บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด “การสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ ท่ามกลางตลาดที่มีความผันผวน” โดยบริษัทฯได้รับเกียรติจาก มร. คริส มิดจ์ลีย์ หัวหน้าทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจวิเคราะห์ตลาดน้ำมัน กลุ่มบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ กล่าวบรรยายพิเศษถึงภาพรวมของพลังงานในระดับโลก และแนวโน้มที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ร่วมด้วยผู้บริหารระดับสูงของเชลล์ ได้แก่คุณอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย คุณอรรถ เหมวิจิตรพันธ์ กรรมการบริหารธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงอุตสาหกรรม และพร้อมทั้งผู้บริหารระดับแนวหน้าจากภาครัฐและเอกชน ดร. ดอน นาครทรรพ ผู้อํานวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด คุณ กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ คุณกฤษฎามนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัดได้จัดงานสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความผันผวนของตลาดและภาวะน้ำมันภายใต้บริบทของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยแก่ลูกค้าองค์กรชั้นนำจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในการรับมือกับปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดความผันผวนในตลาด โดยมี มร.คริส มิดจ์ลีย์ หัวหน้าทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจวิเคราะห์ตลาดน้ำมัน
กลุ่มบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์พร้อมด้วยนักบริหารมือทองจากภาครัฐและภาคเอกชนให้เกียรติร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น ดร. ดอน นาครทรรพ ผู้อํานวยการอาวุโส
ฝ่ายกลยุทธ์ สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย คุณ กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย คุณกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉายประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล และคุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
มร.คริส มิดจ์ลีย์ หัวหน้าทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจวิเคราะห์ตลาดน้ำมัน กลุ่มบริษัทรอยัล ดัทช์ เชลล์ ได้แบ่งปันมุมมองและข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้เกิดความผันผวนในตลาาดน้ำมันได้แก่ ค่าเงินดอลลาร์เหรียญสหรัฐที่แข็งขึ้น ที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ (crude oil) ลดต่ำลง
ทั้งนี้เนื่องจากการซื้อขายน้ำมันดิบในตลาดจะใช้ดอลลาร์เหรียญสหรัฐในการทำธุรกรรม เมื่อค่าดอลลาร์เหรียญสหรัฐสูงขึ้นราคาน้ำมันสำหรับผู้บริโภคผู้ใช้สกุลเงินอื่นๆก็จะสูงขึ้นไปโดยปริยายส่งผลให้อุปสงค์ของน้ำมันดิบลดลง
ทางด้าน ดร. ดอน นาครทรรพ ผู้อํานวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้คำแนะนำในการรับมือกับความผันผวนไว้อย่างน่าสนใจว่า
ธุรกิจควรตั้งอยู่บนพื้นฐานจากทักษะความเชี่ยวชาญหลักของบริษัทและควรซื้อเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนชำระหนี้โดยใช้เงินสกุลท้องถิ่น เพื่อเลี่ยงความผันผวนของเงินดอลลาร์ เช่นบาทกับหยวน บาทกับริงกิต โดยในอนาคตธนาคารแห่งประเทศไทยมีแผนส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นให้มา
คุณกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล ซึ่งได้กล่าวว่า มิตรผลไม่ได้ทำธุรกิจน้ำตาลแต่เพียงอย่างเดียวแต่ได้ต่อยอดธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงานหรือด้านไบโอเคมีคัลซึ่งเป็นก้าวต่อไปของบริษัท โดยกลุ่มมิตรผลมองว่าคือหัวใจหลักที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของธุรกิจในอนาคต
คุณอรรถ เหมวิจิตรพันธ์ กรรมการบริหาร ธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงอุตสาหกรรม บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลว่าเชลล์มีเครื่องมือที่ช่วยบริหารความเสี่ยง (Fuel Price RiskManagement) ให้แก่ลูกค้า เพื่อช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงในส่วนของต้นทุนราคาน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเชลล์จะเข้าไปทำความเข้าใจความเสี่ยงในด้านราคาของธุรกิจลูกค้า
นำเสนอวิธีในการบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสมกับความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ ช่วยควบคุมกระแสเงินสดต่อราคาน้ำมันที่ผันผวนการตัดสินใจในการวางแผนและกำหนดงบประมาณง่ายขึ้น
คุณ กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปูนซีเมนต์ไทย (เอสซีจี) มีความเห็นว่าการวิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งที่เอสซีจี ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเห็นได้จากงบประมาณที่เอสซีจีตั้งไว้สูงถึง 150 ล้านเหรีญสหรัฐ โดยวิสัยทัศน์ของเอสซีจี คือ การขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียน (Go Regional) การสร้างสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added) และนวัตกรรม (Innovation)
คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้าประเทศไทย จำกัด ได้แบ่งปันบทเรียนต่างๆที่ โตโยต้าได้นำสิ่งที่เรียนรู้ในอดีตมาประยุกต์ใช้กับปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต
จนสามารถทำให้โตโยต้าเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและแม้ว่าในปีนี้ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยจะมีระดับต่ำลงกว่าที่ผ่านมาแต่โตโยต้าก็ยังคงสามารถทำกำไรจากการส่งออกรถยนต์ได้สูงถึง 80%
การให้ความสำคัญในการลงทุนวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ การตั้งวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนขององค์กรให้เติบโตไปในระดับภูมิภาคและก้าวไกลไปถึง เวทีโลก และการมองหาเครื่องมือที่เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง รวมถึงการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ถือเป็นหัวใจของความสำเร็จสำหรับองค์กรในปัจจุบัน
ความคิดเห็น