EV Station ประกาศขึ้นราคาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าบางพื้นที่ Share this
EV Trends
โหมดการอ่าน

EV Station ประกาศขึ้นราคาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าบางพื้นที่

Paknam536
โดย Paknam536
โพสต์เมื่อ 01 March 2566

EV Station ประกาศขึ้นราคาค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบางพื้นที่ จากเดิม 7.5 บาท เป็น 9 - 10 บาท เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้เป็นต้นไป


EV Station ขึ้นราคา

EV Station ผู้นำระบบโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของประเทศไทย ในเครือ ปตท. ประกาศปรับขึ้นราคาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่เชิงพาณิชย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป จากเดิมหน่วยละ 7.5 บาท เพิ่มขึ้น 1.5 บาท เป็น 9 บาท ตามสถานที่ดังนี้ ได้แก่

  1. ลานจอดรถ CU Sport Zone
  2. อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ
  3. อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 4
  4. สยามสเคป ชั้น 4
  5. เทอมินัล 21 ทุกสาขา
  6. แฟชั่นไอส์แลนด์
  7. เดอะพรอมานาด
  8. แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สเปซ พัทยา
  9. สยามคันทรีคลับ กรุงเทพ
  10. อมาริ พัทยา

และปรับเพิ่มขึ้น 2.5 บาท เป็น 10 บาท เฉพาะศูนย์การค้าเจเจมอลล์

 

ค่าชาร์จรถไฟฟ้า

 

สำหรับค่าบริการในพื้นที่อื่นๆ อาทิเช่น ในสถานีบริการน้ำมัน และผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นดังนี้

 

ค่าชาร์ตรถยนต์ไฟฟ้า ต้นปี 2566

ค่าไฟฟ้า มกราคม - เมษายน 2566

อัตราค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคม - เมษายน 2566 ของประเทศไทย สำหรับบ้านอยู่อาศัย มีราคาค่าไฟฟ้าดังนี้

ประเภทมิเตอร์ ค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้า
  (บาทต่อหน่วย) รวม Vat+FT
มิเตอร์ปกติ*    
หน่วยที่ 1 - 150 3.2484 4.4755
หน่วยที่ 151 - 400 4.2218 5.5170
หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป 4.4217 5.7309
     
มิเตอร์ TOU*    
On Peak 5.7982 7.2038
Off Peak 2.6369 3.8212

*ค่า FT อยู่ที่หน่วยละ 0.9343 บาท

 

การคิดค่าไฟ

ปัจจุบันนี้ การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีหลักการคิดคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานในบ้านเรือนด้วยมาตรฐานเดียวกัน อัตราเดียวกัน ใช้เหมือนกันทั่วประเทศไม่มีแบ่งโซนภูมิภาคแต่อย่างใด โดยการคิดคำนวณค่าไฟฟ้านั้นจะมีตัวเลขประกอบกันอยู่ 4 ส่วน ได้แก่

  1. ค่าไฟฟ้าพื้นฐาน
  2. ค่า FT
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. ค่าบริการ

 

บิลค่าไฟฟ้า TOU

 

ค่าไฟฟ้าฐาน

ค่าไฟฟ้าฐาน เป็นค่าพลังงานไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวงและส่วนภูมิภาค ใช้ในการคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเราตามจริง โดยปัจจุบันนี้ การคิดค่าไฟฟ้าฐานในครัวเรือนจะมีทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

  1. มิเตอร์ปกติ ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน
  2. มิเตอร์ปกติ ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย/เดือน
  3. มิเตอร์ TOU

มิเตอร์ปกติ ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน

มิเตอร์แบบปกติ ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน มีค่าบริการเดือนละ 8.19 บาท และมีเรทการคิดค่าไฟแบบอัตรา 1.1* มีหลักการคิดค่าไฟฟ้าฐานดังนี้

  ค่าไฟฟ้า (บาท/หน่วย)
หน่วยที่ 1-15 2.3488
หน่วยที่ 16-25 2.9882
หน่วยที่ 26-35 3.2405
หน่วยที่ 36-100 3.6237
หน่วยที่ 101-150 3.7171
หน่วยที่ 151-400 4.2218
หน่วยที่ 401 ขึ้นไป 4.4217

