ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศความสำเร็จในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำปีครั้งที่ 19 ว่าบริษัทฯ สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตได้ตามเป้าหมายก่อนกำหนดถึง 8 ปีล่วงหน้า
เมื่อปี พ.ศ. 2553 ฟอร์ด ได้ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตลง 30% ต่อรถยนต์หนึ่งคันให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2568 การอนุรักษ์พลังงานของฟอร์ด มีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ 8 ปีล่วงหน้าก่อนกำหนด ซึ่งครอบคลุมถึงการทำสีและกระบวนการการปรับปรุงอื่นๆ การใช้หลอดไฟ LED การควบรวมโรงงาน และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานทดแทน
ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปะนี ได้ประกาศส่วนหนึ่งของรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำปีครั้งที่ 19 ว่าบริษัทฯ ได้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษในกระบวนการผลิตรถยนต์ก่อนกำหนดล่วงหน้าถึง 8 ปี
เมื่อปี พ.ศ. 2553 สำนักงานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของฟอร์ด ได้ประกาศเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตรถยนต์ของบริษัทลง 30% ต่อรถยนต์หนึ่งคันที่ผลิต ให้ได้ภายในปีพ.ศ.2568
และฟอร์ดก็สามารถบรรลุเป้าหมายเร็วกว่าที่คาดไว้ถึงสองเท่า ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจนี้ คือ ฟอร์ดสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตทั้งหมดได้มากกว่า 3.4 เมตริกตันในช่วงปี พ.ศ. 2553 ถึงปี 2560 ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการขับขี่ยานพาหนะโดยสารมากกว่า 728,000 คันต่อปี
“พวกเรามีความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกันของทีมเอเชียแปซิฟิก เพื่อให้เราได้บรรลุเป้าหมายนี้” ซินเธีย วิลเลี่ยมส์ ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “พวกเราได้ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตของเราทั่วภูมิภาค ตั้งแต่การเลือกใช้หลอดไฟ ไปจนถึงการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซล์ลงอย่างมากมาย”
ฟอร์ดได้ลดการปล่อยก๊าซพิษผ่านการอนุรักษ์พลังงานและการปรับเปลี่ยนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ณ โรงงานผลิตรถยนต์ของฟอร์ด ตัวอย่างเช่น เมื่อปีพ.ศ. 2560 โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง หรือ เอฟทีเอ็ม ที่จังหวัดระยอง ได้ติดตั้งหลอดไฟ LED มากกว่า 1,000 ดวง ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานในอาคารลงได้ถึง 630,000 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงในหนึ่งปี พร้อมตั้งเป้าหมายเปลี่ยนหลอดไฟแบบเดิมในอาคารเป็นหลอดไฟ LED ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งหมดภายในอีกห้าปีข้างหน้า
การทำสี เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก และการเปิดตัวเทคโนโลยีการทำสีแบบใหม่ของฟอร์ด ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็ได้สร้างความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
โรงงานผลิตรถยนต์ของฟอร์ดในเมืองฉางอาน ประเทศจีน ได้ดำเนินระบบการลดมลพิษเพื่อรักษาการระบายอากาศ ทำให้สามารถลดการปล่อยสารอินทรีย์ระเหย (VOC) ได้ในที่ระดับยอดเยี่ยม โรงงานประกอบรถยนต์ในเมืองเจนไน ประเทศอินเดีย ได้ติดตั้ง Oxider เพื่อควบคุมการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยจากแผนกทำสีรถ และสำหรับในประเทศไทย การติดตั้งและพัฒนาระบบโปรแกรมนวัตกรรมการทำสี ทำให้ฟอร์ดสามารถลดการใช้สารละลายได้ถึง 70% ต่อรถยนต์หนึ่งคัน
