ทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ครั้งแรกต้องทำอย่างไร? ใช้เอกสารอะไรบ้าง? ขั้นตอนการทำใบขับขี่ที่ขนส่งเป็นยังไง? คำตอบอยู่ในนี้ มาพร้อมแนวข้อสอบใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่จะช่วยให้คุณสอบผ่านฉลุย!
ทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ครั้งแรกต้องทำยังไงบ้าง
สำหรับผู้ทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ครั้งแรก สามารถเลือกได้ 2 วิธี ดังนี้
1. เรียนกับโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง
วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการ ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ด่วน! เริ่มเรียนได้ทันที ไม่ต้องจองคิว ซึ่งโรงเรียนสอนขับรถจะมีบริการฝึกหัดขับรถ จัดอบรม ทดลองทำข้อสอบ พร้อมทดสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เมื่อเรียนจบแล้วจะออกใบรับรองให้นำไปยื่นทำใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่ง โดยราคาหลักสูตรรถจักรยานยนต์ของโรงเรียนสอนขับรถส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1,000 บาท
2. เรียนรู้ด้วยตนเองและสอบที่กรมการขนส่ง
วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่อยากประหยัดค่าใช้จ่ายในการสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้ทำใบขับขี่เรียนรู้ภาคทฤษฎี ฝึกทำข้อสอบ และฝึกซ้อมขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ชำนาญและคุ้นเคยกับท่าขับขี่ต่าง ๆ เมื่อมั่นใจแล้วจึงจองคิวเพื่ออบรม ทดสอบภาคทฤษฎี และทดสอบปฏิบัติ ที่สำนักงานขนส่งได้เลย
สอบใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ออนไลน์ได้ไหม
ปัจจุบันยังไม่สามารถทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านระบบออนไลน์ได้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) อนุญาตให้ จองคิวอบรมและทำใบขับขี่สากลผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น
คุณสมบัติผู้ขอทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
- ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
- ไม่อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
ขั้นตอนการทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ด้วยตนเอง ที่กรมการขนส่ง
1. อ่าน e-Book คู่มืออบรมใบขับขี่
ก่อนทำใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ คุณต้องอ่าน คู่มืออบรมใบขับขี่ เพื่อเตรียมตัวสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งในคู่มือจะประกอบไปด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับรถ การขับรถอย่างปลอดภัย จิตสำนึกและมารยาทในการขับรถ และข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เมื่อพร้อมที่จะสอบใบขับขี่มอเตอร์ไซค์แล้ว ให้ดำเนินการขั้นต่อไป
2. จองคิวอบรมทำใบขับขี่ผ่านแอป DLT Smart Queue
สำหรับผู้ทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ครั้งแรก ให้ดาวน์โหลดแอป DLT Smart Queue พร้อมกับลงทะเบียน เมื่อสมัครเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งให้ยืนยันตัวตนผ่านแอป ThaID ก่อนเข้าระบบจองคิวทำใบขับขี่ เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้ว ให้จองคิวตามขั้นตอนต่อไปนี้
- เลือกสำนักงานขนส่งที่สะดวก
- เลือกประเภทบริการ ‘งานใบอนุญาต’
- เลือกประเภทใบอนุญาตขับรถ (รถส่วนบุคคล, รถสาธารณะ, พรบ. ขนส่ง)
- ทำใบอนุญาตขับรถใหม่
- เลือกประเภทยานพาหนะ รถจักรยานยนต์
- ปะเภทงาน ขอรับใบอนุญาตส่วนบุคคลใหม่
- เลือกวันเวลาที่ต้องการใช้บริการ
- ยืนยันการจอง
3. เตรียมเอกสารทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์
หลังจากจองคิวอบรมทำใบขับขี่เสร็จแล้ว ให้เตรียมเอกสารเหล่านี้เพื่อยื่นกับเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งในวันที่ไปอบรม
- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง
- ใบรับรองแพทย์ มีอายุไม่เกิน 1 เดือน
4. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
การทดสอบสมรรถภาพร่างกายเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถของผู้ขับขี่ในการควบคุมรถอย่างปลอดภัย โดยจะมีการทดสอบสมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับการขับรถโดยตรง ได้แก่
- ทดสอบสายตาบอดสี
- ทดสอบสายตาทางลึก
- ทดสอบสายตาทางกว้าง
- ทดสอบปฏิกิริยาทางเท้า
5. อบรมทำใบขับขี่ 5 ชั่วโมง
หลังจากทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายผ่าน คุณต้องเข้ารับการอบรมทำใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ที่สำนักงานขนส่งที่คุณจองคิวไว้ ใช้เวลาอบรม 5 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
- ช่วงเช้า (9.30 – 12.00 น.)
