บีเอ็มดับเบิลยู ได้ใช้ความพยายามอย่างหนักในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์แห่งอนาคต พร้อมกับการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่ต้องลดไอเสียให้น้อยลง ไปจนถึงต้องไม่มีการปล่อยไอเสียเลย รวมทั้งจะต้องมีระบบการขับเคลื่อนที่ให้สมรรถนะสูงสุด
การสร้างรถพลังขับเคลื่อนไฟฟ้าของบีเอ็มดับเบิลยู ไม่ใช่เพียงนำรถยนต์ปัจจุบันมาดัดแปลง เพื่อใส่ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าเข้าไป แต่เป็นการคิดค้นและพัฒนาขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่โครงสร้างตัวถังที่เกิดจากการนำวัสดุเส้นใยพลาสติกเสริมคาร์บอน หรือ Carbon Fiber Reinforced Plastic (CFRP) ที่ใช้กันในรถแข่ง F1 เพื่อชดเชยให้กับน้ำหนักแบตเตอรี่ที่ต้องเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า มาปฏิวัติใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นครั้งแรก วัสดุนี้เองเป็นปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของรถ
เส้นใยพลาสติกเสริมคาร์บอนนี้ มีความแข็งแกร่งเทียบเท่ากับเหล็ก แต่มีน้ำหนักเบากว่าถึงร้อยละ 50 ซึ่งในปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ซูเปอร์ไฮเทค อย่าง เครื่องบินรบ Figther Jet F22 Rapter, รถแข่ง F1 หรือ ในซูเปอร์คาร์ระดับโลกอย่าง Pagani Hyuara, Ferrari F12, Lamborghini Aventador
ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสิ่งที่ดีที่สุด บีเอ็มดับเบิลยูจึงได้นำเทคโนโลยีวัสดุ Carbon Fiber มาคิดค้นวิธีผลิตใหม่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด และทำให้ราคาลดลงมาในระดับที่สามารถใช้ในเชิงอุตสาหกรรมได้ โดยบีเอ็มดับเบิลยูได้นำวัสดุ CFRP เข้ามาใช้ในการประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่าง BMW i3, BMW i8 และ iPerformance models ด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบา และความแข็งแกร่งที่สามารถรับแรงดึงระดับสูงของเส้นใยพลาสติกเสริมคาร์บอน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับห้องโดยสาร
บีเอ็มดับเบิลยู ได้รังสรรค์เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าให้กลายเป็นจริง โดยเริ่มการคิดค้น และประสบความสำเร็จในการพัฒนารถพลังงานไฟฟ้ารุ่น BMW 1602 โดยมีการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ที่โอลิมปิก เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี เมื่อปี 1972 ต่อมาในเดือนมิถุนายน ปี 2009 BMW ได้มีการเปิดให้ผู้ใช้รถยนต์ที่ต้องการมีประสบการณ์ทดลองขับรถพลังงานไฟฟ้ากว่า 1,000 คนใน 10 ประเทศ ทดลองขับรถพลังงานไฟฟ้ารุ่น BMW ActiveE และ MINI E และได้ทำการทดสอบไปรวมทั้งสิ้นกว่า 20 ล้านกิโลเมตร จึงเป็นบทพิสูจน์ว่าเป็นรถที่เหมาะสำหรับการขับขี่ได้หลากหลายสภาวะ
ต่อมารถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเริ่มมีออกมาให้เห็นเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงต้องมีการทำงานร่วมกับเครื่องยนต์สันดาป โดยมาในรูปแบบของรถซูเปอร์คาร์ อย่างเช่น LaFerrari หรือรู้จักกันดีในรหัส F70 เป็นรถยนต์นั่งไฮบริดสมรรถนะสูงขนาด 6.3 ลิตร มีการใช้คาร์บอนไฟเบอร์โมโนค๊อก เป็นโครงสร้างของรถ มีพละกำลังถึง 800 แรงม้า หรือรถซูเปอร์คาร์ในสนามแข่งอย่าง McLaren P1 ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งปลั๊กอินไฮบริดสมรรถนะสูง เมื่อเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าทำงานร่วมกันแล้วสามารถพละกำลังสูงสุดถึง 903 แรงม้า และ Porsche 918 เป็นรถยนต์นั่งปลั๊กอินไฮบริดเปิดประทุนสมรรถนะสูง ใช้เครื่องยนต์ขนาด 4.6 ลิตร V8 สามารถเร่งกำลังได้ถึง 608 แรงม้า พร้อมกับมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวที่ให้พลังงานเพิ่มอีก 279 แรงม้า รวมเป็น 887 แรงม้า
สำหรับบีเอ็มดับเบิลยูก็ไม่ได้หยุดการพัฒนาโมเดลใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์พลังงานไฟฟ้า จนทั่วโลกได้พบกับ BMW i8 ซึ่งเป็นรถสปอร์ตระบบปลั๊ก-อินไฮบริดคันแรกของโลก ที่มีความล้ำสมัยในด้านเทคโนโลยีที่สุดในโลก โดยเมื่อขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถขับเคลื่อนได้เป็นระยะทาง 37 กิโลเมตร ตามมาตรฐานการทดสอบของอียู ห้องโดยสารผลิตจากพลาสติกเสริมเส้นใยคาร์บอน CFRP ที่มีน้ำหนักเบา เพื่อเป็นการชดเชยน้ำหนักที่มากขึ้นของแบตเตอรี่
ไม่เพียงแค่นั้น บีเอ็มดับเบิลยูได้ถ่ายทอดเทคนิค ความรู้ และเทคโนโลยีจาก บีเอ็มดับเบิลยู i8 สู่รถรุ่นใหม่อย่าง บีเอ็มดับเบิลยู X5 xDrive40e หรือ บีเอ็มดับเบิลยู 330e ซึ่งเป็นรถยนต์ปลั๊ก-อินไฮบริด ที่มีสมรรถนะสูงสุดในรถระดับเดียวกัน รวมไปถึงการขับขี่ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จนทำให้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
บีเอ็มดับเบิลยู ได้พัฒนา เครื่องยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นการสร้างมาตรฐานระดับโลกของการประหยัดพลังงานที่มาพร้อมสมรรถนะอันเต็มเปี่ยม ด้วยการเลือกสรรวัสดุที่ทันสมัยและกระบวนการผลิตแบบพิเศษเฉพาะตัวสำหรับชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ทำให้บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเครื่องยนต์ที่ทันสมัยที่สุดของโลก
ความคิดเห็น