ฟอร์ดยังคงมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซมลพิษ และได้ร่วมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตามข้อตกลงสนธิสัญญาปารีสว่าด้วยการลดก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังได้วางแผนการลงทุนมูลค่า 1.1 พันล้านบาท เพื่อการพัฒนารถยนต์ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ 40 รุ่น ภายในปี พ.ศ.2565
ไฮไลท์รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนของฟอร์ด ประจำปี พ.ศ. 2560-2561 เน้นการทำงานอย่างต่อเนื่องของผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดังนี้
โซลูชั่นการขับเคลื่อนและการเดินทาง
ฟอร์ด ร่วมกับ พาร์ทเนอร์เชิงยุทธศาตร์ ในการพัฒนายานยนต์ที่มีความชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น เพื่อการเดินทางอันชาญฉลาดในเมืองต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นไปที่รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์แบบไร้คนขับ และการเชื่อมต่อยานพาหนะเพื่อตอบสนองความต้องการในการเดินทางที่คล่องตัวสำหรับอนาคต ฟอร์ดมีแผนเปิดตัว Ford Co-Pilot 360
ชุดเทคโนโลยีช่วยผู้ขับขี่ชั้นสูงทั่วภูมิภาค โดยฟอร์ดจะเริ่มนำเทคโนโลยีใหม่นี้มาใช้ใน ฟอร์ด โฟกัส รุ่นใหม่ เป็นรุ่นแรกในเอเชียแปซิฟิก และจะนำมาใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ต่อไปในอนาคต
รถยนต์ไฟฟ้า
ภายใต้แผนการอันมุ่งมั่นในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของฟอร์ดในประเทศจีน ฟอร์ด ได้เปิดตัวโครงการ “Ford Mondeo Energi plug-in hybrid” ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2561 และคาดว่าภายในปี พ.ศ.2568 ฟอร์ดจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าใหม่อย่างน้อย 15 คันทั้งจากฟอร์ด และลินคอล์น นอกจากนี้ ฟอร์ด และ โซทาย ออโต(Zotye Auto) ได้ตกลงร่วมมือและก่อตั้ง บริษัทฯ Zotye Ford Automobile Co. บริษัทร่วมทุนเพื่อการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับลูกค้าในจีน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการอนุมัติในข้อกฎหมาย และในประเทศอินเดีย ฟอร์ดได้ร่วมหุ้นกับ Mahindra Group เพื่อร่วมผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก
การดูแลแหล่งน้ำ
ในปี พ.ศ. 2560 โรงงานผลิตรถยนต์ของฟอร์ดในภูมิภาคเเชียแปซิฟิก สามารถลดการใช้น้ำลงได้ 17% ต่อรถยนต์หนึ่งคันที่ผลิตขึ้น เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2558 อาทิ ในประเทศจีน โรงงานผลิตรถยนต์ของของฟอร์ดที่เมืองฉางอาน ได้นำน้ำเสียจำนวน 300,000 ลูกบาศก์เมตรมาบำบัดใช้ใหม่ ในปี พ.ศ.2560 และโรงงานประกอบรถยนต์ที่เมืองเจนไน ประเทศอินเดีย เป็นโรงงานที่ปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์ และได้นำน้ำกลับมาใช้ใหม่อีกในกระบวนการผลิตทั้ง 100%
คงสถานภาพการกำจัดขยะได้เป็นศูนย์
ในปี พ.ศ. 2560 โรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ทั้ง 14 แห่ง ยังสามารถรักษาสถานภาพการกำจัดของเสียและขยะจากการผลิตได้เป็นศูนย์ ผ่านกระบวนการแยกขยะ การรีไซเคิล การนำกลับมาใช้ใหม่ รวมไปถึงการเพิ่มการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับสังคม
โครงการ “Ford’s Operation Better World” มุ่งให้ความช่วยเหลือชุมชนในท้องถิ่นและส่งเสริมให้พนักงานแบ่งเวลามาเป็นอาสาสมัคร โดยอาสาสมัครทั่วภูมิภาคหลายพันคนได้เข้าร่วมกิจกรรม Ford’s Global Caring Month และมีพนักงาน 803 คน สละเวลา 2,551 ชั่วโมงเพื่อร่วม 24 กิจกรรมในประเทศจีน และพนักงานมากกว่า 300 คน ของฟอร์ด สละเวลา 2,400 ชั่วโมงเพื่อร่วมกิจกรรมเพื่อชุมชนอีกด้วย
ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ ที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่
มาร่วมแชร์ความเห็นของคุณบนเวบบอร์ด Autospinn คลิกที่นี่
ความคิดเห็น