บีโอไอ อนุมัติส่งเสริมโครงการลงทุน บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก วงเงินลงทุน 8,862 ล้านบาท พร้อมวางเป้าหมายขับเคลื่อนไทยเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ระดับโลก โดยสนับสนุนผู้ผลิตรถ-ชิ้นส่วนเดิม ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ EV พร้อมเดินหน้ามาตรการอีวี 3.5
บีโอไอไฟเขียวส่งเสริม “ฉางอัน” ลงทุนผลิตรถ BEV และ PHEV ในไทย
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ได้มีการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 นัดแรกภายใต้รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มอบหมายให้นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานบอร์ดบีโอไอ โดยที่ประชุมได้พิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการลงทุน รวม 6 โครงการ มูลค่า 41,086 ล้านบาท
บีโอไอ อนุมัติให้การส่งเสริมโครงการลงทุน รวม 6 โครงการ มูลค่า 41,086 ล้านบาท
- โครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล จำกัด มูลค่าลงทุน 8,862 ล้านบาท มีกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) 58,000 คันต่อปี และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (PHEV) 36,000 คันต่อปี
- โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะด้วยเครื่องกังหันไอน้ำ บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าลงทุน 4,892 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขม กรุงเทพฯ
- โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะด้วยเครื่องกังหันไอน้ำ บริษัท นิวสกาย เอ็นเนอร์จี (แบงค็อก) จำกัด มูลค่าลงทุน 4,892 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพฯ
- โครงการ Data Center บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด มูลค่าลงทุน 3,586 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
- โครงการขนส่งทางอากาศ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มูลค่าลงทุน 9,314 ล้านบาท ในการจัดซื้อเครื่องบินโดยสาร จำนวน 5 ลำ ความจุผู้โดยสารรวม 1,670 ที่นั่ง สามารถบรรทุกสินค้ารวม 303 ตัน
- โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยว บริษัท ส้งเฉิง โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าลงทุน 9,540 ล้านบาท จังหวัดชลบุรี
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก
นอกจากนี้ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกในระยะ 4 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2567 – 2570) ได้ให้ความสำคัญกับ 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่จะผลักดันประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่ ได้แก่
- อุตสาหกรรมกลุ่ม BCG (โดยเฉพาะเกษตร อาหาร การแพทย์ และพลังงานสะอาด)
- อุตสาหกรรมยานยนต์ (โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า)
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (โดยเฉพาะต้นน้ำและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ)
- อุตสาหกรรมดิจิทัลและสร้างสรรค์
- การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
ผลักดันมาตรการอีวี 3.5
อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า มีเป้าหมายเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ระดับโลก เป็นที่ 1 ในอาเซียน และเป็น TOP 10 ของโลก เป้าหมาย EV30@30 และอีก 70% ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อย CO2 โดยมีแนวทางส่งเสริม ดังนี้
- ส่งเสริมการผลิต EV แบบครบวงจร (ผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วนสำคัญ RHQ และ R&D Center)
- สนับสนุนผู้ผลิตรถยนต์เดิม ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ EV และเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยลด CO2
- สนับสนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนเดิม ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีใหม่หรืออุตสาหกรรมใหม่
- พัฒนาระบบนิเวศของ EV และสนับสนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยโดยเฉพาะ SMEs เข้าไปอยู่ใน Supply Chain ของ EV
- สนับสนุนการจัดตั้งโรงงานผลิต Battery Cell ระดับสากลขนาดใหญ่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งห่วงโซ่ EV
- ส่งเสริมกิจการ Used EV Battery Management
- ผลักดันมาตรการต่อเนื่อง EV3.5 เพื่อดึงผู้ผลิตรายสำคัญที่ยังไม่ตัดสินใจมาลงทุนสร้างฐานการผลิตในไทย
บทความที่น่าสนใจ
- ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า 2566 ต้องจ่ายปีละเท่าไร
- อบรมต่อใบขับขี่ ออนไลน์ ทำยังไงบ้าง (อัปเดตล่าสุด)
- ต่อใบขับขี่ ไม่ต้องจองได้ไหม ใช้เวลาเท่าไร
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
ความคิดเห็น