จับมือร่วมพัฒนา สิ่งแวดล้อม ผ่านหัวเรือใหญ่ โตโยต้า เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น และใช้พลังง่านอย่างคุ้มค้า เพื่ออนาคต ที่ยั่งยืนด้านพลังงาน
Commercial Japan Partnership Technologies Corporation
เชื่อว่าหลายท่านตั้งความหวัง ให้การพัฒนาด้านพลังงาน เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยการลดมลผิษ และ ได้ใช้พลังงานที่ถูกลงเพราะปัจจุบันก็เห็นแล้วว่า พลังงานด้านน้ำมันในอนาคตอาจจะหมดไปพร้อมด้วยราคาที่สูงขึ้น และในบางประเทศก็ได้กำหนดให้ใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เท่านั้น
4 บริษัทภาคี Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (คอมเมอร์เชียล เจแปน พาร์ทเนอร์ชิป เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่นหรือ CJPT) ประกอบด้วย บริษัท อีซูซุ มอเตอร์ส จำกัด , บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น, บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น, และบริษัท ไดฮัทสุ มอเตอร์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ส จำกัด จัดกิจกรรมทดสอบสมรรถนะรถยนต์ ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมแนะนำรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งาน ที่หลากหลายให้กับผู้ร่วมงานซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ประเภทองค์กร และบริษัทคู่ค้า
Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT ก่อตั้งในเดือนเมษายน 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการใช้เทคโนโลยีภายใต้แนวคิด CASE (Connected, Autonomous, Shared, Electric) อย่างแพร่หลายในวงกว้าง เพื่อมุ่งลดปัญหาที่พบในระบบขนส่ง ตลอดจนบรรลุสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยหลังจากที่ได้มีการประกาศความร่วมมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา CJPT กำหนดเป้าหมายในการมุ่งขยายพันธมิตรภายในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงการจัดการด้านพลังงาน (Energy Solution) ทางเลือกด้านการขับเคลื่อน (Mobility Solution) เช่น การจัดสรรยานพาหนะตามเป้าหมายการใช้งานอย่างเหมาะสม และการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ รวมไปถึงการบริการจัดการด้านข้อมูล (Data Solution) โดยผสานจุดแข็งของแต่ละบริษัทเข้าไว้ด้วยกัน
บนเส้นทางเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ลูกค้าอาจมองหารถที่มีระบบส่งกำลังแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานและการใช้งานของลูกค้าในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค โดยมีตัวเลือกต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการนำเสนอทางเลือกด้านการขับเคลื่อนที่เหมาะสมที่สุด โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในภูมิภาคและความสามารถ ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ โครงการ CJPT มุ่งหวังให้งานทดลองสมรรถนะรถยนต์ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการขยายความร่วมมือกับพันธมิตรให้มากยิ่งขึ้น พร้อมช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการเร่งบรรลุเป้าหมายของโครงการ CJPT ด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย
