ไม่ใช่แค่ตลาดรถยนต์เท่านั้นที่จะตกและหดตัวลงไปตามภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศ แต่อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์นั้นก็ได้รับผลจากปัจจัยลบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีด้วยเช่นกัน
การปรับตัวของราคาน้ำมันในรอบปีที่ผ่านมา และความผันผวนของราคาพืชผลทางการเกษตร เป็นตัวการหลักที่ทำให้แนวโน้มยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยปีนี้ น่าจะหดตัวลงไปเหลือที่ระดับประมาณ 2 ล้านบาทเท่านั้น
ซึ่งแน่นอนว่าหดตัวลดลงไปจากเป้าประมาณการณ์ในช่วงต้นปี แต่ก็ยังถือเป็นยอดจำหน่ายที่สูงอยู่ โดยเฉพาะเมื่อมองว่าบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ตลาดซบเซาและมีปัจจัยลบเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด
แม้จะไม่มีโครงการรถคันแรกเหมือนฟากรถยนต์ ทำให้ความผันผวนของกำลังซื้้อในปีนี้มีน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่ตลาดรถจักรยานยนต์ในปีนี้ก็ไม่เติบโตแบบเปรี้ยงปร้าง ในกลุ่มรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กสำหรับครอบครัว
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีก็คือเรื่องของราคาพืชผลทางการเกษตร ที่รัฐบาลเองไม่สามารถเดินหน้าโครงการรับประกันราคาพืชผลได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะราคาข้าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในวงกว้าง
ปัจจัยลบทางด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ก็ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยรถจักรยานยนต์เกียร์ธรรมดากลับมาครองส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้สัดส่วนของรถออโตเมติกลดน้อยลงไป
สวนทางกับธุรกิจของเล่นเศรษฐีอย่างบิ๊กไบค์ที่โตวันโตคืน โดยคาดกันว่าในปีนี้น่าจะมียอดจำหน่ายมากกว่า 2 หมื่นคัน ซึ่งจะเห็นการเติบโตได้จากการที่แบรนด์ระดับโลกต่างหลั่งไหลเข้ามาเปิดตัวดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกันอย่างต่อเนื่อง
รวมไปถึงการเดินหน้าเปิดสายการผลิตสำหรับรถบิ๊กไบค์กันมากมาย แม้แต่แบรนด์หรูอย่างบีเอ็มดับเบิลยููที่เป็นข่าวพิจารณาโครงการนี้มา 2-3 ปี หรือซูซูกิ ที่หวังว่ารถบิ๊กไบค์จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพได้ และมีการเปิดเวทีแสดงสินค้าใหม่กันอย่างคึกคัก
ยอดการผลิตที่หดตัวลงไปประมาณ 10% และยอดการจำหน่ายที่หดตัวลงไป 5% ในช่วง 11 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา แม้จะเป็นตัวเลขไม่มาก แต่หากเปรียบเทียบกับฐาน 2 ล้านกว่าคันต่อปี ก็ถือเป็นตัวเลขที่สร้างความไม่สบายใจให้กับผู้คนในแวดวงรถจักรยานยนต์ไม่น้อย
และต้องถือเป็นอีกปีที่ไม่ค่อยดีนัก สำหรับแวดวงสองล้อเครื่องในประเทศไทย ซึ่งต้องคิดกันใหมว่าปีหน้าจะทำอย่างไรดี...
ความคิดเห็น