จริงอยู่ว่าด่านตรวจที่ตั้งไว้เพื่อกวดขันการจราจรนั้น มีไว้เพื่อคัดกรอง ตรวจจับผู้ผิดกฎหมาย แต่เราจะรู้ได้ยังไงกันนะ ว่าด่านตรวจที่เราเจอนั่นเป็นด่านตรวจของจริง ไม่ใช่มิจฉาชีพมาสวมรอย หรือใครสักคนที่ลักไก่มาตั้งด่านตรวจ
ว่าแต่สังเกตยังไงนะ ตาม rabbit finance มาเลยดีกว่า
ด่านตรวจตามกฎหมาย เป็นอย่างไร เช็กเลย!
รู้ยัง ด่านตรวจมีหลายแบบนะ
ตามกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การที่จะตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด จะมีข้อระเบียบ ข้อปฎิบัติที่แตกต่างกันออกไป แน่นอนว่าด่านเหล่านี้ก็ให้คำนิยาม การปฎิบัติงาน จุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน
ก่อนที่จะไปเช็กว่าด่านจริง ด่านปลอม เราลองมาทำความเข้าใจกับจุดประสงค์ของด่านเหล่านี้กันหน่อยดีกว่า
- ด่านตรวจ
จะใช้ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ เช่น ด่านตรวจถาวรตามเส้นทางหลักระหว่างจังหวัดที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ร่วมปฏิบัติงาน
และการตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงหรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. (ต้องได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา)
- จุดตรวจ
ขนาดเล็กกว่าด่านตรวจ สามารถเคลื่อนย้ายง่าย มีจุดประสงค์ในการตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง เช่น ด่านตรวจทั่วไป ด่านความมั่นคง ด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ ด่านตรวจควันดํา เป็นต้น
โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็น แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว จะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที โดยต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้นผู้บังคับการตำรวจภูธร (ผบก.) ขึ้นไป
- จุดสกัด
ทั่วไปแล้ว จุดสกัดจะมีขนาดเล็ก เจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้ในการตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน หรือเฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน และจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจทันที
เช่น สกัดจับการลักลอบขนสิ่งของผิดกฎหมาย หรือสกัดจับบุคคล และต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้รักษาการแทนขึ้นไป
จะเห็นได้ว่าข้อแตกต่างคือ จุดตรวจ และจุดสกัด นั้น จะใช้ระยะเวลาไม่นาน และตั้งขึ้นเฉพาะมีเหตุการณ์จำเป็นเท่านั้น ส่วนด่านตรวจจะมีจุดตั้งถาวร
สำหรับด่านลอยที่มีตำรวจเพียง 2-3 คน หลบมุมตามตรอกซอกซอยต่าง ๆ หรือไม่ก็พุ่มไม้ริมถนน ไม่มีนายตำรวจยศสัญญาบัตรควบคุม ไม่มีป้ายบอกแสดงเตือน และตั้งอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง ให้คุณสันนิษฐานไว้เลยว่าอาจจะเป็นด่านเถื่อน!
กวดขันวินัย VS ปราบปราม
นอกจากนี้ด่านจราจรยังมีหน้าที่หลัก ๆ ต่างกัน 2 รูปแบบ คือการกวดขันวินัยจราจรสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน และด่านตรวจค้นปราบปราม ค้นหาการกระทำผิด ซึ่งอาจจะเป็นการตั้งด่านตามข้อบังคับ หรือได้รับแจ้งเบาะแสจากพลเมืองดี
การกวดขันวินัยจราจร ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะเรียกตรวจหากพบผู้ขับขี่มีความผิดซึ่งหน้า เช่น ไม่มีใบขับขี่ ไม่สวมหมวกกันน็อก ซ้อนจักรยานยนต์เกิน 2 คน ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ หรือขับขี่ในเส้นทางจราจรที่มีข้อห้าม ทางเจ้าหน้าที่จะสอบถาม และแจ้งรายละเอียดการกระทำความผิด จากนั้นก็เขียนใบสั่งเพื่อให้นำไปชำระค่าปรับพร้อมกับออกใบเสร็จที่สถานีตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ
ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม สำหรับด่านเพื่อตรวจค้น เจ้าหน้าที่จะประเมินด้วยตัวเองว่ารถของคุณเข้าข่ายต้องสงสัยหรือไม่ หรือตรงกับเบาะแสที่ได้รับแจ้งหรือไม่ หากสงสัยจะเรียกจอดข้างทาง ก่อนสั่งให้เปิดประตูและกระโปรงรถ พร้อมเชิญผู้ขับขี่ลงก่อนตรวจค้น หากพบสิ่งผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่จะเชิญไปสอบสวนที่สถานีตำรวจ ก่อนเขียนบันทึกจับกุม โดยที่ผู้กระทำความผิดสามารถระบุได้ว่าจะรับหรือไม่รับสารภาพ จากนั้นส่งตัวดำเนินคดีต่อศาลต่อไป
เช็กสภาพด่าน ปลอม หรือแท้ นะ ?
