ตรอ. คืออะไร ตรวจอย่างไร ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี Share this
Lifestyle
โหมดการอ่าน

ตรอ. คืออะไร ตรวจอย่างไร ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตรอ. คืออะไร ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี ตรวจสภาพรถได้ที่ไหนบ้าง รถอายุกี่ปี จึงจะต้องตรวจสภาพรถประเภทใดที่ไม่สามารถตรวจสภาพ กับตรอ.ได้  เอกสารที่ใช้ตรวจสภาพรถที่ ตรอ.มีอะไรบ้าง ค่าบริการตรวจเช็กสภาพรถยนต์ที่ ตรอ.เท่าไหร่ ตรวจสภาพรถยนต์ที่ ตรอ. เช็กอะไรบ้าง ตรอ.ตรวจสภาพรถแล้วไม่ผ่าน ทำไงดี ไปดูกัน


ตรอ. คืออะไร ตรวจอย่างไร ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี

ในการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนใช้งานเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกเหนือจากความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนแล้ว ยังรวมถึงการต่อภาษีรถยนต์-รถมอเตอร์ไซค์จะต้องผ่านการรับรองจากสถานตรวจสภาพรถหรือที่เรียกกันว่า ตรอ. วันนี้ออโต้สปินน์จะไขข้อสงสัย “ตรอ. คืออะไร?” ตรวจเช็กอะไรบ้าง

ตรอ. คืออะไร 
ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี
ตรวจสภาพรถได้ที่ไหนบ้าง
รถอายุกี่ปี จึงจะต้องตรวจสภาพ
รถประเภทใดที่ไม่สามารถตรวจสภาพ กับตรอ.ได้ 
เอกสารที่ใช้ตรวจสภาพรถที่ ตรอ.มีอะไรบ้าง
ค่าบริการตรวจเช็กสภาพรถยนต์ที่ ตรอ.เท่าไหร่
ตรวจสภาพรถยนต์ที่ ตรอ. เช็กอะไรบ้าง
ตรอ.ตรวจสภาพรถแล้วไม่ผ่าน ทำไงดี

ตรอ. คืออะไร ตรวจอย่างไร ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี

ตรอ. คืออะไร 

ตรอ. ย่อมาจาก สถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน ที่เปิดให้บริการในการตรวจสภาพรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ หากเราไม่สะดวกนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งทางบก (ขบ.) สามารถนำรถเข้าไปใช้บริการสถานตรวจสภาพรถที่มีสัญลักษณ์ตรอ. ที่แสดงให้เห็นว่า ได้รับอนุญาตจากขบ.เรียบร้อยแล้ว 

“รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ ต้องตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น” (พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522) เมื่อนำรถไปตรวจสภาพผ่านแล้วจึงจะนำไปต่อภาษีได้

ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี

การตรวจสภาพรถที่ ตรอ. ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังเป็นการรับรองว่ารถของเรา พร้อมใช้งานบนท้องถนน ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของตัวรถ

  • เพื่อความปลอดภัย การตรวจสภาพรถจะช่วยตรวจสอบระบบต่างๆ ของรถ เมื่อพบความผิดปกติ ชำรุดหรือเสื่อมสภาพจะได้ซ่อมแซมได้ทันท่วงที และช่วยให้คุณขับขี่ได้อย่างความปลอดภัย
  • เพื่อยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ การตรวจสภาพรถเป็นประจำจะช่วยให้รถยังคงสภาพการใช้งานได้ดี และช่วยยืดอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
  • เพื่อต่อภาษีรถยนต์ รถที่มีอายุการใช้งานเป็นระยะเวลาครบตามที่ พรบ.กำหนด ควรนำรถเข้ารับการตรวจสภาพก่อนต่อภาษีรถยนต์ เพื่อรับรองว่ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ยังมีสภาพที่พร้อมใช้งานตามระเบียบข้อบังคับของขบ. จากนั้นให้นำใบรับรองการตรวจสภาพรถไปยื่นเป็นหลักฐานเพื่อต่อภาษีประจำปี

ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี 2025

ตรวจสภาพรถได้ที่ไหนบ้าง

1. รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท เจ้าของรถจะนำไป
ตรวจสภาพ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้

2. รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์
ต้องตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

รถอายุกี่ปี จึงจะต้องตรวจสภาพ

รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่จะเข้าตรวจสภาพกับ ตรอ. จะต้องมีอายุการใช้งานตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7  ปีขึ้นไป
  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่ขาดภาษีเกิน 1 ปี

