ส.อ.ท.ปรับเป้าผลิตเพื่อจำหน่ายในไทยลดลง 2 แสนคัน เหลือ 550,000 คัน Share this

ส.อ.ท.ปรับเป้าผลิตเพื่อจำหน่ายในไทยลดลง 2 แสนคัน เหลือ 550,000 คัน

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 25 July 2567

ส.อ.ท.เผยปัจจัยบวก-ลบ กระทบการผลิตรถเพื่อจำหน่ายในไทย ทั้งหนี้ครัวเรือนสูงร้อยละ 90 ของ GDP การลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อฯ


ส.อ.ท.ปรับเป้าตัวเลขผลิตรถเพื่อจำหน่ายในไทยลดลง 2 แสนคัน เหลือ 550,000 คัน 

สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์  ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากตัวเลขการผลิตที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมทั้งปัจจัยที่กระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2024 ส.อ.ท.จึงได้ปรับเป้าตัวเลขการผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงจากเดิม โดยคงตัวเลขผลิตเพื่อส่งออกไว้

ตัวเลขเดิมได้ตั้งเป้าปี 2567

  • ผลิตเพื่อส่งออก 1,150,000 ล้านคัน 
  • ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 750,000 คัน

ตัวเลขใหม่ ปรับลดเป้าปี 2567

  • ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลง 2 แสนคัน เหลือ 550,000 คัน

ดังนั้น เป้าหมายรวมจะลดลงจากเดิมที่ตั้งไว้ 1.9 ล้านคัน เหลือเพียง 1.7 ล้านคัน เท่านั้น รวมทั้งยังได้แจกแจงปัจจัยบวก-ลบที่กระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ปีนี้ ทั้งกระทบการส่งออกและการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ดังนี้ 

ส.อ.ท.ลดเป้า 2024

ปัจจัยลบของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง

  • หนี้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 90 ของ GDP ประเทศในขณะที่รายได้ครัวเรือนยังต่ำจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำ
  • การลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังลดลงมาหลายเดือนแล้ว คนงานมีรายได้ลดลง ประชาชนระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
  • หน่วยงานเศรษฐกิจหลายแห่งลดการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยลง
  • สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์โดยเฉพาะรถกระบะ
  • จำนวนแรงงานวัยทำงานน้อยกว่าเพื่อนบ้านจากอัตราการเกิดต่ำ จะทำให้นักลงทุนลังเลในการลงทุนเพราะเป็นสังคมสูงอายุ

ปัจจัยบวกของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง

  • รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายและการลงทุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี2567
  • งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 เบิกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะทำให้รัฐบาลใช้จ่ายและลงทุนรวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามนโยบาย
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติและการส่งออกยังเติบโตชึ่งจะช่วยให้ภาคอุตสากรรมผลิตได้มากขึ้น คนงานมีรายได้มากขึ้น
  • ความขัดแย้งระหว่างประเทศไม่ขยายตัวหรือเพิ่มขึ้นอีกในแห่งอื่นของโลกซึ่งจะส่งผลถึงการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วน
  • ธนาคารกลางสหรัฐอาจลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยได้ ภาระของลูกหนี้อาจลดลงซึ่งจะช่วยให้มีอำนาจซื้อมากขึ้น
  • คาดหวังว่าจะมีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นจากการเดินทางไปชักชวนนักลงทุนรายใหญ่ๆตั้งแต่ปีที่แล้วซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศเติบโต หนี้ครัวเรือนจะได้ลดลง
  • เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชดเชยอัตรา 1:1ของรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจำหน่ายในปี 2565 - 2566

ปัจจัยบวก-ลบ อุตสาหกรรมยานยนต์ มิ.ย. 2024

ปัจจัยลบของการคาดการณ์ยอดผลิตเพื่อส่งออกเท่าเดิม

  • สงครามการค้าและสงครามยูเครนกับรัสเซียและสงครามอิสราเอลกับฮามาสอาจบานปลาย
  • การเพิ่มการเข้มงวดในการควบคุมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐอเมริกาอาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์
  • ถ้าเศรษฐกิจจีนโตในอัตราต่ำจะส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศในเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับสองรองจากตลาดออสเตรเลีย

ปัจจัยบวกของการคาดการณ์ยอดผลิตเพื่อส่งออกเท่าเดิม

  • ยอดขายรถยนต์ของประเทศคู่ค้ายังเติบโต
  • คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะลดอัตราดอกเบี้ยลง
  • เศรษฐกิจของประเทศจีนที่ยังเติบโตส่งผลดีต่อประเทศในเอเชียที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 28 ของรถยนต์ที่ไทยส่งออก

บทความที่น่าสนใจ

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