1. หลักสังเกตง่าย ๆ คือ ด่านหรือจุดตรวจต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรกำกับเอาไว้เสมอ เช่น ป้ายหยุด ป้ายแสดงรายละเอียดผู้ควบคุม ป้ายชื่อและเบอร์โทรผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
2.ในเวลากลางคืนจะต้องมีแสงไปส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจชัดเจน
3.เวลาปฏิบัติงาน ทุกด่านต้องมีเจ้าหน้าที่สัญญาบัตรยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไปเป็นหัวหน้าชุด แต่งเครื่องแบบปฏิบัติหน้าที่แสดงตนชัดเจน ใช้กิริยาวาจาสุภาพอธิบายว่าตั้งด่านเพื่ออะไร เวลาตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลระเบียบการตำรวจโดยเคร่งครัด
4.ส่วนลักษณะการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด จะมีการประสานงานการปฏิบัติระหว่างหน่วยใกล้เคียงชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน ดังนั้นหลาย ๆ จุดตรวจจะมีไม่การตั้งจุดตรวจซ้ำซ้อน และต้องไม่ตั้งด่านให้เกิดปัญหาการจราจรและเกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป
สรุปแล้ว ด่านที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจะเป็นด่านตรวจ เป็นจุดตรวจที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งป้ายแสดงจุดตรวจ การที่ตำรวจผู้ตั้งต้องสวมเครื่องแบบ มียศ ป้ายชื่อชัดเจน นั่นเอง
สำหรับใครที่สงสัยว่า ด่านจริง หรือด่านปลอม เราสามารถร้องทุกข์ผ่านสายด่วน 191 และ 1599 หรือโพสต์ลงโซเชียล เพื่อจะได้ดำเนินการตรวจสอบได้ เพียงแต่ต้องไม่โพสต์ด้วยอารมณ์ และด่านเหล่านั้นต้องน่าสงสัยจริง ๆ
การตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ ต่าง ๆ นี้ นอกเหนือจากการระมัดระวังผู้ร้ายลักลอบของผิดกฎหมาย หรือการตามจับกุมผู้ร้ายแล้ว การตั้งด่านตรวจยังเป็นอีกหนึ่งในมาตรการในการลดอุบัติเหตุอีกด้วย ยิ่งเป็นช่วงเทศกาลที่มีการจราจรหนาแน่น อุบัติเหตุเกิดขึ้นง่าย แถมยังมีมิจฉาชีพฉวยโอกาสทำผิดกฎหมายอีกด้วย
แน่นอนว่าต่อให้เราทำถูกหลักกฎหมายแค่ไหน แต่ป้องกันไว้ย่อมดีกว่าแก้ สำหรับใครที่ไม่อยากประมาท ลองมารู้จักกับบริการ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ จาก rabbit finance ดูสิ เพราะนอกจากจะเลือกประกันที่ตรงใจได้ ยังมีดีลเด็ด เบี้ยประกันถูก ๆ รอคุณอยู่เพียบเลยนะคะ อย่างน้อยมีประกันติดรถไว้จะได้อุ่นใจทุกการขับขี่
เช็คราคารถใหม่ และโปรโมชั่น ได้ที่นี่ ที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่
มาร่วมแชร์ความเห็นของคุณบนเวบบอร์ด Autospinn คลิกที่นี่
ความคิดเห็น