Mild hybrid (MHEV) คืออะไร จริงนั่นคือหนึ่งในประเภทของรถยนต์ไฮบริด ซึ่งแท้จริงแล้วรถไฮบริดมี 3 ประเภทหลักๆ ทั้งFull hybrid (FHEV) , Mild hybrid (MHEV) และ Plug-in hybrid (PHEV) เราขอโฟกัสแค่ Mild hybrid (MHEV)
Mild hybrid (MHEV) คืออะไร เหตุใด BOI สนับสนุน
MHEV ลักษณะคล้ายกับ Full hybrid คือ มีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน และมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ แต่จะไม่สามารถทำงานแยกกันได้แบบอิสระ นั่นเป็นเพราะว่ามอเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่นั่นมีขนาดเล็ก รวมถึงแบตเตอรี่ก็มีขนาดเล็กอีกด้วย ทำให้เวลาใช้งานไม่สามารถขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้
ลักษณะการทำงานของระบบไฮบริดจะเป็นการเสริมกำลังในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์เท่านั้น โดยเฉพาะช่วงออกตัว ให้รถสามารถออกตัวได้ดียิ่งขึ้น ประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้รถไฮบริดบางรุ่นยังออกแบบให้เวลารถจอดหยุดนิ่งเครื่องยนต์จะดับ และเมื่อออกตัวเครื่องยนต์จะติดอีกครั้ง เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันนั่นเอง และแน่นอนว่ารถไฮบริดประเภทนี้ก็จะมีการแปลงพลังงานขณะลดความเร็ว และเบรคกลับไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้เช่นกัน
ข้อดีของรถ MHEV มีอะไรบ้าง
ข้อดีของรถ MHEV จะเหมือนรถไฮบริด คือ ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์สันดาปภายในและมอเตอร์ไฟฟ้า
- ประหยัดน้ำมัน
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- สมรรถนะการขับขี่ที่ดี
- เทคโนโลยีทันสมัย
- ค่าเสื่อมต่ำ
- ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
ข้อเสียของรถ MHEV มีอะไรบ้าง
- ราคาสูงกว่ารถยนต์ทั่วไป เนื่องจากเทคโนโลยีที่ซับซ้อนกว่า
- ค่าบำรุงรักษาสูงกว่า เนื่องจากต้องใช้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และอะไหล่บางชิ้นมีราคาแพง
- แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฮบริดมีอายุการใช้งานจำกัด หากถึงอายุการใช้งานอาจต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
- ตัวเลือกในการซ่อมบำรุงจำกัด ทำให้ต้องนำรถเข้าศูนย์บริการของผู้ผลิตโดยเฉพาะ
- ระบบของรถยนต์ไฮบริดมีความซับซ้อนมากกว่ารถยนต์ทั่วไป ทำให้การแก้ไขปัญหาอาจใช้เวลานานกว่า
- ระยะทางวิ่งด้วยไฟฟ้าล้วนมีจำกัด ไม่เหมาะสำหรับการเดินทางไกล
- รถยนต์ไฮบริดมีน้ำหนักมากกว่ารถยนต์ทั่วไป ทำให้การประหยัดน้ำมันอาจไม่มากเท่าที่คิดในบางสถานการณ์
บีโอไอสนับสนุนรถ MHEV เพราะอะไร
เมื่อเร็วๆนี้ บีโอไอได้ออกมาตรการสนับสนุน MHEV เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า จึงได้เห็นชอบการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารขนาดที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบ HEV และ MHEV ซึ่งผลิตในประเทศ
ในส่วนมาตรการสนับสนุนรถยนต์ MHEV ซึ่งเป็นรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า โดยมีแรงดันไฟฟ้าในการขับเคลื่อนต่ำกว่า 60 โวลต์ และอาศัยเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเซกเมนต์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการผลิตในระดับโลก ได้กำหนดภาษีสรรพสามิตในอัตราคงที่ ตั้งแต่เริ่มใช้โครงสร้างภาษีใหม่ เป็นเวลา 7 ปี (พ.ศ. 2569 – 2575) โดยมีอัตราและเงื่อนไขการลงทุน ดังนี้
1. ต้องมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สูงสุดไม่เกิน 120 g/km
- การปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 g/km กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตร 10%
- การปล่อย CO2 ตั้งแต่ 101 – 120 g/km กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิต 12%
2. ต้องมีการลงทุนในไทยเพิ่มเติม โดยผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทในเครือ ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ระหว่างปี 2567 - 2569 และไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ระหว่างปี 2567- 2571
3. ต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ โดยต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศตั้งแต่ปี 2569 และต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญ ได้แก่ Traction Motor หรือชิ้นส่วนที่มีลักษณะการทำงานเพื่อเสริมแรงขับเคลื่อน ตั้งแต่ปี 2571 เป็นต้นไป
4. ต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ (ADAS) อย่างน้อย 4 จาก 6 ระบบ เช่นเดียวกับเงื่อนไขของ HEV
ที่มา คณะกรรมการพลังงานหอการค้าไทย, บีโอไอ
บทความที่น่าสนใจ
- ลืมต่อภาษีรถยนต์-ทะเบียนขาด ต้องทำยังไงบ้าง
-
รถไม่มีพ.ร.บ. หรือประกันภัย หากเกิดอุบัติเหตุ ต้องทำอย่างไร?
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
ความคิดเห็น