ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราเห็นการเปลี่ยนแปลงและความพร้อมของผู้ใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว ผ่านความมั่นใจในการจองซื้อรถยนต์ไฟฟ้าทะลุหลักพันในเวลาเพียงไม่กี่วันของการเปิดตัวจากหลายๆ แบรนด์ แม้จะเป็นแบรนด์ใหม่ที่เพิ่งจะเข้ามาทำตลาดในไทย แต่ผู้บริโภคกลับเชื่อมั่นและให้ความสนใจอย่างล้นหลาม
ด้วยความนิยมจากทั้งตัวผู้ใช้งานเองหรือแม้แต่ค่ายรถต่างๆ ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าให้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เมื่อมีรถยนต์ไฟฟ้า แน่นอนว่าก็ต้องมีจุดชาร์จพลังงานหรือสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพื่อการรองรับการใช้งาน
จึงเป็นเหตุผลให้วันนี้อีกหนึ่งธุรกิจจาก กฟผ. ภายใต้ชื่อว่า “EGAT EV Business Solutions” ได้เปิดตัว 4 ผลิตภัณฑ์และบริการหลักด้าน EV เพื่อสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า และสังคมแห่งการเดินทางยุคใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนนำเข้าชาร์จเจอร์แบรนด์ Wallbox จากประเทศสเปน สถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT แอปพลิเคชัน EleXA และครอบคลุมไปถึงระบบการควบคุมสถานีอัดประจุไฟฟ้าหลังบ้านที่เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนสถานีอัดประจุสามารถเข้ามาเป็นสถานีในเครือข่ายพันธมิตรภายใต้แบรนด์ “BackEN”
-
สถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT”
ชาร์จไฟได้รวดเร็ว ปลอดภัย มั่นใจ รองรับทุกการเดินทางของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ กฟผ. ร่วมกับสถานีบริการน้ำมัน PT และพันธมิตรทางธุรกิจติดตั้งสถานีชาร์จ EV โดยเน้นขยายสถานีตามเส้นทางการเดินทางหลักทั่วประเทศ เพื่อเลือกพื้นที่ที่ตอบโจทย์การใช้งานและตรงกับตามต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด โดยทยอยติดตั้งให้ครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพฯ และเส้นทางหลักสายสำคัญ ปัจจุบันมีสถานี EleX by EGAT แล้วทั้งสิ้น 72 สถานี รวมสถานีพันธมิตรในเครือข่ายอีกประมาณ 87 กว่าสถานี และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะแตะหลักร้อยสถานี
โดยสถานีชาร์จ EleX by EGAT เหนือสุดจะไปถึงที่ จ.เชียงราย ภาคอีสานไกลสุดจะไปถึง จ.อุดรธานี และ จ.อุบลราชธานี ภาคตะวันออกไกลสุดจะไปที่ จ.จันทบุรี และ ภาคใต้สุดจะไปถึง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยขณะนี้เน้นครอบคลุมพื้นที่ตัวเมืองจังหวัดขนาดใหญ่ คือ เชียงใหม่ และภูเก็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะอยู่ใกล้เคียงกับตลาดที่ 6-8 บาทต่อหน่วย
สถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT” รองรับการชาร์จถึง 2 รูปแบบ คือ
- DC Fast Charge ซึ่งตอนนี้มีกำลังไฟสูงสุดถึง 125kW กล่าวคือ โดยประมาณจากแบตเตอรี่ 30 - 80% จะใช้เวลาเพียง 15 - 20 นาทีเท่านั้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถชาร์จได้รวดเร็วและเดินทางต่อได้
- AC Normal Charge ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือสนามกอล์ฟที่ลูกค้าจะไปใช้เวลาประมาณนึง เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำกิจกรรมในที่นั้นๆ ไปด้วยและชาร์จไฟไปด้วย
ซึ่งตอนนี้หากมาจอดรถชมงาน Motor Expo 2022 ผู้ใช้งานก็สามารถใช้ได้ที่บริเวณอาคารจอดรถในร่ม P1 อาคารชาแลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค เมืองทองธานีและบริเวณที่จอดรถ โรงแรม Novotel ที่เพิ่งจะเปิดให้บริการในต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
-
Mobile Application Platform “EleXA”
