ในปีนี้ การแข่งขันรายการ S-Tai Fuji 24 Hr โตโยต้าได้พัฒนา GR Corolla เครื่องยนต์ไฮโดรเจรเหลว เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน เป็นไปตามความมุ่งหมายในเรื่อง Carbon neutrality
โตโยต้าพัฒนา GR Corolla เครื่องยนต์ไฮโดรเจนเหลวใช้แข่งขันรายการ "S-Tai Fuji 24 Hr"
นาโออะกิ อิโต (Naoaki Ito) ผู้อำนวยการโครงการ แผนกพัฒนารถ GR โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (หรือโตโยต้า) ได้กล่าวถึง การส่งรถยนต์หมายเลข #32 ORC ROOKIE GR Corolla H2 Concept (หรือโคโรลล่าเครื่องยนต์ไฮโดรเจน) ที่ใช้ไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงเข้าร่วมแข่งขัน Fuji SUPER TEC 24 ชั่วโมงสนามที่สองของซีรีส์ ENEOS Super Taikyu Series 2024 Empowered by BRIDGESTONE ตามที่โตโยต้ามุ่งมั่นที่จะพัฒนายานยนต์และคนขับผ่านสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากในสนามแข่งมอเตอร์สปอร์ต และสร้างวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับมิตรในวงการ เพื่อทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอนได้จริงครั้งนี้ บริษัทได้แจกแจงการพัฒนา “เครื่องยนต์ไฮโดรเจรเหลว” ดังนี้
พัฒนาการโคโรลล่าเครื่องยนต์เหลว
พัฒนาปั๊มป์ไฮโดรเจนเหลวให้คงทนมากขึ้น พัฒนา “ปั๊มป์” ที่จะอัดความดันไฮโดรเจนเหลวเพิ่มขึ้นเพื่อส่งไปให้เครื่องยนต์ให้มีความคงทนเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก สามารถวิ่งได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องเปลี่ยนชิ้นส่วน (ต่างจากการแข่งขัน 24 ชั่วโมงปีที่แล้วที่ต้องเปลี่ยน 2 ครั้ง)
เครื่องยนต์ไฮโดรเจนส่งกำลังได้โดยการเผาไหม้ไฮโดรเจนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งถูกอัดเข้าห้องเครื่องยนต์โดยตรง โคโรลล่าเครื่องยนต์ไฮโดรเจนมีปั๊มป์ที่จะอัดอากาศด้วยการให้แรงอัดแบบหมุนไปกลับของลูกสูบ (หรือระบบแรงอัดแบบหมุนไปกลับ) ส่งไฮโดรเจนจากถังเก็บเชื้อเพลิงไปยังเครื่องยนต์ ปั๊มป์นี้ต้องรับกับช่วงแรงอัดมหาศาลที่เกิดขึ้นจากระบบแรงอัดแบบหมุนไปกลับของลูกสูบ ทำให้ตลับลูกปูน(ชิ้นส่วนที่จะทำให้เพลาหมุนได้อย่างคล่องตัว) รวมถึงเกียร์ (เฟือง) ต้องรับแรงมหาศาล เป็นเหตุให้เกิดการสึกกร่อนหรือเสื่อมสภาพได้ง่าย
ในครั้งนี้ เพื่อยกระดับความทนทานของปั๊มป์ จึงได้พัฒนาโครงสร้างของข้อเหวี่ยงเป็นแบบ Dual-Drive ทำให้สามารถส่งแรงบิดจากข้อเหวี่ยงทั้งสองด้านเข้าสู่มอเตอร์ได้ ทำให้การหมุนไปกลับของลูกสูบสร้างแรงอัดได้อย่างสมดุลย์ดี ส่งผลให้ปั๊มป์มีความทนทานเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก
สนามแข่ง |
Fuji 24 ชั่วโมงปี 2023 |
Fuji 24 ชั่วโมงปี 2024(เป้าหมาย) |
|
จำนวนปั๊มป์ที่ใช้ |
3 ปั๊มป์ (เปลี่ยน 2 ครั้ง) |
1 ปั๊มป์(ไม่เปลี่ยนเลย) |
|
ความทนทาน 1 ปั๊มป์ |
ทุก 8 ชั่วโมง |
มากกว่า 24 ชั่วโมง |
เพิ่มระยะวิ่งด้วยถังเชื้อเพลิงทรงต่างจากเดิม
เปลี่ยนรูปทรงของถังไฮโดรเจนที่วางไว้ในตัวถังจาก “ทรงกระบอก” เป็น “ทรงต่าง (ทรงวงรี)” ส่งผลให้ปริมาณไฮโดรเจนเหลวที่สามารถเติมได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระยะวิ่งยาวมากขึ้นกว่าเดิม
หากเป็นเชื้อเพลิงก๊าซไฮโดรเจนต้องเป็นถังเชื้อเพลิงทรงกระบอกเพื่อกระจายแรงดันมหาศาลให้ทั่วถึงเท่ากันในถังเชื้อเพลิง ในขณะที่ไฮโดรเจนเหลวมีแรงดันน้อยกว่าก๊าซไฮโดรเจน สามารถใช้ถังเชื้อเพลิงทรงต่างจากเดิมได้ ในครั้งนี้