- ช่วงบ่าย (13.00 – 15.30 น.)
ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ 2568 อบรมออนไลน์ได้ไหม
การทำใบขับขี่ใหม่ ไม่ว่าจะรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์จะไม่สามารถอบรมออนไลน์ได้ เว้นแต่ว่าจะเป็นการต่อใบขับขี่ ถึงจะสามารถอบรมใบขับขี่ออนไลน์ได้
6. สอบข้อเขียน
ผู้สอบใบขับขี่ต้องทำข้อสอบจำนวน 50 ข้อ ภายในระยะเวลา 60 นาที ส่วนสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ทดสอบอะไรบ้างนั้น ข้อสอบจะมีหลายหมวดหมู่ ดังนี้
- กฎหมายว่าด้วยรถยนต์
- กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
- สัญญาณ
- เครื่องหมายบนพื้นทาง-ขอบทาง
- ป้ายบังคับ
- ป้ายเตือน ป้ายแนะนำ
- การบำรุงรักษารถ
- การขับรถอย่างปลอดภัย
- จิตสำนึกและมารยาทในการขับรถ
- รูปภาพกฎหมายจราจร
สามารถฝึกทำข้อสอบเสมือนจริงแต่ละหมวดหมู่ได้ที่ safedrivedlt.com
หากสอบข้อเขียนไม่ผ่านสามารถกลับมาสอบใหม่ กำหนดเวลาไว้ไม่เกิน 90 วัน
สอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ผิดได้กี่ข้อ
สอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ผิดได้แค่ 5 ข้อ ผู้สอบต้องทำคะแนนให้ได้อย่างน้อย 45 ข้อ หรือ 90% ขึ้นไป จึงจะถือว่าสอบผ่าน
ข้อสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์เหมือนกับรถยนต์ไหม
ในส่วนของข้อสอบภาคทฤษฎีหรือข้อเขียน รถจักรยานยนต์กับรถยนต์จะใช้ชุดข้อสอบเดียวกัน แตกต่างกันในส่วนของการสอบภาคปฏิบัติเท่านั้น
7. สอบปฏิบัติ
หลังจากสอบข้อเขียนผ่าน ขั้นตอนต่อไปคือการสอบปฏิบัติเพื่อประเมินทักษะและความสามารถในการขับขี่อย่างปลอดภัย แนะนำให้เอารถจักรยานยนต์ไปเองเพราะคุ้นชินมากกว่า ขนาดความจุกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 110 ลูกบาศก์เซนติเมตร และต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและถูกต้องตามกฎหมายกำหนด
สอบปฏิบัติใบขับขี่รถจักรยานยนต์ 2568 มีกี่ท่า
การสอบปฏิบัติใบขับขี่รถจักรยานยนต์จะมีทั้งหมด 5 ท่า ได้แก่
- ขับรถจักรยานยนต์โดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
- ขับรถจักรยานยนต์ ทรงตัวบนทางแคบ ทรงตัวไว้โดยไม่ให้เท้าแตะพื้นประมาณ 10 วินาที
- ขับรถจักรยานยนต์ซิกแซกเข้าโค้งแคบ รูปตัว Z ห้ามชนกรวยล้ม
- ขับรถจักรยานยนต์เข้าโค้ง รูปตัว S ห้ามชนกรวยล้ม
- ขับรถจักรยานยนต์ซิกแซก หลบสิ่งกีดขวาง
สอบใบขับขี่ไม่ผ่านทำไง
กรณีเจ้าหน้าที่บันทึกผลและออกใบนัดทดสอบครั้งต่อไปให้ โดยนำใบนัดไปจองคิวทดสอบขับรถใหม่
6. ถ่ายรูปและรับใบขับขี่ Smart Card
เมื่อสอบผ่านทั้งข้อเขียนและปฏิบัติ เจ้าหน้าที่เรียกชื่อชำระค่าธรรมเนียมและถ่ายรูปทำใบขับขี่ (ปิดรับชำระเงิน 15.30 น.)