มร. ฮิโรกิ นากาชิมา ประธาน Commercial Japan Partnership Technologies Corporation เปิดเผยว่า "เรามุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคมด้วยการร่วมเดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในเอเชีย ผ่านการนำเสนอรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงต่ำ และให้ประสิทธิภาพสูง ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด และ รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง โดยเราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับฟังความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาจากผู้ทีเกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมสัมผัส่ประสบการณ์ทดลองขับรถยนต์เหล่านี้ และพิจารณาวิธีการที่เหมาะสมในการประสานความร่วมมือกัน เพื่อมุ่งบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนต่อไป"
สำหรับโครงการ CJPT ที่เริ่มปักหมุดก้าวแรกจากประเทศไทยนั้น มีแผนจะเร่งเดินหน้าขยายการใช้เทคโนโลยีในการลดคาร์บอนสู่ตลาดในภูมิภาคเอเชีย โดยบูรณาการองค์ความรู้ ความร่วมมือ กับบรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีวิสัยทัศน์ดียวกันเพื่อนำไปสู่การยกระดับชีวิตผู้คนในภูมิภาคเอเชียในท้ายที่สุด
ยานยนต์รุ่นหลักที่จัดแสดงภายในงาน
TOYOTA SORA
HINO FCEV Heavy Duty Truck
ISUZU & TOYOTA FCEV Light Duty Truck
TOYOTA Granace FCEV
TOYOTA HILUX REVO BEV Concept
TOYOTA LPG-HEV Taxi Concept
SUZUKI EVERY Small Van
DAIHATSU HIJET Small Van
TOYOTA e-Palette
YAMAHA H2 ROV*(Buggy)
*แม้ว่ายามาฮ่า จะไม่ได้เป็นสมาชิกของ CJPT แต่ได้ร่วมนำยานยนต์ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน สำหรับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างมาเข้าร่วมจัดแสดงภายในงาน ด้วยรถรุ่น ROV - (รถบักกี้ที่ใช้เป็นยานพาหนะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจนอกพื้นที่ถนน)
ในการแสดงโชว์ กับโครงการในครั้งนี้ นอกจากแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในทุกภาคส่วนที่จะช่วยพัฒนา ให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นแล้ว โตโยต้า ก็แสดงให้เห็นว่าที่มาของพลังงานนั้นมาได้อย่างหลากหลายช่วงทาง โดยพลังงานหลักที่โตโยต้าตั้งใจจะพัฒนาคือ ไฮโดรเจนเหลว ซึ่งจะไม่มีการปล่อยมลพิษและ CO2 ออกจากรถยนต์ มีเพียงการปล่อยน้ำเท่านั้น
ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้จากแหล่งที่เหลือใช้ เช่น มูล สัตว์ ซึ่งไม่มีต้นทุนแต่สิ่งที่ยาก จริงๆคือขั้นตอนการแยกพลังงาน และแหล่งจัดเก็บ นั้นเอง และสถานีในการเติมเชื้อเพลิงก็มีราคาสูงจึง ทำให้ ไฮโดรเจนเหลว จึงมีราคาที่แพงอยู่แต่ถ้าหากมีการใช้งานที่มากขึ้นอาจจะทำให้พลังงานนั้นถูกลงได้
นอกจากการจัดแสดง รถที่ใช้พลังงานทางเลือกที่หลากหลายแล้ว ที่โตโยต้า ก็จัดให้ได้ทดสอบรถที่นำมาจัดแสดงด้วยเช่นกัน ยิ่งทำให้มั่นใจได้ว่า พลังงานทางเลือกนั้นดีจริงถ้าราคานั้นถูกลง เพราะเมื่อรถบรรทุกเงียบลงขับขี่ดีขึ้นไม่ปล่อยมลพิษ จะดีแค่ไหน หรือรถ TOYOTA LPG-HEV Taxi ที่สามารถใช้พลังงานได้หลากหลายพร้อมทั้งให้อัตราการประหยัดด้วยยิ่งดีขึ้นไปอีก รวมถึง ฟังก์ชั่นการทำงานที่ปรับเปลี่ยนได้หลากหลายเพื่อผู้โดยสาร จะดีแค่ไหน
Commercial Japan Partnership Technologies Corporation
ที่ตั้ง 1-4-18 โคะระกุ, บังเกียว-คุ โตเกียว
เงินทุน 10 ล้านเยน (โครงสร้างแหล่งเงินทุน : โตโยต้า 70%, อีซูซุ 10%, ซูซูกิ 10%, ไดฮัทสุ 10%)
กรรมการผู้แทน ฮิโรกิ นากาชิมา ดำรงตำแหน่งประธาน
(กรรมการผู้จัดการของหน่วยธุรกิจรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ภายใต้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น)
เริ่มต้นดำเนินการ 1 เมษายน 2564
ธุรกิจหลัก วางแผนเทคโนโลยีและการให้บริการเทคโนโลยี CASE สำหรับรถยนต์ เพื่อการพาณิชย์
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปกับ Autospinn
ค้นหารถมือสองทุกรุ่น ทุกแบบ ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน ดูรายละเอียด และราคารถมือสองได้ที่ ตลาดรถมือสอง One2car
ความคิดเห็น