จึงได้ออกแบบให้เป็นถังเชื้อเพลิงแบบทรงวงรี เพื่อใช้พื้นที่ในห้องโดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ปริมาตรของถังเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับถังเชื้อเพลิงทรงกระบอกแบบเดิม และเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ก๊าซไฮโดรเจนอัดที่ความดัน 70 เมกกะปาสคาลเมื่อทดสอบในปีค.ศ.2022 ทำให้ปริมาณเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่บรรจุได้ (หรือระยะวิ่ง) เพิ่มขึ้นมากกว่า2 เท่า
สนามแข่ง |
Fuji ปี 2022 |
Fuji ปี 2023 |
Fuji ปี 2024 (เป้าหมาย) |
ชนิดเชื้อเพลิงไฮโดรเจน |
ก๊าซไฮโดรเจน (อัดที่ความดัน 70 เมกกะปาสคาล) |
ไฮโดรเจนเหลว |
|
ขนาดถังเชื้อเพลิง |
180 ลิตร(ก๊าซ) |
150 ลิตร |
220 ลิตร |
ปริมาณไฮโดรเจน |
7.3กก.(ก๊าซ) |
10 กก. |
15 กก. |
ระยะวิ่ง(สนามFSW) |
ราว 12 รอบ |
รา 20 รอบ |
ราว 30 รอบ |
คิดเป็นระยะทาง |
ราว 54 กม. |
ราว 90 กม. |
ราว 135 กม. |
อุปกรณ์กู้คืน CO2 เปลี่ยนไปใช้ระบบอัตโนมัติ
เทคโนโลยีการกู้คืน CO2 เป็นเทคโนโลยีที่จะกู้คืน CO2 ที่มีอยู่ในอากาศ ด้วยกการประยุกต์ใช้ มีจุดเด่นในการดูดอากาศได้จำนวนมาก” และ “ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้” ที่มีในเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยการติดตั้งอุปกรณ์กู้คืน CO2
กล่าวคือ จะติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับ CO2 เข้าที่จุดดูดอากาศของแอร์คลีนเนอร์ พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์แยกCO2 ที่เกิดขึ้นจากความร้อนของน้ำมันเครื่องเข้าที่ด้านข้างของอุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อกู้คืน CO2 ที่แยกตัวออกมาเก็บไว้ในถังขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยน้ำยาดูดซับ
ในการแข่งขัน Fuji 2023 สนามสุดท้าย ได้ติดตั้งระบบสลับเปลี่ยนการดูดซับและแยกตัว CO2 เป็นแบบแมนนวล ในครั้งนี้ ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับการเปลี่ยนโปรเซสการดูดซับและแยกตัว โดยการหมุนฟิลเตอร์ดูดซับ CO2 อย่างช้า ๆ ในระหว่างการขับขี่
รายชื่อนักแข่งรถ
มาซาฮิโกะ คอนโดผู้จัดการทีมผู้มีประสบการแข่งSUPER GT หรือซูเปอร์ฟอร์มิวล่าของสนามแข่งในประเทศ และยังเป็นประธานของ JRP ผู้จัดแข่งขันซูเปอร์ฟอร์มิวล่า มาพร้อมกับยาลิ-มาติ แรทบาลาตัวแทนทีม TGR-WRT จะเข้าร่วมเป็นนักแข่งสำหรับสนาม Fuij 24 ชั่วโมงในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันท้าทายครั้งยิ่งใหญ่กับคาโรลล่าไฮโดรเจนเหลวกับนักแข่งของทีมMORIZO
รายชื่อนักแข่งรถหมายเลข 32 |
|||||
นักแข่งรถ A |
นักแข่งรถB |
นักแข่งรถC |
นักแข่งรถD |
นักแข่งรถE |
นักแข่งรถF |
MORIZO |
มาซาฮิโร ซาซากิ |
ฮิโรอาคิ อิชิอูระ |
ยาสุฮิโร โอคุระ |
มาซาฮิโกะ คอนโด |
ยาลิ-มาติ แรทบาลา |
บทความที่น่าสนใจ
- วางแผนอย่างไร ก่อนถอยรถป้ายแดง
- ซื้อรถป้ายแดง ดาวน์เท่าไหร่ดี?
- 2 วิธีตรวจสอบคะแนนใบขับขี่ด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์
- ฤกษ์ออกรถ 2567 ทุกเดือน จากซินแสโหราศาสตร์จีนชื่อดัง!
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
ความคิดเห็น