โตโยต้าเพิ่ม “โมเดลเด็ก” หรือ Total Human Model for Safety (THUMS) เพื่อยกระดับการวิเคราะห์การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
ค่ายรถยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นทำการเพิ่มโมเดลเด็กอีก 3 รูปแบบไว้ใน THUMS เวอร์ชั่นที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยเด็กอายุ 10 ปี (ส่วนสูง 138 ซม.) เด็ก 6 ปี (118 ซม.) และเด็ก 3 ปี (94 ซม.) ซึ่งโมเดลทั้งหมดจะเอื้อให้โตโยต้าสามารถจำลองอุบัติเหตุและตรวจจับอาการบาดเจ็บที่เกิดกับเด็กที่มีอายุแตกต่างกันได้อย่างละเอียดมากขึ้น
โมเดลเด็กทั้ง 3 ช่วงอายุจะถูกทดสอบร่วมกับโมเดลผู้ใหญ่ที่มีรูปร่างใหญ่ (สูง 189 ซม.) ผู้ชายปานกลาง (179 ซม.) ผู้หญิงรูปร่างเล็ก (153 ซม.) ที่ถูกใช้งานอยู่ในเวลานี้ โดยโมเดลดังกล่าวจะมีทั้งเวอร์ชั่นผู้โดยสารและคนเดินถนน
โตโยต้าเปิดตัว THUMS เวอร์ชั่นที่ 1 ในปี 2000 ตามมาด้วยเวอร์ชั่นที่ 2 ในปี 2003 ซึ่งเพิ่มโครงสร้างกระดูก ขณะที่เวอร์ชั่นที่ 3 เปิดตัวในปี 2008 มีการเพิ่มโครงสร้างสมองของมนุษย์ ก่อนที่จะเปิดตัวเวอร์ชั่นที่ 4 ในปี 2010 ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมของสมอง อวัยวะภายใน และสามารถวิเคราะห์การทำงานร่วมกันของอวัยวะภายนอกได้
สำหรับโมเดล THUMS เวอร์ชั่นที่ 5 มีการจำลองโครงสร้างกล้ามเนื้อซึ่งจะช่วยทำความเข้าใจว่ามนุษย์มีปฏิกิริยาอย่างไรในเสี้ยววินาทีก่อนเกิดอุบัติเหตุ
โมเดลเด็กทั้งสามขนาดที่เพิ่งเปิดตัวนั้นเกิดจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเวนย์ สเตท มหาวิทยาลัยมิชิแกน และศูนย์ความร่วมมือเพื่อการวิจัยด้านความปลอดภัยซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์เทคนิคโตโยต้าในมิชิแกน
ทั้งนี้ โมเดล THUMS มีความแตกต่างจากหุ่นดัมมี่ทดสอบการชนทั่วไป เนื่องจาก THUMS เป็นการจำลองรายละเอียดของร่างกายมนุษย์ทั้งหมด ซึ่งเอื้อต่อการจำลองอุบัติเหตุ และเพิ่มความปลอดภัยในยานยนต์
ความคิดเห็น