การพัฒนายานยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่แค่ต้องใส่ใจระบบขับเคลื่อนเท่านั้น แต่รูปทรงที่ลู่ลมตามหลักอากาศพลศาสตร์ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน
ล่าสุด สจ๊วต นอร์ริส ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบโครงการพัฒนาเชฟโรเลต โบลต์เผยว่า รูปทรงที่ค่อนข้างหนาและทื่อของโบลต์ ทำให้การออกแบบให้มีความลู่ลมเป็นเรื่องยากและถือเป็น “หายนะของหลักแอโรไดนามิก” เลยทีเดียว
ทีมงานฝ่ายออกแบบของดีไซน์สตูดิโอในเกาหลีใต้ซึ่งรับหน้าที่ออกแบบ สามารถทำได้ดีที่สุดให้มีค่าแรงเสียดทานอากาศอยู่ที่ Cd0.32 ซึ่งดีกว่าซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์เล็กน้อย แต่ก็แย่ว่ารถพลังไฟฟ้ารุ่นอื่น อย่างโตโยต้า พริอุส (Cd 0.24) เทสล่า โมเดล เอส (Cd 0.24) และแม้กระทั่งรถเอสยูวีอย่างเทสล่า โมเดล เอ็กซ์ (Cd 0.24)
การลดแรงเสียดทานอากาศ โดยเฉพาะด้านหน้าตัวรถถือว่ามีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของการพัฒนารถพลังงานไฟฟ้า เพราะจะช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนด้านแบตเตอรี่ และเพิ่มระยะทางขับขี่ให้ไกลยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เทสล่า โมเดล 3 จะเป็นคู่แข่งสำคัญของโบลต์ หากมองในแง่ของราคา แต่โมเดล 3 ซึ่งเป็นรถซีดานมีความปราดเปรียวยิ่งกว่ามาก โดยจะมีระยะทางขับเคลื่อนราว 346 กม. แต่ใช้แบตเตอรี่เล็กกว่าของโบลต์ที่มีขนาด 60 กิโลวัตต์ชั่วโมง
ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ ที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่
ความคิดเห็น