ในปัจจุบัน เราสามารถต่อภาษีรถยนต์ผ่านทางออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องเดินทาง อยู่ที่ไหนก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้อย่างสะดวกสบาย ผ่านระบบ e-Service หรือผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ของกรมการขนส่งทางบก
ภาษีรถยนต์คืออะไร
ภาษีรถยนต์ คือ ค่าใช้จ่ายของเจ้าของรถทุกคันต้องจ่ายให้กับกรมขนส่งทางบกทุกปี เหมือนกับภาษีประเภทอื่น ๆ ที่ภาครัฐจัดเก็บ ซึ่งภาษีรถยนต์ที่จัดเก็บไปจะใช้สำหรับการจัดการดูแลด้านคมนาคมขนส่ง การจ่ายภาษีรถ ต้องต่อพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้เรียบร้อยก่อน เพื่อนำเอกสารพ.ร.บ.ประกอบการต่อภาษี
โดยกรมการขนส่งทางบกจะจัดเก็บภาษีในอัตราต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ รถยนต์ พ.ศ. 2522 เช่น รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จัดเก็บตามน้ำหนักรถ และรถจักรยานยนต์จัดเก็บเป็นรายคัน เป็นต้น
หลังจากได้จ่ายภาษีเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดส่งป้ายภาษีรถยนต์ หรือ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี หรือที่เรียกกันว่าป้ายวงกลม มีลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยม สีชมพู-ฟ้า และระบุปีที่ป้ายภาษีนี้จะหมดอายุเอาไว้อย่างชัดเจน ให้ผู้ขับขี่นำมาติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์ตลอดเวลา หากใช้รถยนต์ที่ไม่มีเครื่องหมาย หรือหลักฐานการต่อภาษีรถยนต์ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เมื่อถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ
ภาษีรถยนต์ต่างกับ พ.ร.บ.รถยนต์อย่างไร
พ.รบ.รถยนต์ เป็นการทำประกันภัยภาคบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 สำหรับคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ส่วนภาษีรถยนต์ เป็นการต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี โดยมี พ.ร.บ.เป็นหลักฐานประกอบการต่อภาษี ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. ก็จะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้
ประเภทรถที่ยื่นชำระภาษีผ่านออนไลน์
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์
เอกสารที่ใช้ต่อภาษีรถยนต์มีอะไรบ้าง
การต่อภาษีรถยนต์จะต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้
1. สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริงหรือสำเนา)
2. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.)
(สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป)
3. พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
อัตราค่าบริการต่อภาษีรถยนต์ ดังนี้
- ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก) รายการละ 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และ VAT 7% ของผลรวมยอดเงินทั้งหมด
ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์
วิธีการยื่นชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์มีขั้นตอนอย่างไร ดังนี้
วิธีการยื่นชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์มีขั้นตอน ดังนี้
- เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
- ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่)
- Log-in เข้าสู่ระบบ
- ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) หรือสามารถซื้อพ.ร.บ. ได้จากระบบ
- เลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง
ช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง ได้แก่
1. ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับธนาคาร/สถาบันการเงิน)
2. ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (เป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , Master Card) โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้ให้บริการรับตัดบัตร
3. ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application ของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ
- กรณีชำระเงินยังไม่สำเร็จ/ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”
- สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลข กรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงิน โดยคลิกที่ ปุ่มเครื่องหมายพิมพ์ จะแสดงรายละเอียดการชำระเงินเป็นราย Reference
- กรมการขนส่งทางบก จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์
- เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด/ สาขาทั่วประเทศ
(สามารถจ่ายภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี)
ต่อภาษีรถยนต์ต้องตรวจสภาพรถไหม?
รถยนต์อายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานเกิน 5 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพเอกชนก่อนจ่ายภาษี แต่ถ้าอายุรถยังไม่ถึง สามารถจ่ายภาษีได้เลย
บทความที่น่าสนใจ
- ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า 2566 ต้องจ่ายปีละเท่าไร
- อบรมต่อใบขับขี่ ออนไลน์ ทำยังไงบ้าง (อัปเดตล่าสุด)
- ต่อใบขับขี่ ไม่ต้องจองได้ไหม ใช้เวลาเท่าไร
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
ความคิดเห็น