เสมือนเป็นผู้ช่วย เพิ่มความสะดวกสบายในทุกขั้นตอนให้แก่ผู้ใช้รถ EV ตั้งแต่การค้นหา จอง ชาร์จ และจ่ายเงิน ซึ่งจะทำให้กลายเป็นเรื่องที่ง่ายและรวดเร็วสำหรับผู้ใช้งานทุกคน โดย กฟผ. มุ่งมั่นพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ให้เชื่อมโยง ทั้งลูกค้า ร้านค้า ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้สถานีของ กฟผ. เพื่อเป็นประโยชน์กับทุกกลุ่ม และยกระดับคุณภาพชีวิตของทั้งเครือข่ายไปพร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรม EV
-
เครื่องอัดประจุไฟฟ้า โดย “EGAT Wallbox”
เป็นเครื่องอัดประจุไฟฟ้ารถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งในบ้านและที่พักอาศัยต่าง ๆได้ ซึ่ง กฟผ. ได้รับสิทธิ์จำหน่ายรายเดียวในไทย รวมถึงเป็นผู้ดูแลให้บริการติดตั้งและบำรุงรักษา จึงเหมาะแก่การติดตั้งในบ้าน หรือที่พักส่วนตัว โดยมีราคาเริ่มต้นเพียง 53,000 บาท ส่วนฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ก็จะแตกต่างกันไปตามราคาของเครื่อง
BackEN คือ ระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ กฟผ. ใช้กับสถานี EleX by EGAT อยู่แล้ว เป็นระบบที่ กฟผ. พัฒนาขึ้นเอง และเล็งเห็นว่ามีตลาดของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่ง ที่เริ่มมองหาธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า อาจจะเพื่อมาเสริมกับธุรกิจเดิมที่ทำอยู่แล้ว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร สนามกอล์ฟ กฟผ.ก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนเองสามารถมีสถานีชาร์จได้ง่ายขึ้น มีตัวช่วยในการบริหารจัดการสถานีโดยการใช้แพลตฟอร์ม BackEN ซึ่งเป็น Open Platform ที่เปิดให้สถานีของผู้ประกอบการที่ใช้บริการ BackEN เข้ามาเป็นหนึ่งในสถานีเครือข่ายพันธมิตรของ EleXA ได้ พร้อมรับการดูแลจากทีมผู้เชี่ยวชาญจาก กฟผ.
BackEN เหมาะกับใคร?
เหมาะกับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เช่น เจ้าของโรงแรม คอนโดมิเนียม คาเฟ่ ร้านอาหาร ก็สามารถใช้แพลตฟอร์ม BackEN ได้ ไม่ต้องอาศัยคนมาปฏิบัติกาที่หน้าเครื่องชาร์จ ลูกค้าที่มาใช้บริการก็จะใช้ผ่านแอปพลิเคชัน EleXA สะดวกตั้งแต่การแสดงสถานี นำทาง สั่งชาร์จ หยุดชาร์จ และชำระเงิน โดยสถานีของผู้ประกอบการก็จะมาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายพันธมิตร EleXA ด้วยเช่นกัน
BackEN มีบริการอะไรบ้าง?
ปัจจุบันให้บริการใน 3 รูปแบบ คือ
- แพลตฟอร์มรายเดือน ซึ่งเจ้าของสถานีก็จะได้ระบบปฏิบัติการหลังบ้านที่สามารถ ติดตามและจัดการควบคุมสถานีของตัวเองได้แบบ Real Time เริ่มต้นเพียงเดือนละ 699 บาทเท่านั้น
- Total Solution กฟผ. รับติดตั้งสถานีแบบ Turn Key เพียงผู้ประกอบการมีพื้นที่ศักยภาพ ทีม กฟผ. ก็จะเข้าไปให้คำแนะนำ ก่อสร้างสถานี พร้อมติดตั้งระบบปฏิบัติการ BackEN
- บริการทดสอบความเข้ากันได้ของเครื่องชาร์จกับระบบ กล่าวคือ บางครั้งหากผู้ประกอบการมีการติดตั้งเครื่องชาร์จอยู่แล้ว หรือเป็นผู้นำเข้าชาร์จเจอร์ ก็สามารถติดต่อให้ทีมงานทดสอบความเข้ากันได้ของเครื่องชาร์จและระบบสื่อสาร ก่อนที่จะใช้บริการ BackEN
ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line OA: @BackENEV
จะเห็นได้ว่าโมเดลธุรกิจของ กฟผ. คือการทลายข้อจำกัดในเรื่องการชาร์จไฟฟ้าที่ผู้ใช้งงานกังวล ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และครอบคลุมทุกการใช้งาน และยังสนับสนุนประเทศไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) อย่างรวดเร็ว ด้วยการสร้าง Ecosystem ในการชาร์จพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ในบ้าน จนถึงทุกแห่งหนบนท้องถนนเมืองไทย
ความคิดเห็น