มีอะไรใหม่ใน “Formula 1” ฤดูกาล 2017 Share this

มีอะไรใหม่ใน “Formula 1” ฤดูกาล 2017

Satapana
โดย Satapana
โพสต์เมื่อ 23 January 2560

นอกจากการย้ายทีมของนักแข่งแล้ว การแข่งขันฟอร์มูล่าวันที่ถือว่าเข้ายุคใหม่ในปี 2017 มีการเปลี่ยนแปลงมากมายเพื่อยกระดับความเร้าใจยิ่งขึ้น

กฎระเบียบการแข่งขันรถสูตรหนึ่งที่กำลังจะระเบิดความมันส์ในอีกไม่ช้า มีทั้งการจำกัดน้ำหนักและวัสดุที่ใช้เพื่อลดความแตกต่างระหว่างทีมใหญ่และทีมเล็ก รวมถึงการออกแบบตัวรถและเชื้อเพลิงที่ใช้ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นไปชมกันเลย

การจำกัด

ระบบการจำกัดการพัฒนาของสหพันธ์ยานยนต์นานาชาติหรือเอฟไอเอถูกกำหนดขึ้นเพื่อรับกับยุคเครื่องยนต์เทอร์โบไฮบริด มุ่งลดการใช้จ่ายและการพัฒนาที่แตกต่างของทีมแข่ง รวมถึงการสร้างเพดานและมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน อาทิน้ำหนักตัวมอเตอร์ MGU-K และ MGU-H จะต้องไม่ต่ำกว่า 7 กก. และ 4 กก. ตามลำดับ ขณะที่น้ำหนักลูกสูบ ก้านสูบ และเพลาข้อเหวี่ยงจะต้องไม่ต่ำกว่า 300 กรัม 300 กรัม และ 5,300 กรัมตามลำดับ

ขณะเดียวกัน กฎระเบียบใหม่ยังจำกัดขนาดของลูกปืนเพลาข้อเหวี่ยง และอัตราส่วนกำลังอัดของลูกสูบไม่ให้เกิน 18.0 รวมถึงความหนาของการเคลือบทอง แพลทตินัม รูธีเนียม อิริเดียม และรีเนียมให้อยู่ที่ 0.035 มม.

เชื้อเพลิง

นอกจากชิ้นส่วนเครื่องยนต์แล้ว การทำงานภายในเครื่องยนต์ก็ถูกปรับเปลี่ยนใหม่ด้วย โดยแต่ละทีมจะสามารถนำเสนอเชื้อเพลิงผสมได้ 5 รูปแบบตลอดทั้งฤดูกาลนี้ และจะสามารถใช้ได้ 2 รูปแบบเท่านั้นในการแข่งขันจริง ต่างจากกฎก่อนหน้านี้ที่สามารถนำเสนอได้อย่างไม่จำกัด ทีมแข่งจึงสามารถผสมเชื้อเพลิงตามสภาพสนามแข่งได้อย่างเต็มที่ กฎใหม่นี้จะช่วยลดความแตกต่างของแต่ละทีมลงได้พอสมควรทั้งการควอลิฟายและการแข่งจริง

คาดว่ากฎระเบียบข้อนี้จะส่งผลต่อทีมแข่งที่มีสปอนเซอร์เป็นบริษัทผู้ผลิตเชื้อเพลิงชั้นแนวหน้า อาทิเมอร์เซเดสและปีโตรนาส เรด บูลล์กับเอ็กซ์ซอนโมบิล และแมคลาเรนกับบีพี/คาสตรอล

https://img.icarcdn.com/autospinn/body/ferrari-conclusions-raikkonen-vettel_3362744.jpg

การควบคุมคุณภาพ

การใช้เชื้อเพลิงและสารหล่อลื่นไม่เพียงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแข่งขันเท่านั้น แต่ทีมแข่งจะต้องมีการควบคุมคุณภาพเชื้อเพลิงมากขึ้นอีกด้วย โดยเชื้อเพลิงจะถูกส่งตรงไปถึงสนามแข่งขันในแต่ละกรังด์ปรีซ์ ซึ่งวิศวกรของทีมขะต้องตรวจสอบคุณภาพว่าสามารถใช้ในการแข่งขันได้และไม่ขัดต่อกฎระเบียบของทางเอฟไอเอซึ่งจะสุ่มตรวจ 40 ตัวอย่างในแต่ละกรังด์ปรีซ์

นอกจากการตรวยเชื้อเพลิงแล้ว เอฟไอเอยังตรวจสอบน้ำมันเครื่องที่ใช้ด้วย ซึ่งทำให้ทีมแข่งต้องมีการควบคุมคุณภาพที่ดีเยี่ยมและไม่สามารถผิดพลาดได้เลย อาทิ เชลล์ที่มีอุปกรณ์ตรวจสอบแบบพิเศษเรียกว่า RDEOES ทำการตรวจสอบหาสารปนเปื้อนเมทัลลิกที่อาจจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้

แอโรไดนามิก

การเปลี่ยนแปลงด้านกฎอากาศพลศาสตร์จะทำให้ตัวรถมีแรงกดมากขึ้น โดยเอฟไอเอชี้ว่ากฎใหม่นี้จะช่วยให้ความเร็วของรถแข่งเพิ่มขึ้นถึง 40 กม.ต่อชม. ในบางโค้ง นั่นหมายถึงแรงกดดันที่มีต่อนักแข่งที่จะต้องรับแรงเหวี่ยงและความเร็วที่เพิ่มขึ้น รวมถึงชิ้นส่วนของตัวรถที่จะต้องทำงานหนักมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีความทนทานทั้งคนและตัวรถเพื่อบรรลุเป้าหมายนั่นคือชัยชนะ

ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ ที่นี่

ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