ใบขับขี่ที่ได้จะเป็นแบบ Smart Card ที่ฝังชิปอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในบัตร เพื่อเก็บข้อมูลสำคัญของผู้ขับขี่ เช่น ชื่อ ที่อยู่ ประวัติการขับขี่ คะแนนสะสม หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ขนส่งแนะนำให้โหลดแอปพลิเคชัน DLT QR Licence เพื่อเปิดใช้งานใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่ลืมใบขับขี่หรือหาบัตรไม่เจอ พร้อมกับแนะให้ลงทะเบียนแอปฯ ขับดี สำหรับเช็กคะแนนใบขับขี่ด้วย
ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ เสียกี่บาท 2568
ค่าธรรมเนียมทำใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ราคา 105 บาท แบ่งเป็น
- ค่าคำขอ 5 บาท
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 100 บาท
ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ 2568 ใช้เวลากี่วัน
การทำใบขับขี่ใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ใช้เวลาประมาณ 2 วัน
วันแรก
- ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย
- อบรม 5 ชั่วโมง
- สอบข้อเขียน 50 ข้อ
วันที่สอง
- สอบปฏิบัติขับรถ
- ออกใบอนุญาตขับรถ
ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ 2568 Walk in ได้ไหม
โดยปกติกรมการขนส่งจะให้บริการผู้ที่จองคิวล่วงหน้าเป็นอันดับแรก ส่วนผู้ที่ Walk-in หรือไม่ได้จองคิวมาจะเข้ารับบริการในลำดับถัดไป ซึ่งต้องบอกว่าคิวที่คนจองไว้ยาวมาก ต้องจองวันล่วงหน้าถึง 2 เดือน ดังนั้นโอกาส Walk-in แล้วเสียเที่ยวจึงค่อนข้างสูง จองคิวล่วงหน้าไว้ก่อน ชัวร์ที่สุด
สามารถดูวิธีจองคิวเพิ่มเติมได้ที่ จองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ ผ่านแอป DLT Smart Queue
สอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์มีข้อสอบอะไรบ้าง
เนื่องจากข้อสอบใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์กับรถยนต์ใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน ดังนั้นจึงมีบางข้อที่เป็นคำถามเกี่ยวกับรถยนต์ ผู้ทดสอบจึงต้องเตรียมตัวทำแนวข้อสอบล่วงหน้า โดยตัวอย่างข้อสอบที่จะออกมีดังนี้
1. รถจักรยานยนต์ที่มีอายุครบกี่ปีต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
- 2 ปี
- 5 ปี
- 3 ปี
- 1 ปี
2. ผู้ขับรถที่ดื่มสุราเมื่อวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจจะต้องไม่เกินเท่าใด
- ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
- ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
- ไม่เกิน 60 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
- ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
3. เมื่อพบเครื่องหมายนี้ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร?
- ให้ผู้ขับขี่ขับรถอย่างรวดเร็ว
- ให้หยุดรถก่อนถึงแนวเส้นแนวหยุดทุกครั้ง
- ให้ผู้ขับขี่ ขับรถให้ช้าลง แล้ว แซงได้
- ให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วลง และรีบเร่งเครื่องไปก่อน
4. การเข้าเกียร์ถอยหลังขณะรถยังไม่หยุดนิ่งมีผลเสียอย่างไร
- เครื่องยนต์กินน้ำมันเครื่อง
- เข้าเกียร์ยากและทำให้เกียร์เสียเร็วกว่าปกติ
- ไม่มีผลต่อส่วนใดของรถ
- ทำให้น้ำมันเกียร์หมดเร็ว
5. ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
- ในทางที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าไม่ต้องหยุดรอให้รถที่สวนมาผ่านไปได้
- ในทางแคบที่ไม่อาจสวนกันได้ ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่า ต้องหยุดชิดด้านซ้ายให้รถคันที่ใหญ่กว่าไปก่อน
- แซงเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางได้
- ให้ชะลอความเร็วและขับรถชิดด้านซ้าย
6. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในรถยนต์ ข้อใดถูกที่สุด
- ไฟเลี้ยวซ้าย-ขวา
- ไฟหน้าและไฟเลี้ยวซ้ายขวา
- ไฟเลี้ยวซ้าย-ขวาและไฟหน้าสูงต่ำ-ไฟหรี่-ไฟเบรก-ไฟส่องป้ายทะเบียนรถ
- ไฟเบรกและไฟหน้า
7. การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกต้องปฏิบัติอย่างไร
- เมื่อพบป้ายเตือนทางร่วมทางแยกให้ขับรถด้วยความเร็วปกติ
- หากไม่มีสัญญาณไฟจราจร ให้รถคันที่ใหญ่กว่าผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน
- ให้รถที่มีอยู่ในทางร่วมทางแยกขับผ่านไปก่อน
- เมื่อพบป้ายเตือนสัญญาณไฟบริเวณทางร่วมทางแยกให้ขับรถไปตามปกติ
8. จากภาพเครื่องหมายแบ่งช่องจราจรบนพื้นทาง หมายความว่าอย่างไร?
