กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เสนอเก็บค่าธรรมเนียมรถเก่าเพิ่ม-ซากรถเก่าแลกส่วนลด ซื้อใหม่ Share this

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เสนอเก็บค่าธรรมเนียมรถเก่าเพิ่ม-ซากรถเก่าแลกส่วนลด ซื้อใหม่

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 03 December 2562

เสวนาวิชาการ " 2020 ทิศทางยานยนต์ไทย คิด...ทำ..ปรับตัว?!?! สถาบันยานยนต์คาดการณ์ตัวเลขยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ-ส่งออกปี 2563 อยู่ที่ 2 ล้านคัน หวังไฟแนนซ์ผ่อนคลายสินเชื่อ ค่าบาทปรับตัวดีขึ้น ด้านกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เสนอเก็บค่าธรรมเนียมรถเก่าเพิ่ม-ซากรถเก่าแลกส่วนลด ซื้อใหม่


ครรชิต ไชยสุโพธิ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำข้อเสนอถึงกรมสรรพสามิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับควบคุมการใช้รถเก่าที่ไม่มีการบำรุงรักษา เช่น เก็บค่าธรรมเนียมรถเก่าอายุเกินกว่า 10 ปี หรือมีมาตรการสนับสนุนให้ซื้อรถใหม่ โดยผู้ใช้รถยนต์สามารถนำซากรถเก่ามาแยกชิ้นส่วนหรือรีไซเคิล เพื่อนำไปเป็นส่วนลดในการซื้อรถใหม่ เป็นต้น

"ยังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอกรมสรรพสามิตในการจัดการถเก่าที่ไม่มีการบำรุงรักษา เป็นรถเก่าที่ไม่ใช่รถสะสม ซึ่งหากเป็นไปได้ก็จะช่วยลดมลพิษบนท้องถนน และส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นและเห็นชัดในอนาคตนั้น มองว่า น่าจะทยอยเข้ามาในลักษณะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ใช้เป็นรถยนต์คันที่สอง แต่การใช้งานจริง 7 วัน 1 สัปดาห์นั้นคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง" 

อดิศักดิ์ โรหิตะศุน รักษาการผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวในงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ: "2020 ทิศทางยานยนต์ไทย คิด...ทำ..ปรับตัว?!?!"  ว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังประสบปัญหา 2 เรื่อง 1. อุตสาหกรรมยานยนต์หยุดชะงัก และ 2. ภาวะเศรษฐกิจถดถอย พิจารณาเปรียบเทียบจากจีดีพีปีนี้ที่ลดต่ำกว่าปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ 4.1% รวมทั้งค่าบาทที่แข็งค่าทำให้การส่งออกมีอุปสรรค ขณะเดียวกันเวิลด์แบงก์ระบุว่าปีหน้า เศรษฐกิจโลกและไทยจะปรับตัวดีขึ้น ค่าบาทจะค่อยๆดีขึ้นไม่น่าจะดิ่งลงไปกว่านี้ 

"ปีหน้าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนน่าจะดีกว่านี้ ค่าบาทปรับตัวดีทำให้การส่งออกรถยนต์น่าจะอยู่ที่ 1 ล้านคันเท่ากับปีนี้ ขณะที่ตลาดในประเทศน่าจะมียอดจำหน่ายใกล้เคียงกับปี 2562 ทำให้ตลาดรถยนต์ปีหน้าน่าจะอยู่ที่ 2 ล้านคัน ส่วนปัจจัยที่น่าจะกระทบคือการกีดกันทางการค้าของเวียดนามที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ของไทย"

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หน่วยงานภาครัฐต่างกำหนดทิศทางของการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแตกต่างกัน ปัจจุบันในฐานะไทยรับจ้างผลิตก็ควรมีการปรับตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์จะลดลง ขณะเดียวกันการผลิตหรือประกอบแบตเตอรี่ ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ จะเข้ามามีส่วนส่งเสริมและแทนที่ส่วนอื่นๆที่หายไป 

"คิดว่าปี 2030 เมืองไทยจะผลิตรถยนต์(รวม) จำหน่ายในประเทศ 1.5 ล้านคัน ส่งออก 1 ล้านคัน และในส่วนของยอดผลิตรวมทั้งหมดเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 15% ซึ่งหากไทยสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเทคโนโลยีได้เทียบเท่าต่างประเทศ จะส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใช้ไทยเป็นฐานการลงทุน"

อดิศักดิ์ กล่าวว่า หากมองตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของไทยปัจจุบัน ยังไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากราคายังสูง ลูกค้าเอื้อมถึงยากไม่เหมือนรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด อีกทั้งระบบสาธารณูปโภคยังไม่สะดวก ประกอบกับการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำหรับชาร์จยังไม่มีความชัดเจน ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าไม่มั่นใจหากต้องขับรถยนต์ไฟฟ้าออกนอกพื้นที่กทม.

ครรชิต กล่าวว่า ผลกระทบของอุตสาหกรรมยานยนต์เกิดจากค่าบาทที่แข็งค่า สงครามการค้า ฝุ่น PM2.5 มาตรฐานยูโร 5 และ 6 การสร้างกำแพงภาษีของเวียดนามและฟิลิปปินส์ รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการลงทุนซึ่งภาครัฐควรกำหนดแผนให้สามารถปรับตัวให้รวดเร็วขึ้น 

เช็คราคารถใหม่ และโปรโมชั่น ได้ที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่
มาร่วมแชร์ความเห็นของคุณบนเวบบอร์ด Autospinn คลิกที่นี


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