กำลังมอเตอร์ "รถยนต์-มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า" แยกอย่างไร ต้องติดสติ๊กเกอร์แบบไหน Share this

กำลังมอเตอร์ "รถยนต์-มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า" แยกอย่างไร ต้องติดสติ๊กเกอร์แบบไหน

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 04 February 2564

ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 25 ง ได้ลงประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่องกำหนดกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2563 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 2564 เป็นต้นไป โดย"รถยนต์-มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า" ที่เป็นไปตามประกาศจะสามารถนำไปจดทะเบียนได้


กำลังมอเตอร์"รถยนต์-มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า" แยกอย่างไร ต้องติดสติ๊กเกอร์แบบไหน

ในที่นี้ขอสรุปสั้นๆ ตามการกำหนดกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2563 
นิยามคำว่า “กำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า” หมายความว่า กำลังพิกัด (Rated Power) หรือกำลังขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วต่อเนื่องสูงสุด 30 นาที (Maximum 30 Minutes Power) ของมอเตอร์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้า

  • รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ต้องมีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 15 กิโลวัตต์ และสามารถขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนแบบพิเศษที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าต้องมีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 100 กิโลวัตต์
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่มีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 4 กิโลวัตต์ ต้องสามารถขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ ต้องติดเครื่องหมายตามแบบที่กำหนดไว้ หรือติดสติกเกอร์ ตัวอักษร “s” ที่บริเวณด้านท้ายของตัวรถซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน)
  • รถยนต์รับจ้างสามล้อและรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าต้องมีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 4 กิโลวัตต์ และสามารถขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วสูงสุดได้ ไม่น้อยกว่า 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

กำลังมอเตอร์รถยนต์ไฟฟ้า

มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ต้องมีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 250 วัตต์ และสามารถขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถจักรยานยนต์สาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ต้องมีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 250 วัตต์ แต่ไม่เกิน 4 กิโลวัตต์ และสามารถขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

***สรุปการติดสติกเกอร์ ต้องติดเครื่องหมายตามแบบที่กำหนดไว้ หรือติดสติกเกอร์ ตัวอักษร “e” ที่บริเวณด้านท้ายของตัวรถซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยจะต้องติด รถเก๋ง ที่ไม่มีสัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ขณะที่รถสามล้อ รถมอเตอร์ไซค์ ไม่ต้องติดสติกเกอร์ 
ส่วนการติดสติกเกอร์ ตัวอักษร “s” ที่บริเวณด้านท้ายของตัวรถยนต์ไฟฟ้า จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าประเภท รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่มีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 4 กิโลวัตต์ ต้องสามารถขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

สติกเกอร์รถยนต์ไฟฟ้า

ทั้งนี้ มอเตอร์ไฟฟ้าของรถยนต์-มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ต้องสามารถขับเคลื่อนรถในขณะที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก (Gross Vehicle Weight) ตามที่ผู้ผลิตกำหนดด้วยความเร็วสูงสุดตามที่กำหนดในประกาศนี้ ได้ต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที

อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดข้างต้น ที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560 และมีการแจ้งไม่ใช้รถตลอดไปหรือระงับการใช้ทะเบียน หากเจ้าของรถนำรถมาจดทะเบียนใหม่ ให้ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 15 กิโลวัตต์ ที่สามารถขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมงต่อไปได้

***หมายเหตุ 1.ตัวอักษร “e” สีขาวสะท้อนแสง ้ สูง 50 มิลลิเมตร หนา 10 มิลลิเมตร
2. พื้นเครื่องหมายเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีน้ําเงินเข้ม มีขอบสีขาวสะท้อนแสงขนาด 5 มิลลิเมตรอยู่รอบนอก

3. ความกว้างของเครื่องหมาย 100 มิลลิเมตร ความยาวของเครื่องหมาย 100 มิลลิเมตร
4. เครื่องหมายที่ใช้ติดกับตัวรถต้องมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ไม่หลุดล่อน ไม่ซีดจาง 

***หมายเหตุ 1. ตัวอักษร “S” สีขาวสะท้อนแสง สูง 50 มิลลิเมตร หนา 10 มิลลิเมตร
2. พื้นเครื่องหมายเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ําเงินเข้ม มีขอบสีขาวสะท้อนแสงขนาด 5 มิลลิเมตรอยู่รอบนอก
3. ความกว้างของเครื่องหมาย 100 มิลลิเมตร ความยาวของเครื่องหมาย 100 มิลลิเมตร
4. เครื่องหมายที่ใช้ติดกับตัวรถต้องมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ไม่หลุดล่อน ไม่ซีดจาง

(ที่มา ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/025/T_0016.PDF)

ติดตามข่าวรถยนต์ ราคารถยนต์ รีวิวรถยนต์ และจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อ กับเรา Autospinn
แชร์ความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด Autospinn คลิกเลย webboard.autospinn.com  
เช็คโปรโมชั่นรถใหม่ เช็คราคารถใหม่ ได้ที่นี่ 
ราคารถมือสอง ซื้อรถมือสอง ขายรถมือสอง เชิญได้เลยที่ one2car


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