- ห้ามผู้ขับขี่แซงเข้าไปในทางเดินรถทางขวา
- ให้ผู้ขับขี่กลับรถได้
- ให้ผู้ขับขี่จอดรถได้
- ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวขวาได้
10. เมื่อพบเครื่องหมายนี้ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร?
- รถมีคนนั่ง 2 คน เข้าไปในช่องเดินรถนี้ได้
- รถมีคนนั่งไม่น้อยกว่า 3 คน สามารถใช้ช่องเดินรถนี้ได้
- ห้ามรถมีคนเกิน 3 คน เข้าไปในช่องเดินรถนี้
- รถมีคนนั่ง 1 คน เข้าไปในช่องเดินรถนี้ได้
11. การเปลี่ยนสีรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน
- 15 วัน
- 7 วัน
- 10 วัน
- 20 วัน
12. เครื่องหมายนี้ หมายความว่าอย่างไร?
- ห้ามขับรถตรงไปหรือเลี้ยวขวา
- ให้ขับรถไปทางเดียวด้านซ้าย
- ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา
- เส้นทึบห้ามผ่านหรือคร่อมเส้นทึบ แต่เส้นประอาจแซงได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัย
13. จากภาพ รถบรรทุกกำลังจะตีวงเลี้ยวซ้าย ผู้ขับขี่ควรหยุดรถในบริเวณใดจึงจะปลอดภัย
- ตำแหน่ง A และ C
- ตำแหน่ง C
- ตำแหน่ง B
- ตำแหน่ง A
14. เหตุใดจึงไม่ควรเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำให้เต็มถัง
- เพราะ จะทำให้หม้อน้ำเป็นสนิมมากยิ่งขึ้น
- เพราะ สำรองเนื้อที่การขยายตัวของน้ำเมื่อเกิดความร้อน
- เพราะ น้ำในหม้อน้ำจะร้อนมากยิ่งขึ้น
- เพราะ จะทำให้เครื่องยนต์ชำรุด
15. เมื่อพบเครื่องหมายนี้ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร?
- ให้ผู้ขับขี่ ขับรถให้ช้าลง แล้วแซงได้
- ให้ผู้ขับขี่ขับรถอย่างรวดเร็ว
- ให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วลง และรีบเร่งเครื่องไปก่อน
- ขับรถให้ช้าลง หากเห็นรถคันอื่นหรือคนเดินเท้าในทางขวางหน้า ต้องหยุดรถก่อนถึงแนวเส้นให้ทาง
16. เมื่อพบเครื่องหมายนี้ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร?
