ภาครัฐและเอกชน หนุนกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้าขยายตัว ชี้แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี จับมือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จัดสัมมนาศึกษารูปแบบดำเนินธุรกิจหลากหลายของกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้า รองรับการขยายตัวรถ EV
โชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้กล่าวถึง การส่งเสริมสำหรับผู้ที่สนใจอยากลงทุนด้านการกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้าทั้งทางด้านรถยนต์และรถโดยสารสาธารณะ รวมถึงชิ้นส่วนประกอบต่างๆที่จำเป็นอีกด้วย
“เราจะมีสิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นภาษีตามสำหรับสถานีชาร์จพลังงานแยกตามรถแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน โดยลงทุนขั้นต่ำที่ 1 ล้านบาท โดยในขณะนี้มีอยู่ผู้ลงทุนทั้งหมด 9 โปรเจก แบ่งเป็น PHEV สองค่าย (Benz และ BMW) ที่เหลือจะเป็น Hybrid”
ด้าน คมกฤช ตันตระวาณิชย์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้เน้นย้ำถึงการศึกษาและกำกับการใช้งานรถไฟฟ้า ส่วนสถานีชาร์จยังไม่ได้ลงไปกำกับ
“สถิติในปี 2017 ทั่วโลก มีรถไฟฟ้า 3.1 ล้านคัน โตเพิ่มขึ้น 57% และสถานีอัดประจุไฟฟ้า 571,000 สถานี ในไทย รถไฟฟ้า PHEV มีการเติบโตมากสุด ซึ่งองค์กรของภาครัฐและบริษัทต่างๆให้การสนับสนุนการอัดประจุไฟฟ้าเพื่อรองรับรถไฟฟ้าในอนาคต และอาจมีการชาร์จแบบไร้สายอีกด้วย”
“ภาครัฐมีแผนอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ตอนนี้เรามีการสนับสนุนสถานีอัดประจุไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 100 สถานีมีการเตรียมการรองรับและสนับสนุนการหาไฟฟ้าเมื่อมีรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น”
ด้าน อภิชาต ลีนุตพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี กล่าวว่า ควรเน้นให้สถานีอัดประจุไฟฟ้ามีความครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและไม่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง ซึ่งสอดรับกับ ธนพัชร์ สุขสุธรรมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลังงานมหานคร ที่กล่าวถึงมีกระแสตอบรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าดีมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
“ตอนนี้การสร้างสถานีไม่ได้จำกัดแต่ในห้างสรรพสินค้าหรือปั้มน้ำมัน มีการขยายสถานีออกไปตามต่างจังหวัด อย่างเช่นที่หัวหินซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างการรับรู้ว่ารถไฟฟ้าสามารถเดินทางออกไปตามแหล่งท่องเที่ยวได้” ธนพัชร์ กล่าว
สำหรับด้านผู้ที่จะต้องการลงทุนเรื่องสถานีอัดประจุไฟฟ้า ดร.ประสิทธิ์ สิริทิพย์รัศมี ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมและวิชาการ สำนักคณะกรรมการกำกับพลังงาน กล่าวว่า “ได้เน้นในเรื่องของมาตรฐานที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปีก่อนในการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า ผู้ประกอบการต้องไปทำการศึกษารายละเอียดต่างๆก่อนลงทุน เมื่อมีรถพลังงานไฟฟ้าเพิ่มและรถที่ใช้น้ำมันมีจำนวนที่ลดลง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเอง มีการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าและเตรียมรองรับให้เพียงพอ เป้าหมายคือลดการใช้น้ำมันและผลิตไฟฟ้าเอง และยังมีแผนนำโซลาร์เซลล์มาช่วยเพิ่มปริมาณไฟฟ้าอีกด้วย”
ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ ที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่
มาร่วมแชร์ความเห็นของคุณบนเวบบอร์ด Autospinn คลิกที่นี่
ความคิดเห็น