หากท่านใดมีความสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างแผนการบำรุงรักษา (Maintenance Plan) กับ แผนการบริการ (Service Plan) จะเลือกแผนไหนดี วันนี้เลดี้มีข้อมูลเชิงลึกมาอธิบายความแตกต่างของทั้ง 2 แผนนี้ค่ะ
How to เลือกระหว่างแผนการบำรุงรักษา กับ แผนการบริการ
หลายๆ แบรนด์รถยนต์มีโปรแกรมซ่อมบำรุงรักษาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางแบรนด์ก็มีเฉพาะแผนการบำรุงรักษา (Maintenance Plan) ให้ บางแบรนด์อาจจะมีเฉพาะแผนการบริการ (Service Plan) ให้ หรือหากใจป้ำหน่อยก็อาจจะให้ทั้ง 2 แผนเลยในโปรแกรมเดียว แต่ทีนี้ถ้าจำเป็นที่จะต้องเลือกระหว่าง 2 แผนนี้ คุณจะเลือกแผนไหนดี? เลดี้จะพาไปดูความแตกต่างของทั้ง 2 แผนนี้กันค่ะ
ก่อนอื่นเลยต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการที่จะใช้งานทั้ง 2 แผนนี้ได้ คุณจะต้องนำรถยนต์ของคุณเข้าบำรุงรักษาตามข้อกำหนดของผู้ผลิต ซึ่งปกติแล้วทั้งแผนการบำรุงรักษาและแผนการบริการจะครอบคลุมการบริการในระยะที่ระบุไว้เท่านั้น กล่าวคือ หากผู้ผลิตระบุไว้ว่าให้เข้ามาเช็คสภาพช่วง 15,000 กิโลเมตร และอนุญาตให้บวกลบได้ไม่เกิน 1,500 กิโลเมตร นั่นหมายถึงคุณจะต้องเข้ารับการบริการครั้งแรกระหว่าง 13,500 ถึง 16,500 กิโลเมตร และที่สำคัญผู้ผลิตจะระยุช่วงเวลาในการเข้ารับบริการด้วย ซึ่งหากคุณไม่ได้เข้ามาใช้บริการในเวลาที่กำหนด โดยปกติจะกำหนดไว้ที่ 1 ปี หากเข้ามาไม่ทันนั่นหมายความว่าจะส่งผลให้โปรแกรมเหล่านั้นของคุณจะถูกยกเลิกอัตโนมัติ
แผนการบำรุงรักษา (Maintenance Plan)
สำหรับแผนนี้จะเป็นการให้บริการในส่วนของการบำรุงรักษาเพิ่มเติม อาทิ เกียร์ คลัตช์ ระบบกันสะเทือน ผ้าเบรก และจานเบรก ซึ่งรวมอยู่กับการดูและบำรุงรักษาทั่วไป อาทิ ของเหลวต่างๆ (น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันคลัตช์ น้ำยาหม้อน้ำ เป็นต้น) การให้บริการแผนนี้เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ ให้สามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุด โดยปกติแผนการบำรุงรักษานี้จะไม่ครอบคลุมกับแผนการบริการ กล่าวคือ ในส่วนของค่าบริการ ค่าแรงต่างๆ จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากการซ่อมบำรุง และจะมาพร้อมกับการจำกัดอายุและระยะทาง เช่น ผู้ผลิตกำหนดให้รถยนต์ของคุณอาจจะมีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือมีระยะทาง 120,000 กิโลเมตร หลังจากนั้นโปรแกรมนี้ก็จะสิ้นสุดลง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมต้องตรวจสอบจากทางผู้ผลิต เพราะแต่ละแบรนด์ก็จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป
แผนการบริการ (Service Plan)
แผนนี้ก็เป็นโปรแกรมที่เข้าใจได้ง่ายๆ มีความหมายตามชื่อเลย ซึ่งก็คือจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับบริการ อาทิ ค่าแรง และชิ้นส่วนมาตรฐานที่กำหนดไว้ (สำหรับการบริการโดยเฉพาะ) แต่ไม่รวมค่าอะไหล่ และค่าแรงอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ เช่น ที่ปัดน้ำฝน หรือ ผ้าเบรก
หากให้เลดี้สรุปก็คือ ตัวเลือกที่ครอบคลุมมากที่สุดใน 2 แผนนี้ก็คือ แผนการบำรุงรักษา (Maintenance Plan) เพราะหากคุณซื้อรถใหม่มือหนึ่ง หรือรถยนต์มือสองไมล์น้อยก็ตาม ซึ่งอาจจะมีการรับประกัน (บางอย่าง) และมีแผนการบริการคงเหลืออยู่ คุณจะต้องทำความเข้าใจถึงขอบเขตการเข้ารับบริการการซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ของคุณก่อนการใช้บริการ เพื่อป้องกันการเกิดค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่คุณไม่ทราบมาก่อน และสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายหลังจากที่ซื้อรถยนต์มาได้อีกด้วย
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
ความคิดเห็น