- ให้ขับรถแทรกหรือตัดหน้ารถคันอื่นในวงเวียนได้
- ให้รถยนต์ขับรถทางเดียวด้านซ้าย
- ให้รถทุกชนิดขับวนด้านขวาของวงเวียน
- ให้ขับรถวนทางซ้ายของวงเวียนและหยุดให้รถในวงเวียนผ่านไปก่อน
17. เมื่อเกิดอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บ ผู้ขับขี่ควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นอันดับแรก
- การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
- รอประกันภัย
- รอพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- การเคลื่อนย้ายรถที่เกิดเหตุ
18. รถที่ไม่เสียภาษีประจำปีภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มเท่าใด
- ร้อยละ 20 ต่อปี
- ร้อยละ 10 ต่อเดือน
- ร้อยละ 1 ต่อเดือน
- ร้อยละ 1 ต่อปี
19. จากภาพ คนขับรถบรรทุกสามารถมองเห็นรถยนต์คัน A หรือไม่
- มองเห็นได้ชัดเจน จากกระจกมองข้างขวา
- มองไม่เห็น เนื่องจากรถยนต์คัน A อยู่ในมุมบอดของรถบรรทุก
- มองเห็นได้ชัดเจน จากกระจกมองหลัง
- มองเห็นได้ชัดเจน จากกระจกมองข้างซ้าย
20. การหยุดรถอย่างกะทันหันสำหรับรถที่ไม่ติดตั้งระบบเบรก ABS ควรปฏิบัติอย่างไร
- เหยียบและปล่อยเบรกสลับกัน (ย้ำเบรกซ้ำๆ)
- เหยียบเบรกและคลัทช์พร้อมกัน
- เหยียบเบรกแรงๆโดยไม่ต้องถอนเบรก
- เหยียบคลัทช์ก่อน แล้วจึงเหยียบเบรก
21. ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมีอายุกี่ปี
- 5 ปี
- 1 ปี
- 3 ปี
- 2 ปี
22. ผู้ใดไม่มีหน้าที่ให้สัญญาณจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
- คนเดินเท้า
- ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
- ผู้ขับขี่รถยนต์
- พนักงานจราจร
23. ในการบรรทุกสิ่งของ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
- บรรทุกยื่นพ้นตัวรถด้านหลังไม่เกิน 2.50 เมตร
- บรรทุกยื่นพ้นตัวรถด้านหน้าไม่เกิน 2.50 เมตร
- บรรทุกสูงโดยวัดจากสิ่งของที่บรรทุกได้เกิน 5 เมตร
- บรรทุกได้กว้างกว่าความกว้างของตัวรถข้างละ 1 เมตร
24. การปรับระดับที่นั่งคนขับห่างเกินไป จะมีผลอย่างไร
- บังคับพวงมาลัยลำบาก ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่สะดวก
- ทำให้เบรกรถสะดวก
- ทำให้เข้าเกียร์ได้ง่าย
- ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นชัดเจนดีมาก สามารถตัดสินใจได้ดี
25. การจอดรถทางลงลาดชัน ล้อหน้าควรอยู่ในลักษณะใด
- หันออกจากขอบทาง
- ตรงและขนานกับขอบทางหรือฟุตบาต
- หันเข้าหาขอบทาง
- อยู่อย่างไรก็ได้
26. ผู้ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับรถ มีความผิดอย่างไร
- จำคุกไม่เกิน 1 ปี
- จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
27. การจอดรถต้องจอดให้ห่างจากขอบทางไม่เกินกี่เซนติเมตร
- ห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร
- ห่างไม่เกิน 35 เซนติเมตร
- ห่างไม่เกิน 30 เซนติเมตร
- ห่างไม่เกิน 40 เซนติเมตร
28. ขณะขับรถตรวจพบแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมีโทษอย่างไร
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 1,000 ถึง 50,000 บาท
- ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- จำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
29. ถ้าจะเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำไม่ควรเติมน้ำชนิดใด
- น้ำประปา
- น้ำกลั่น
- น้ำฝน
- น้ำบาดาล
30. สัญญาณเสียงแตรใช้ได้เมื่อใด
- ใช้ได้เมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
- ใช้ได้เมื่อรถคันหน้าขับช้า
- ใช้ได้ตามสะดวก
- ใช้ตลอดเวลา
31. เครื่องหมายนี้ คือเครื่องหมายอะไร?
