จะซื้อรถไฟฟ้าป้ายแดงไปทำไม ในเมื่อรถคันเก่าที่บ้าน สามารถนำมาดัดแปลงให้เป็นรถไฟฟ้า ได้ ในงบ 2 แสนบาท (ไม่รวมแบต)
Nissan Almera EV คันนี้ เป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ในโครงการวิจัยรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของ กฟผ. และ สวทช. หลังจากที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนารถยนต์ Honda Jazz เป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงต้นแบบรุ่นแรก จากโครงการวิจัยยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 1 และสามารถนำมาใช้งานได้จริง
ซึ่งโครงการวิจัยนี้มุ่งพัฒนาดัดแปลงรถยนต์เก่าที่มีอายุการใช้งานมานานแล้วให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าโดยใช้ชุดอุปกรณ์ดัดแปลง (EV Kit) ซึ่งถูกพัฒนาต้นแบบและกำหนดค่าอัตโนมัติต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว ทำให้สามารถดัดแปลงเป็นรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง และมีต้นทุนดัดแปลงถูกลง ไม่เกินคันละ 2 แสนบาท (ไม่รวมแบตเตอรี่) ซึ่งถูกกว่ารถยนต์ไฟฟ้านำเข้าที่มีราคาสูง
รับชมรูปแบบวีดีโอ ได้ที่นี่
สำหรับชุดดัดแปลง EV Kit ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ คือ
- Engine Emulated ECU (EEU)
- Onboard Charger 3.3 kW
- DC-DC Converter 13.6V 50-80A
- Traction Inverter 144 Vdc 500A Water-cooled
- Electrical Air Compressor
- Traction Motor 3-Phase Induction Motor 35 kW Air-cooled
- Vacuum pump สำหรับหม้อลมเบรก
- ปั้มน้ำไฟฟ้า
ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้รวมค่าแรงในการติดตั้ง จะจบอยู่ที่ประมาณ 2 แสนบาท แต่ราคานี้ ยังไม่รวมแบตลูกใหญ่นะครับ ซึ่งแบตก็มีให้เลือกอยู่หลายประเภท และหลายขนาด ราคาคร่าวๆของแบตเตอรี่ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1 แสนบาท
เครื่องเดิมถูกยกออก แต่อุปกรณ์อื่นๆยังคงเอาไว้เหมือนเดิม
จากเดิมชุดหม้อลมเบรก ต้องใช้แวคคั่มจากเครื่องยนต์ แต่เมื่อเครื่องยนต์ถูกถอดออกไป จึงต้องดัดแปลงด้วยการใช้เป็นตัวแวคคั่มไฟฟ้า เพื่อสร้างลมที่จะนำไปใช้กับตัวหม้อลมเบรก
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ขนาด 40 kHh ถูกติดตั้งเอาไว้บริเวณยางอะไหล่ แต่เนื่องจากตัวแบตที่มีขนาดใหญ่ จึงต้องตัดพื้นตัวถังเพื่อให้แบตทะลุลงมาด้านล่าง ในส่วนของพื้นที่เก็บสัมภาระด้านท้าย ยังคงใช้งานได้เหมือนเดิม
Nissan Almera EV คันนี้ มีกำลังส่งออกสูงสุดของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ 61.86 กิโลวัตต์ ซึ่งใช้เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มประมาณ 12–15 ชั่วโมง ณ เครื่องอัดประจุแบบ normal charge และสามารถอัดประจุแบบเร็ว ด้วยไฟฟ้า 3 เฟส (fast charge) โดยใช้เวลาอัดประจุเพียง 2–3 ชั่วโมง
สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ประมาณ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิ่งได้ในระยะทางประมาณ 150 - 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 ครั้ง (ด้วยการวิ่งความเร็วเฉลี่ย 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยมีหน้าจอแสดงสถานะให้ดูภายในรถ
ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเข้ามามีบทบาทในอนาคต อีกทั้งรถที่ผ่านการใช้งานมานานแล้วอาจจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฟผ. จึงมุ่งมั่นผลักดันโครงการวิจัยรถไฟฟ้าดัดแปลงให้เกิดผลสำเร็จ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าใช้เองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ พร้อมต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีศักยภาพของประเทศสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สนองนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคในอนาคต
ติดตามข่าวรถยนต์ ราคารถยนต์ รีวิวรถยนต์ และจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อ กับเรา Autospinn
แชร์ความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด Autospinn คลิกเลย webboard.autospinn.com
เช็คโปรโมชั่นรถใหม่ เช็คราคารถใหม่ ได้ที่นี่
ราคารถมือสอง ซื้อรถมือสอง ขายรถมือสอง เชิญได้เลยที่ one2car
ความคิดเห็น