นิสสัน ฟื้นธุรกิจเป้าหมายลดต้นทุนลงประมาณ 400,000 ล้านเยน ปีงบประมาณ 2026 ลดพนักงานประจำสำนักงาน (indirect employees) ทั่วโลก 2,500 คน ลดกำลังการผลิตทั่วโลกลง 20% รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายสายการผลิต ปรับรูปแบบการทำงานแบบกะ
นิสสันเดินหน้ามาตรการฟื้นฟู
มาโกโตะ อูชิดะ ประธานและซีอีโอของนิสสัน (Makoto Uchida - President and CEO) กล่าวว่า "นิสสันมีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการดำเนินการพลิกฟื้นธุรกิจ โดยมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนลงประมาณ 400,000 ล้านเยน เราทุ่มเทเพื่อให้บรรลุโครงสร้างต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ขับเคลื่อนการเติบโตของรายได้รวมผ่านผลิตภัณฑ์ที่มี สามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าของเรา เรากำลังดำเนินการพลิกฟื้นธุรกิจโดยเน้นที่ประสิทธิภาพ และการเติบโตด้วยความเร็วมุ่งสู่จุดหมายของบริษัทฯ"
เป้าหมายสำหรับปีงบประมาณ 2026
นิสสันวางแผนที่จะปรับโครงสร้างต้นทุนให้เหมาะสม ลดต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปรลง รวมประมาณ 400,000 ล้านเยน ในปีงบประมาณ 2026 ซึ่งจะสามารถลดจุดคุ้มทุนในธุรกิจในปีงบประมาณ 2026 จาก 3.1 ล้านหน่วย เหลือ 2.5 ล้านหน่วย ซึ่งจะทำให้มีกำไรจากการดำเนินงานที่มั่นคงอยู่ที่ 4%ในด้านของต้นทุนคงที่นั้น มีเป้าหมายที่จะประหยัดได้กว่า 200,000 ล้านเยน จากค่าใช้จ่ายในการขาย และการบริหารทั่วไป (SG&A) ประมาณ 100,000 ล้านเยน จากการปรับโครงสร้างฐานการผลิต และประมาณ 30,000 ล้านเยน จากการพัฒนาประสิทธิภาพด้านต่างๆ
นิสสันวางแผนที่จะลดพนักงานประจำสำนักงาน (indirect employees) ทั่วโลก 2,500 คนโดยการปรับกระบวนการทำงาน ลดการจ้างงาน และเร่งรัดโปรแกรมออกจากงานโดยสมัครใจ นิสสันจะลดต้นทุนแรงงานต่อหน่วยด้วยมาตรการเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการขยายการทำงานที่สามารถใช้พนักงานร่วมกันระหว่างแผนกกว่า 1,000 ตำแหน่ง และให้ความสำคัญกับค่าใช้จ่ายด้านการตลาดคงที่
นิสสันตั้งเป้าที่จะลดค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000 ล้านเยน ด้วยการรวมสายการผลิต ปรับรูปแบบการทำงานแบบกะ และการโอนงาน โดยเริ่มจากโรงงานสามแห่งในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2025 ได้แก่ โรงงานที่เมือง Smyrna และ เมือง Canton ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงโรงงานในประเทศไทย การปรับขนาดให้เหมาะสมนี้ จะช่วยลดจำนวนพนักงานในโรงงานผลิตยานยนต์ และผลิตเครื่องยนต์ลงถึง 5,300 คนในปีงบประมาณ 2025
และ 1,200 คนในปีงบประมาณ 2026 ส่งผลให้มีพนักงานลดลงทั้งหมด 6,500 คน การประหยัดการผลิตเหล่านี้จะเสริมด้วยประสิทธิภาพด้านวิศวกรรม และการดำเนินงานใหม่ รวมถึงการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน (Capital expenditures - CAPEX) และต้นทุนในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์
ลดกำลังการผลิตทั่วโลกลง 20%
นิสสันมีแผนที่จะลดกำลังการผลิตทั่วโลกลง 20% และปรับปรุงกำลังคนด้านการผลิตให้เหมาะสมในปีงบประมาณ 2026 ซึ่งรวมถึงการลดกำลังการผลิตที่ดำเนินการแล้วในจีนจาก 1.5 ล้านหน่วย เหลือ 1 ล้านหน่วย โดยจะผสานความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะลดกำลังการผลิตจาก 3.5 ล้านหน่วย เหลือ 3 ล้านหน่วยสำหรับโรงงานที่อยู่นอกประเทศจีน และเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานจาก 70% ในปีงบประมาณ 2024 เป็น 85% ในปีงบประมาณ 2026 ทั้งนี้เมื่อรวมโรงงานผลิตในประเทศจีน นิสสันตั้งเป้าที่จะลดกำลังการผลิตทั่วโลกจาก 5 ล้านหน่วย ในปัจจุบัน เหลือ 4 ล้านหน่วย ภายในปีงบประมาณ 2026
นิสสันตั้งเป้าลดต้นทุนประมาณ 30,000 ล้านเยนผ่านการพัฒนาประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แนวคิดการพัฒนาแบบครอบคลุมทั้งกระบวนการจะช่วยลดระยะเวลาในการนำเสนอสินค้าออกสู่ตลาด และลดต้นทุนการพัฒนา ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และลดต้นทุนได้ประมาณ 20,000 ล้านเยน แนวทางแบบบูรณาการนี้จะนำไปใช้กับโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ โดยจะได้รับประโยชน์ตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป รถยนต์รุ่นแรกที่ใช้กระบวนการนี้จะเปิดตัวในปีงบประมาณ 2026
ลดต้นทุนผันแปรให้ได้ 100,000 ล้านเยน
นิสสันตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนที่เกิดจากการออกแบบลง 60,000 ล้านเยน โดยเริ่มจากการลดความซับซ้อนของการออกแบบ (ปรับประสิทธิภาพ และเนื้อหาของรถยนต์) ในผลิตภัณฑ์หลัก 6 รายการ ทั่วโลก เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการด้านการผลิต ได้แก่ การลดความซับซ้อนของชิ้นส่วนลงมากถึง 70% การปรับปรุงการวางแผนการผลิตเพื่อขจัดความไม่มีประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน และลดต้นทุนในคลังสินค้า และการเพิ่มประสิทธิภาพในขณะที่ลดต้นทุนในการจัดเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ด้านการบริการหลังการขาย ด้วยความพยายามร่วมกันต่างๆ เหล่านี้ นิสสันตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนโดยรวมลงประมาณ 100,000 ล้านเยน
เตรียมเปิดตัวรถ plug-in hybrid รุ่นใหม่ในปีงบประมาณ 2025-2026
เพื่อให้แน่ใจว่ารายได้จะเติบโต นิสสันจะจัดหาชุดของผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้งเทคโนโลยีที่แตกต่างกันซึ่งสามารถปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าทั่วโลก ในปีงบประมาณ 2024 นิสสันได้ปรับปรุงกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันหลากหลาย เช่น Qashqai, Juke, Kicks, Armada, Note, Patrol, Magnite, QX80 และ Murano โดยแต่ละรุ่นได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า และต้องสามารถส่งมอบในปริมาณที่ทำกำไรได้ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่แตกต่างกัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริษัทจะเปิดตัวรถยนต์แบบปลั๊กอินไฮบริด (plug-in hybrid) รุ่นใหม่ในปีงบประมาณ 2025 และ 2026 รวมทั้งปรับปรุงรถยนต์แบบมินิแวนรุ่นที่ได้รับรางวัล และมินิแวนขนาดใหญ่ นอกจากนี้ นิสสันยังจะเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ด้วยรถยนต์รุ่น LEAF ใหม่ ไปจนถึงรถยนต์คอมแพคไฟฟ้ารุ่นใหม่ และรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV) รุ่นใหม่ ที่มุ่งเป้าไปที่ตลาดของประเทศจีน
การมีส่วนสนับสนุนต่อการเติบโตที่ทำกำไรได้อย่างยั่งยืนนั้นแสดงให้เห็นได้จากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ e-POWER รุ่นที่ 3 (third-generation e-POWER) โดยรถยนต์รุ่น e-POWER รุ่นที่ 3 จะได้รับการปรับปรุงที่สำคัญหลายประการ เช่น ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่ดีขึ้น 20% และต้นทุนที่ลดลง 20% เมื่อเทียบกับรุ่นแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่ความเร็วสูงจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นถึง 15% เมื่อเทียบกับรุ่นที่สอง ทำให้บรรลุประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงระดับสูงสุดในยุโรป และถือเป็นการปรับปรุงที่สำคัญในตลาดของสหรัฐอเมริกา
ผลกำไรในอนาคตของนิสสันยังขึ้นอยู่กับนวัตกรรมทางเทคนิค โดยเน้นที่ยานยนต์อัจฉริยะมากขึ้น ห้องโดยสารอัจฉริยะอันเป็นเอกลักษณ์ และคุณสมบัติช่วยเหลือผู้ขับขี่ต่างๆ จะถูกนำมาใช้ในรุ่นที่วางแผนเปิดตัวภายในปีงบประมาณ 2026 โดยหลังจากนั้น นิสสันตั้งเป้าที่จะทำให้การขับขี่อัตโนมัติแบบ door-to-door กลายเป็นเรื่องธรรมดา และนำเสนอบริการการขับเคลื่อนแบบไร้คนขับในญี่ปุ่น โดยมีแผนจะเปิดตัวในเชิงพาณิชย์ภายในปีงบประมาณ 2027 การผสมผสานระหว่างการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ การขยายตลาด และความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์นี้จะผลักดันการเติบโตของรายได้รวมในปีงบประมาณ 2025 และ 2026 โดยมีแผนจะเพิ่มปริมาณการขายผ่านการเปลี่ยนรุ่น และขยายเข้าสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ
ปรับปรุงการจัดองค์กรการบริหาร และกระบวนการต่างๆ
เพื่อเพิ่มความเร็วในการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูงของนิสสันจะใช้กรอบงานแบบชั้นเดียว โดยลดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงลง 20% และสร้างโอกาสก้าวหน้าให้กับคนรุ่นต่อไปภายในองค์กรที่ปรับปรุงใหม่ และไม่มีขอบเขต
บริษัทจะลดความซับซ้อนของขั้นตอนการบริหาร และขยายขอบเขตการควบคุมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการตัดสินใจ นอกจากนี้ บทบาท และตำแหน่งของผู้บริหารจะได้รับการประเมิน และจัดประเภทใหม่ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจภายใต้ระบบรวมในระดับโลกใหม่
บทความที่น่าสนใจ
- รันอินคืออะไร ออกรถใหม่ต้องรันอินไหม มีผลอย่างไรกับรถบ้าง
- วิธีคำนวณค่าน้ำมัน สูตรคำนวณค่าน้ำมันรถยนต์ กิโลเมตรละกี่บาท
- ฤกษ์ออกรถ 2568 วันไหนวันมงคล ซินแสดังเคาะ วันไหนควรออกรถมากที่สุด
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
ความคิดเห็น