส่งสาธารณะรวมถึงการปรับเวลาเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนจะช่วยลดการจราจรที่หนาแน่นได้

Sathon Model_007

1. โครงการจอดแล้วจร (Park & Ride Scheme) ด้วยการเตรียมพื้นที่จอดรถ 13 แห่ง ที่สามารถรองรับรถยนต์ได้ 2,413 คัน ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS : Bangkok Mass Transit System) ตลอดจนสถานีรถไฟฟ้ามหานคร (MRT: The Metropolitan Rapid Transit) และ รถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT : Bus Rapid Transit)

2. โครงการรถบัสรับส่ง (Shuttle Bus Sharing Scheme) ที่พร้อมให้บริการด้วยรถบัสที่ทันสมัย สำหรับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จำนวน 4 เส้นทางและโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม

3. การเหลื่อมเวลาทำงาน (Flexible Working Time) เพื่อกระจายปริมาณรถยนต์ในช่วงเวลาเร่งด่วน

4. การทำประชามติและประเมินผลแบบจำลองการจราจร เพื่อแก้ปัญหาการจัดการการจราจรบริเวณคอขวด

5. การสนับสนุนการพัฒนาระบบสัญญาณไฟจราจร

6.การพัฒนาและเตรียมแนะนำการใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน เพื่อที่จะเลือกวิธีการเดินทางได้อย่างเหมาะสมรวมถึงพิจารณาเวลาที่ควรเริ่มออกเดินทางตลอดจนประเมินเวลาที่ใช้ในการเดินทางและเลือกรูปแบบการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายคล่องตัวที่สุด

สามารถติดตามข่าวสารอัพเดตเพิ่มเติม ได้ที่นี่


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