การนับอายุของรถที่ขับขี่ว่าตรงตามเกณฑ์เข้าตรวจที่ ตรอ. หรือไม่นั้น สามารถนับอายุได้จากวันที่เริ่มจดทะเบียนครั้งแรกจนถึงวันที่สิ้นสุดภาษีประจำปี

รถอายุกี่ปี จึงจะต้องตรวจสภาพ 2025

รถประเภทใดที่ไม่สามารถตรวจสภาพ กับตรอ.ได้ 

รถที่ต้องนำไปให้นายทะเบียนตรวจสถาพที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชนไม่สามารถรับตรวจสภาพได้ ดังนี้ 

รถที่ดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้

  • รถที่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการ ที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ (เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนลักษณะรถ เปลี่ยน ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น)
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ ( เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข ตัวเลขชำรุด หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูด ลบ หรือลบเลือน จนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เป็นต้น ) รถที่เจ้าของได้แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
  • รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเป็นเลขทะเบียนรุ่นเก่า ( เช่น กท-00001, กทจ-0001 เป็นต้น) ซึ่งรถดังกล่าวต้องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่เมื่อมีการนำมาเสียภาษีประจำปี
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
  • รถที่ได้สิ้นอายุภาษีประจำปี (ขาดต่อทะเบียน) เกิน 1 ปี

เอกสารที่ใช้ตรวจสภาพรถที่ ตรอ.มีอะไรบ้าง

ในการไปติดต่อกับสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ให้เจ้าของรถนำรถและสมุดคู่มือทะเบียนรถ (เล่มทะเบียนรถ) ไปแสดง หากผลการตรวจสภาพปรากฏว่า รถอยู่ในเกณฑ์ผ่านการตรวจสภาพ สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) จะออกใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดและนำไปยื่นต่อภาษีรถยนต์ได้

ค่าบริการตรวจเช็กสภาพรถยนต์ที่ ตรอ.เท่าไหร่

การตรวจสภาพที่ ตรอ. จะมีค่าบริการที่ถูกกำหนดจากกรมขนส่งทางบก โดยสามารถแบ่งได้ตามประเภท ดังนี้

  • รถจักรยานยนต์คันละ 60 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท

ค่าตรวจ ตรอ.

ตรวจสภาพรถยนต์ที่ ตรอ. เช็กอะไรบ้าง

การตรวจสภาพรถยนต์ที่ ตรอ. จะตรวจเช็กหลายรายการ ดังนี้

ตรวจข้อมูลรถ 

  • ตรวจข้อมูลรถ จะตรวจเช็กรถว่าตรงกับข้อมูลในเล่มทะเบียนรถหรือไม่ เช่น แผ่นป้ายทะเบียนรถ, แบบรถ, สีรถ, หมายเลขตัวรถ, ชนิดเครื่องยนต์, เลขเครื่องยนต์ เป็นต้น

ตรวจภายนอกและภายในรถ 

  • ตรวจภายนอกและภายในรถ ทั้งสภาพตัวถัง, ระบบไฟ, เข็ดขัดนิรภัย, พวงมาลัย เป็นต้น 

ตรวจใต้ท้องรถ 

  • ตรวจใต้ท้องรถ เป็นการตรวจเช็กระบบความปลอดภัย เช่น ระบบเบรก, ระบบเลี้ยว, ระบบไอเสีย เชื้อเพลิง เครื่องยนต์ เป็นต้น

ตรวจเช็กประสิทธิภาพของระบบเบรก ด้วยการทดสอบกับลูกกลิ้ง 

  • ตรวจเช็กประสิทธิภาพของระบบเบรก ด้วยการทดสอบกับลูกกลิ้ง จะทำการตรวจเช็กแรงห้ามล้อ เมื่อดึงเบรกมือขณะที่รถจอดอยู่กับที่ ซึ่งแรงห้ามล้อทุกล้อรวมกันจะต้องไม่น้อยกว่า 20% ของน้ำหนักรถและแรงห้ามล้อหลักทุกล้อ เมื่อเหยียบเบรกเท้าแล้วจะต้องรวมกันไม่น้อยกว่า 50% ของน้ำหนักรถ โดยผลต่างของแรงห้ามล้อหลักทั้ง 2 ด้าน จะต้องไม่เกิน 25% ของแรงห้ามล้อสูงสุดของเพลานั้นๆ 

ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และไฮโดรคาร์บอน (HC) 

  • ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และไฮโดรคาร์บอน (HC) เป็นการตรวจวัดขณะเครื่องยนต์เดินเบาเมื่อเข้าเกียร์ว่างและปิดระบบปรับอากาศ โดย ตรอ. จะตรวจวัดปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์และค่าไฮโดรคาร์บอนจากปลายท่อไอเสีย 2 ครั้ง เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ ดังนี้
  1. รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ลักษณะเก๋ง หากจดทะเบียนก่อน 1 พ.ย. 2536 จะต้องมีค่า CO ไม่เกิน 4.5% และค่า HC ไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน
  2. จดทะเบียนวันที่ 1 พ.ย. 2536 - 31 ธ.ค. 2549 จะต้องมีค่า CO ไม่เกิน 1.5%  ส่วนค่า HC ต้องไม่เกิน 200 ส่วนในล้านส่วน
  3. รถยนต์ประเภทอื่น หากจดทะเบียนก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2550 จะต้องมีค่า CO ไม่เกิน 4.5% และค่า HC ไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน ส่วนรถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2550 เป็นต้นไป จะต้องมีค่า CO ไม่เกิน 0.5% และค่า HC ไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน

ตรวจเช็กควันดำ 

  • ตรวจเช็กควันดำ การตรวจวัดค่าควันดำ จะทำการตรวจวัดขณะเร่งเครื่องด้วยความเร็วสูงขณะเข้าเกียร์ว่างและปิดระบบปรับอากาศ ซึ่งการเก็บวัดค่าควันดำจะใช้การเก็บ 2 ครั้ง ด้วยเครื่องมือวัดระบบกระดาษกรอง (Filter) โดยค่าควันดำที่ได้จะต้องไม่เกิน 50% และค่าความทึบของแสง (Opacity) จะต้องไม่เกิน 45% ถึงจะตรงตามข้อกำหนด 

ตรวจเช็กระดับเสียงของท่อไอเสีย 

  • ตรวจเช็กระดับเสียงของท่อไอเสีย การวัดระดับเสียงของท่อไอเสีย จะทำการวัดตอนที่เร่งเครื่องยนต์จนสุดคันเร่งในกรณีที่เป็นรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล ส่วนเครื่องยนต์เบนซินจะทำการวัดตอนเร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็ว 3 ใน 4 ของรอบเครื่องยนต์ โดยค่าระดับเสียงจะต้องมีค่าไม่เกิน 100 เดซิเบล

ตรวจเช็กระบบไฟ 

  • ตรวจเช็กระบบไฟ ในส่วนของระบบไฟที่ต้องทำการตรวจเช็กก็คือระบบไฟหน้า โดยจะวัดจากทิศทางเบี่ยงเบนและค่าความเข้มข้นของแสง ดังนี้
  1. ระบบไฟต่ำ มุมกดของไฟต่ำจะต้องกดลงไปในแนวราบร้อยละ 0.5 (0.29) องศา ถึงร้อยละ 4.0 (2.29 องศา) โดยความสว่างของไฟต่ำทั้งสองข้างจะต้องไม่น้อยกว่า 6,400 แคนเดลลา และทิศทางของไฟจะต้องไม่เบี่ยงไปทางทิศขวา
  2. ระบบไฟสูง ความสว่างของไฟสูงทั้งสองข้างจะต้องไม่น้อยกว่า 12,000 แคนเดลลา และรวมกันต้องไม่เกิน 430,000 แคนเดลลา และทิศทางการเบี่ยงเบนของดวงไฟจะต้องไม่ไปในด้านขวาและไม่สูงเกินกว่าเส้นแนวราบ เป็นต้น

ตรวจสภาพรถได้ที่ไหนบ้าง 2025

ตรอ.ตรวจสภาพรถแล้วไม่ผ่าน ทำไงดี

รถอยู่ในเกณฑ์ไม่ผ่านการตรวจสภาพ    สถานตรวจสภาพรถจะแจ้งข้อบกพร่องที่เป็นเหตุให้รถนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพให้เจ้าของทราบเพื่อจะได้นำรถไปแก้ไขข้อบกพร่องแล้วนำมาตรวจใหม่ หากแก้ไขแล้วนำไปตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนแห่งเดิมภายใน 15 วัน จะเสียค่าตรวจใหม่ ในอัตราครึ่งหนึ่งของค่าบริการที่กำหนดไว้ แต่หากเกิน 15 วัน หรือไปตรวจที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนแห่งอื่นจะเสียค่าบริการเต็มจำนวน

นี่คือขั้นตอนการตรวจสภาพรถยนต์ที่ ตรอ. ผู้ใช้รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์สามารถเลือกนำรถไปตรวจสภาพประจำปีก่อนต่อภาษี ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการดูแลรักษารถและรับผิดชอบต่อความปลอดภัยบนท้องถนน 

บทความที่น่าสนใจ 

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