ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ทำเองได้ง่ายๆ อัปเดต 2568 Share this

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ทำเองได้ง่ายๆ อัปเดต 2568

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 17 December 2567

ต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ หรือ ประกันภัยภาคบังคับ ใช้เอกสารอะรไบ้าง ซื้อได้ที่ไหน ทำยังไง เสียเงินเท่าไร หากขาดต่อ 1 ปี หรือเกิน 1 ปีต้องทำอย่างไร ไปดูกัน


ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ หรือ ประกันภัยภาคบังคับ เป็นกฎหมายที่บังคับให้เจ้าของรถทุกคันต้องทำประกันภัย เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เป็นลักษณะของประกันอุบัติเหตุภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี หากไม่มีการต่อ พ.ร.บ.ถือว่ามีโทษตามกฎหมายปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และต้องเสียค่าปรับย้อนหลังเดือนละ 1% ทุกเดือน อีกทั้งหากปล่อยให้พ.ร.บ ขาดเกิน 2 ปี มีสิทธิ์ที่จะถูกระงับทะเบียนรถคันนั้นได้ ฉะนั้นควรตรวจสอบวันหมดอายุของพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อต่ออายุให้ทันเวลาและได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง

เอกสารที่ใช้ ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง?

สถานที่ซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

ทำยังไงถ้าต่อพ.ร.บ.จักรยานยนต์ที่ 7-11

อัตราค่าธรรมเนียม ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เท่าไหร่หากขาดต่อ 1 ปี

อัตราค่าธรรมเนียม ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เท่าไหร่ หากขาดต่อเกิน 1 ปี

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

เอกสารที่ใช้ ต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง?

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้
  • ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถจักรยานยนต์อายุที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้น)

ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้ว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน จะต้องมีการตรวจสภาพมอเตอร์ไซค์ก่อนการต่อพ.ร.บ. ทุกครั้ง หากไม่มีการตรวจสภาพก็จะไม่สามารถต่อภาษีประจำปีได้ ซึ่งการต่อภาษีเป็นการยืนยันว่ารถคันดังกล่าวนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่รถเถื่อน 

สถานที่ซื้อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

  • กรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • ไปรษณีย์ไทย
  • ตัวแทนหรือโบรกเกอร์ประกันภัย

(ปัจจุบัน สามารถซื้อผ่านทางออนไลน์ หลายบริษัทประกันภัยมีเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ให้บริการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้สะดวกสบาย)

ทำยังไงถ้าต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ที่ 7-11

เอกสารที่ต้องนำไป ต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ที่ 7-11

  1. สำเนาเล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ 
  2. บัตรประชาชนตัวจริง
  3. เบอร์โทรศัพท์

ขั้นตอนต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ที่ 7-11

  1. นำสำเนาเอกสารไปที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-11 ทุกสาขา
  2. แจ้งพนักงานว่ามาดำเนินการเรื่องใด ต่อพ.ร.บ.จักรยานยนต์
  3. เสียบบัตรประชาชนที่เครื่อง เพื่อสแกนข้อมูล และถ่ายรูปยืนยันตัวตน
  4. ชำระเงิน แล้วรอรับเอกสาร

สถานที่ซื้อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ที่ไหนบ้าง

อัตราค่าธรรมเนียม ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เท่าไหร่หากขาดต่อ 1 ปี

อัตราค่าต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดและประเภทของรถจักรยานยนต์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  • รถจักรยานยนต์เครื่องไม่เกิน 75 ซีซี ต่อ พ.ร.บ. รถ ราคา 161.57 บาท
  • รถจักรยานยนต์เครื่อง 75-125 ซีซี ต่อ พ.ร.บ. รถ ราคา 323.14 บาท
  • รถจักรยานยนต์เครื่อง 125-150 ซีซี ต่อ พ.ร.บ. รถ ราคา 430.14 บาท
  • รถจักรยานยนต์เครื่อง 150 ซีซีขึ้นไป ต่อ พ.ร.บ. รถ ราคา 645.12 บาท

ต่อพ.ร.บ.จักรยานยนต์

อัตราค่าธรรมเนียม ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เท่าไหร่ หากขาดต่อเกิน 1 ปี

หากขาดต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เกิน 1 ปี จะต้องเสียค่าปรับภาษีรถจักรยานยนต์ย้อนหลังเดือนละ 1% ในทุก ๆ เดือน ซึ่งตามปกติแล้วเราจะต้องต่อ พ.ร.บ. พร้อมกับเสียภาษีอยู่แล้ว โดยภาษีรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลทุกรุ่นทุกประเภท คันละ 100 บาท ก็คือเสียค่าปรับเดือนละ 1 บาท โดยใน 1 เดือนแรกหรือ 30 วันหลัง พ.ร.บ. หมดอายุจะยังไม่เสียค่าปรับ

ดังนั้นหากปล่อยให้ พ.ร.บ.ขาดนาน เมื่อต้องการต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ราคาค่าปรับก็จะทบมากขึ้นตามจำนวนเดือน หาก พ.ร.บ. หมดอายุหรือขาดต่อมากเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป ทะเบียนรถจักรยานยนต์จะถูกระงับ จำเป็นจะต้องไปยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่อีกรอบก่อนที่จะไปยื่นขอต่อ พ.ร.บ.

ตราค่าธรรมเนียม ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เท่าไหร่ หากขาดต่อเกิน 1 ปี

บทความที่น่าสนใจ 

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