ทดสอบ Toyota C-HR Challenge บนแพลตฟอร์ม TNGA Share this
รีวิวรถยนต์
โหมดการอ่าน

ทดสอบ Toyota C-HR Challenge บนแพลตฟอร์ม TNGA

megaTON
โดย megaTON
โพสต์เมื่อ 04 October 2561

Toyota C-HR เปิดตัวในประเทศไทยเป็นเวลาพักใหญ่ พร้อมชูจุดเด่นโครงสร้างตัวถังแบบ TNGA (Toyota New Global Architecture) ที่จะเปลี่ยนทุกความรู้สึกของการขับขี่ โตโยตา มอเตอร์ ประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมทดสอบ TNGA Challenge กับ Toyota C-HR ที่สนาม Toyota Driving Experience Park (TDEX) บางนา กม.3 เพื่อพิสูจน์สมรรถนะของโครงสร้างตัวถัง TNGA แบบใหม่


คณะสื่อมวลชนได้ ร่วมทดสอบในสนาม Toyota Driving Experience Park โดยได้รับการอบรมจากวิทยากร ที่มาบรรยายให้ทราบถึงรายละเอียดของ TNGA ซึ่งเป็นความท้าทายของ Toyota มาจากความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความเร็วและความคล่องตัว สามารถเข้าโค้งได้ด้วยความเร็วสูง และมีสมรรถนะระดับรถแข่ง ขับแล้วเบาสบายกระฉับกระเฉง บวกกับการคิดใหม่ สร้างรถที่มีความทนทานใช้ได้นาน 10 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ Toyota ยังตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซไอเสียคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็น 0 ในปี 2050 อีกด้วย

จุดเด่นของ Toyota C-HR คือใช้โครงสร้าง TNGA ซึ่งมีศูนย์ถ่วงที่ต่ำลง ช่วยกระจายน้ำหนักจากจุดศูนย์กลางให้ต่ำลง และมีการจัดให้อยู่ตรงกลางมากที่สุด นอกจากนี้ C-HR ยังได้ย้ายตำแหน่งของแบตเตอรี่ไฟฟ้ามาไว้ใต้เบาะอีกด้วย มีการใช้ชุดเกียร์ที่สั้นลงและทำให้น้ำหนักอยู่กลางรถมากขึ้น ปรับโครงสร้างตัวถัง ลดการบิดตัว ช่วยกระจายแรงไปทั้งตัวถัง ช่วงล่างมีการพัฒนามาจาก Double Wishbone ส่วนภายในห้องโดยสารมีการปรับตำแหน่งคนขับให้อยู่ตรงกลางรถ ทำให้คนขับมีความสะดวกสบายในการขับขี่มากยิ่งขึ้น ปรับปรุงทัศนวิสัย ลด Blind Spot ทำให้เสากระจกบางลง นอกจากนี้ Hybrid ใหม่ซึ่งเป็นรุ่นที่ 4 มีการลดการใช้ชิ้นส่วนลงทำให้น้ำหนักเบาลง มอเตอร์มีกำลังไฟมากขึ้น เครื่องยนต์มีการใช้ชิ้นส่วนต่างๆลดลงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งหมด ก็เพื่อให้สมกับคำว่า Fun to Drive

สนามที่ได้ใช้ในการทดสอบ TNGA นั้นคือสนาม Toyota Driving Experience Park โดยใช้รถToyota C-HR รุ่นเครื่องยนต์ 1.8 ซึ่งมีการแบ่งเป็นสถานีต่างๆในการทดสอบมากมาย เพื่อให้สื่อมวลชนได้เห็นถึงโครงสร้างตัวถังแบบ TNGA ในรูปแบบการขับขี่ที่แตกต่างกันตามแต่ละสถานี เริ่มตั้งแต่สถานีที่ทดสอบมุมจุดอับสายตาของตัวรถผ่านโค้งที่คับแคบ ระบบแจ้งเตือนเมื่อรถต้องขับผ่านกรวยในระยะประชิดแจ้งเตือนให้รู้เป็นระยะแต่ก็สามารถขับผ่านกรวยกั้นไปได้แบบไม่ยากลำบาก สถานีสลาลมเพื่อทดสอบช่วงล่างซึ่ง Toyota C-HR ก็ถือว่าเก็บอาการโยนของตัวถังได้ดีเมื่อต้องใช้ความเร็วสูงพร้อมกับการเปลี่ยนเลนไปมากะทันหัน และสถานีทดสอบพื้นผิวถนนในรูปแบบต่างๆทั้งแบบขรุขระและคอสะพานที่เป็นองศาสูงชัน Toyota C-HR สามารถเก็บอาการสั่นสะเทือนและเสียงได้ในระดับที่น่าพึงพอใจเลยทีเดียว

สรุปจากการทดสอบในสนามปิด แพลตฟอร์มแบบใหม่ TNGA ที่ใช้ใน Toyota C-HR ช่วยเรื่องสมรรถนะการขับขี่ให้ดีขึ้นจนรู้สึกได้ ดีไซน์ภายนอกและภายในที่เอื้อให้ผู้ขับขี่มีวิสัยทัศน์ในการขับขี่ที่ดียิ่งขึ้นรวมถึงสมรรถนะของ Toyota C-HR ที่ช่วยในการขับขี่ให้สนุกและราบรื่นตลอดการเดินทางมากกว่าเดิมนั่นเอง

เช็คราคารถใหม่ และโปรโมชั่น ได้ที่นี่ ที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่
มาร่วมแชร์ความเห็นของคุณบนเวบบอร์ด Autospinn คลิกที่นี่


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