ขนส่งทดลองเดินรถเมล์ 8 เส้นทางใหม่ หลังปรับเชื่อมระบบขนส่งมวลชนอื่น Share this

ขนส่งทดลองเดินรถเมล์ 8 เส้นทางใหม่ หลังปรับเชื่อมระบบขนส่งมวลชนอื่น

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 10 August 2560

ขนส่งลดความสับสน แถลงข่าวให้ขสมก.ทดลองเดินรถ 8 เส้นทางใหม่ ควบคู่กับการให้บริการในเส้นทางเดิมระหว่างวันที่ 15 ส.ค. - 15 ก.ย.นี้ก่อนสรุปความเห็นพัฒนาต่อเนื่อง

สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เปิดเผยว่า หลังครม.มีมติให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการเดินรถให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมขสมก. ซึ่งตามแผนปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีการปรับเพิ่มเส้นทางรองรับการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่นด้วย โดยได้กำหนดการทดสอบเส้นทางเดินรถ 8 เส้นทางใหม่ควบคู่กับเส้นทางเดิมระหว่างวันที่ 15 ส.ค. - 15 ก.ย.นี้ ตั้งแต่เวลา 06.30 น. – 18.30 น. โดยให้ ขสมก.จัดเก็บอัตราค่าโดยสารเป็นอัตราเดียวกับที่ ขสมก. จัดเก็บ

เส้นทางทดลองเดินรถจำนวน 8 เส้นทาง ซึ่งในเบื้องต้นจะแบ่งรถจากเส้นทางเดิม เส้นทางละ 5 คัน เพื่อทดลองเดินรถให้บริการควบคู่กับการให้บริการในเส้นทางเดิม ดังนี้  1.สายที่ G21 รังสิต - ท่าเรือพระราม 5 (เทียบเคียงสาย 114 อ.ต.ก. 3 – แยกลำลูกกา) ,2.สายที่ G59E มีนบุรี – ท่าเรือสี่พระยา (ทางด่วน) (เทียบเคียงสาย 514 มีนบุรี – ถ.รัชดาภิเษก – สีลม)

3.สายที่ R3 สวนหลวง ร.9 – สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ (เทียบเคียงสาย 11 อู่เมกา บางนา – มาบุญครอง) ,4.สายที่ R41 ถนนตก – แฮปปี้แลนด์ (เทียบเคียงสาย 22 อู่โพธิ์แก้ว – สาธุประดิษฐ์)

5.สายที่ Y59 สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน – กระทุ่มแบน (เทียบเคียงสาย 189 สนามหลวง – กระทุ่มแบน),6.สายที่ Y61 หมู่บ้านเศรษฐกิจ – สถานีขนส่งจตุจักร (เทียบเคียงสาย 509 สถานีขนส่งจตุจักร – บางแค),7.สายที่ B44 วงกลมพระราม 9 – สุทธิสาร (เทียบเคียงสาย 54 วงกลมรอบเมืองห้วยขวาง)  และ 8.สายที่ B45 หมู่บ้านเอื้ออาทรบึงกุ่ม – ท่าเรือสะพานพุทธ (เทียบเคียงสาย 73 อูโพธิ์แก้ว – สะพานพุทธ)

สนิท กล่าวว่า ได้มีการกำหนดรายละเอียดชื่อเส้นทาง เพื่อสร้างความเข้าใจและการจดจำอย่างเป็นระบบในเชิงพื้นที่  เบื้องต้น แบ่งลักษณะเขตพื้นที่แบ่งเป็น 4 โซน และกำหนดทั้งสัญลักษณ์เชิงสี หมายเลขเส้นทางที่ไม่เกิน 2 หลัก และตัวอักษร ที่จะทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น สังเกตเห็นได้ชัดเจน โดยใช้หลักการเชิงพื้นที่เดิมที่มีจำนวน 8 เขตการเดินรถ แบ่งเป็นโซนดังนี้ เขตการเดินรถที่ 1, 2 กำหนดเป็นโซนพื้นที่สีเขียว (Green: G) เขตการเดินรถที่ 3, 4 กำหนดเป็นโซนพื้นที่สีแดง (Red: R) เขตการเดินรถที่ 5, 6 กำหนดเป็นโซนพื้นที่สีเหลือง (Yellow: Y) และเขตการเดินรถที่ 7, 8 กำหนดเป็นโซนพื้นที่สีน้ำเงิน (Blue: B) และเพื่อป้องกันความสับสนสำหรับเส้นทางที่มีต้นทางปลายทางเดียวกันแต่บางช่วงของเส้นทางมีการใช้ทางด่วน จึงได้กำหนดตัวอักษรเพื่อความเข้าใจคือ Expressway: E

“กรมการขนส่งทางบกเปิดรับฟังความคิด ข้อเสนอแนะ ข้อแนะนำ ข้อสังเกต ในเรื่องของการจัดระบบหมายเลขเส้นทาง ทางแฟนเพจ Facebook ในชื่อ การปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ กทม. หรือ URL: http://www.facebook.com/BusRerouteBKK/ เพื่อนำข้อเสนอแนะและความคิดเห็นมาวิเคราะห์ ประเมินผล และพิจารณาปรับเปลี่ยนการดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนด้วย”

ด้านสุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการชำนาญการขนส่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า สำหรับค่าโดยสารที่ TDRI มองว่าเหมาะสมสำหรับเส้นทางปฏิรูปนั้นค่าโดยสารรถเมล์ร้อนควรอยู่ที่ 10-12 บาทและรถโดยสารปรับอากาศ 20 บาทราคาเดียวตลอดสาย หรือขึ้นค่าโดยสารเฉลี่ย 3-5 บาทต่อเที่ยวถือว่ามีความเหมาะสม

ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ ที่นี่

ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