 

มิเตอร์ปกติ ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย/เดือน

มิเตอร์แบบปกติ ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน มีค่าบริการเดือนละ 38.22 บาท จะมีเรทการคิดค่าไฟแบบอัตรา 1.2* มีหลักการคิดค่าไฟฟ้าดังนี้

  ค่าไฟฟ้า (บาท/หน่วย)
หน่วยที่ 1-150 3.2484
หน่วยที่ 151-400 4.2218
หน่วยที่ 401 ขึ้นไป 4.4217

 

*ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย (มิเตอร์ 5(15) A) จะถูกจัดให้อยู่ใน อัตราข้อ 1.1 แต่ถ้ำมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะ จัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 1.2 และถ้ำมีการใช้พลังงำนไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนติดต่อกัน 3 เดือนใน เดือนถัดไป จะจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 1.1 ตามเดิม

*ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดเกินกว่า 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย (ตั้งแต่มิเตอร์ 15(45) ขึ้นไป) จะถูกจัดให้อยู่ ในอัตราข้อ 1.2 ตลอดไป

 

มิเตอร์ไฟฟ้า 15(45)

 

มิเตอร์ TOU คืออะไร

มิเตอร์ TOU หรือมิเตอร์แบบ Time of Use จะมีวิธีการคิดค่าไฟเป็นแบบช่วงเวลา (แบบปกติจะคำนวณตามปริมาณการใช้งาน) โดยจะแบ่งเวลาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ช่วง On Peak กับ Off Peak ซึ่งมีราคาไฟฟ้าแตกต่างกันถึง 2 เท่า มีค่าบริการเดือนละ 38.22 บาท

โดยช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (On Peak) ระหว่างเวลา 09.00-22.00 น. ของวันจันทร์-ศุกร์ อัตราค่าไฟฟ้า 5.7982 บาท ต่อหน่วย

ช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off Peak) ระหว่างเวลา 22.00-09.00 น. ของวันจันทร์-ศุกร์ และช่วงเวลาระหว่าง 00.00-24.00 ของวันเสาร์-อาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย) อัตราค่าไฟฟ้า 2.6369 บาท ต่อหน่วย

 

มิเตอร์ TOU 50(150)

 

ค่า Ft คืออะไร

Ft ย่อมาจากคำว่า Fuel Adjustment Charge โดยดั่งเดิมแล้ว ค่า Ft มาจากคำว่า Float time คือการลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้  เช่น  ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการคำนวณ

ทว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงสูตรคำนวณใหม่ คงไว้เพียงต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ที่ กฟผ.ไม่สามารถควบคุมได้  และสามารถนำไปคำนวณในสูตร Ft โดยค่า FT นี้ จะถูกปรับปรุงทุกๆ 4 เดือน โดยค่า Ft จะมีได้ทั้งแบบเก็บเงินเพิ่มและให้เป็นส่วนลด

 

ค่าไฟฟ้ารวม Ft+Vat หน่วยละเท่าไหร่

ในส่วนของค่าไฟฟ้าฐานรวม Ft, VAT (ไม่รวมค่าบริการ) เป็นราคาหน่วยละเท่าไหร่โดยประมาณ สรุปไว้แล้วดังนี้

 

ประเภทมิเตอร์ ค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้า
  (บาทต่อหน่วย) รวม Vat+Ft
มิเตอร์ปกติ    
หน่วยที่ 1 - 150 3.2484 4.4755
หน่วยที่ 151 - 400 4.2218 5.5170
หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป 4.4217 5.7309
     
มิเตอร์ TOU    
On Peak 5.7982 7.2038
Off Peak 2.6369 3.8212

 

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปกับ Autospinn

ค้นหารถมือสองทุกรุ่น ทุกแบบ ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน ดูรายละเอียด และราคารถมือสองได้ที่ ตลาดรถมือสอง One2car


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