- ห้ามแซง
- เริ่มต้นทางด่วน (ทางหลวงพิเศษ)
- สะพานลอยคนข้าม
- ห้ามกลับรถ
32. เมื่อพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาด้านใดของเจ้าพนักงานจราจรต้องหยุดรถ
- ด้านหน้าและด้านหลัง
- ด้านข้าง
- ด้านหลัง
- ด้านหน้า
33. ในการให้สัญญาณไฟเลี้ยว จะต้องให้ผู้ขับรถคันอื่นเห็นได้ในระยะเท่าใด
- ไม่น้อยกว่า 60 เมตร
- ไม่น้อยกว่า 30 เมตร
- ไม่น้อยกว่า 15 เมตร
- ไม่น้อยกว่า 10 เมตร
34. ผู้ขับขี่ต้องการกลับรถต้องปฏิบัติอย่างไร
- กลับรถช่องทางไหนก็ได้
- เข้าช่องทางให้ถูกต้องและให้กลับรถได้เมื่อปลอดภัย
- กลับรถในบริเวณที่คับขัน
- กลับรถที่บริเวณเส้นทะแยงเหลือง
35. บริเวณใดแซงได้
- ทางโค้งรัศมีแคบ
- บนพื้นทางที่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
- ทางร่วมทางแยก
- สะพานเดินรถทางเดียว
36. ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารใดใช้คู่กับใบอนุญาตขับรถ
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ
- บัตรประกันสังคม
- สำเนาทะเบียนบ้าน
37. ผู้ใดได้รับยกเว้นไม่ต้องสวมหมวกนิรภัยขณะโดยสารรถจักรยานยนต์
- คนขับรถ
- เด็ก
- คนโดยสาร
- ภิกษุ สามเณร
38. เขตปลอดภัย หมายความว่าอย่างไร
- พื้นที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้ผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัยขับต่อไปได้
- เขตที่คนเดินเท้าสามารถข้ามทางได้โดยไม่ต้องหยุดรอ
- เขตที่ผู้ขับขี่สามารถนำรถผ่านเข้าไปได้
- พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลาสำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอ หรือให้คนที่ขึ้นหรือลงจากรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
39. เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้ขับขี่หลบหนีจะมีผลอย่างไร
- จะได้รับการกันไว้เป็นพยาน
- มีผลให้เป็นฝ่ายถูก
- ไม่มีผล เพราะไม่ใช่ฝ่ายผิด
- ให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิด
40. บริเวณใดสามารถกลับรถได้
- บริเวณบนสะพาน
- เขตปลอดภัย
- ในระยะเกินกว่า 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
- ทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ
41. ถ้ารถเสียหลักลื่นไถลพร้อมเสียการทรงตัวควรปฏิบัติอย่างไรเป็นลำดับแรก
- ลดความเร็วจับพวงมาลัยให้มั่น
- หมุนพวงมาลัยไปซ้ายบ้างขวาบ้าง
- รีบเข้าเกียร์ต่ำเพื่อชะลอความเร็ว
- ค่อยๆ เหยียบแป้นคลัทช์
42. เมื่อผู้ขับขี่ผ่านรถจอดข้างถนน สิ่งใดที่ผู้ขับควรระวัง
- สัญญาณกันขโมยดังขึ้น
- ถูกทุกข้อ
- ประตูรถของคันที่จอดอยู่เปิดออกกะทันหัน
- มุมอับจากข้างหลังรถที่จอดอยู่
43. สาเหตุใดที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
- ขับรถจี้ท้ายรถคันหน้า
- ขับรถตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด
- ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
- แซงในที่ห้ามแซง
44. มารยาทที่ดีในการจอดรถ ควรปฏิบัติอย่างไร
- จอดไม่กีดขวางผู้อื่นและไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร
- จอดบริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอด
- จอดรถขวางทางเข้า-ออก
- จอดรถซ้อนคัน
45. ผู้ขับขี่ ก ต้องการเลี้ยวขวาและมีรถทางตรงวิ่งสวนมา จะต้องปฏิบัติอย่างไร
- หยุดรถให้รถทางขวามือผ่านไปก่อนจึงเลี้ยวขวาได้
- หยุดรอให้รถทางตรงสวนมาก่อนจึงเลี้ยวขวาได้
- เลี้ยวได้ทันที
- ห้ามเลี้ยวรถ
46. รถยนต์ที่มีอายุครบกี่ปีต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
- 5 ปี
- 7 ปี
- 6 ปี
- 3 ปี
47. เมื่อใบอนุญาตขับรถสูญหายหรือชำรุดต้องยื่นขอรับใบแทนต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน
- 15 วัน
- 20 วัน
- 45 วัน
- 30 วัน
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง one2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
ความคิดเห็น