กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย สานต่อโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริ พื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่าน Share this

กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย สานต่อโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริ พื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่าน

Coke Autospinn
โดย Coke Autospinn
โพสต์เมื่อ 27 December 2559

กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ผสานมูลนิธิอุทกพัฒน์ รวมพลังประชารัฐ สานต่อโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริ พื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่าน ตั้งเป้าฟื้นฟูเขาหัวโล้นกว่า 3,000 ไร่ นำร่องแก้ปัญหาภัยแล้งและดินถล่มทั่วประเทศ

กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ภายใต้มูลนิธิฮอนด้าประเทศไทย ผสานความร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อยอดความสำเร็จจากการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี สู่การพัฒนาฯ พื้นที่ลุ่มน้ำน่าน ที่ประสบปัญหาเขาหัวโล้นก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้งและดินถล่ม คาดหลังการดำเนินงานในปี 2562 ทั้ง 2 ลุ่มแม่น้ำ

จะช่วยให้ประชากร 4,757 ครัวเรือนมีน้ำอุปโภค-บริโภค และเพิ่มแหล่งน้ำสำรองสำหรับการเกษตรรวม 15,256 ไร่ ให้ทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืนตลอดทั้งปี  รวมทั้งฟื้นฟูพื้นที่เขาหัวโล้นกว่า 3,000 ไร่ ให้กลับมาเป็นป่าต้นน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งและป้องกันดินถล่ม

1

นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการผู้จัดการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย กล่าวว่า "ปัญหาเรื่องน้ำ เป็นเรื่องเร่งด่วนและเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ซึ่งกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย เห็นถึงความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่แม่น้ำปราจีนบุรี มาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จนสัมฤทธิ์ผลสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและ

ภัยแล้งในพื้นที่ตำบลนาแขมและตำบลเมืองเก่าที่เรื้อรังมาอย่างยาวนาน ให้กลายเป็นชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนสูงสุดแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง จึงขยายผลการดำเนินงานสู่พื้นที่ลุ่มน้ำน่าน บริเวณชุมชนบ้านดงผาปูนและบ้านนาบง

ซึ่งประสบปัญหาเขาหัวโล้น ที่ควรได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบอย่างเร่งด่วน โดยผสานพลังประชารัฐในจังหวัดน่าน ร่วมกันฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำให้กลับมาอย่างยั่งยืน”

“โครงการ "พัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริพื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่าน" มีระยะการดำเนินงาน 3 ปี ตั้งแต่พ.ศ.2560 - พ.ศ.2562 โดยกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยให้การสนับสนุนงบประมาณรวม 12 ล้านบาท  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถพัฒนาและบริหารจัดการน้ำ ได้ด้วยตนเอง และพร้อมขยายผลความสำเร็จสู่พื้นที่ใกล้เคียง คาดว่าหลังโครงการฯ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2562

Honda CSR Nan_13

จะสามารถฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาเขาหัวโล้นกว่า 3,000 ไร่ ให้กลับเป็นป่าต้นน้ำดังเดิม เพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง ป้องกันดินถล่ม ส่งผลให้ประชากร 272 ครัวเรือนมีน้ำอุปโภค-บริโภค และ

ทำการเกษตรตลอดทั้งปี โดยจัดกิจกรรมนำร่องการดำเนินงานระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา

เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำที่เป็นบริเวณบ้านดงผาปูน ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ด้วยการสร้างระบบน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นในดินและการปรับปรุงดิน  ด้วยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นในบริเวณลำห้วยจำนวน 5 ฝาย

2

และการปลูกพืชอุ้มน้ำบริเวณร่องน้ำ เช่น กล้วยป่า กล้วยน้ำว้า และต๋าว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ให้สามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้น และเกิดเป็นแผนแม่แบบการดำเนินงานฟื้นฟูเขาหัวโล้นเพื่อการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำอื่นต่อไป” นายพิทักษ์ กล่าวเสริม

บบการดำเนินงานฟื้นฟูเขาหัวโล้นเพื่อการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำอื่นต่อไป” นายพิทักษ์ กล่าวเสริม

ดร.รอยล จิตรดอน เลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “แนวทางการพัฒนาและขยายผลปัญหาเขาหัวโล้นในชุมชนบ้านดงผาปูนและบ้านนาบง เป็นการน้อมนำกรอบแนวคิคและการทำงานตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ความว่า “การจัดการน้ำชุมชนนั้น เห็นความสำเร็จในบางชุมชนแล้ว ให้ชุมชนชาวบ้านที่มีความรู้ ประสบความสำเร็จ มีประสบการณ์จัดการและพัฒนาน้ำในพื้นที่ มาช่วย ขยายผลไปยังชุมชนอื่น”

34

2

ด้วยการเชื่อมโยงหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อความยั่งยืนในการจัดการน้ำชุมชน  นอกจากนี้ ยังเป็นการขานรับคำสั่งการของนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่พบว่าพื้นที่เขาส่วนใหญ่ในจังหวัดน่านมีสภาพเป็นเขาหัวโล้น เนื่องจากชาวบ้านยังคงทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวในพื้นที่เขา อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว

ไม่มีระบบน้ำสำหรับปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ด้วย 3 แนวทางในการจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำ ประกอบด้วย 1) การปรับเพิ่มโครงสร้างน้ำทั้งระบบถังสำหรับอุปโภค-บริโภคที่มีอยู่เดิม ขนาด 130 กว่าลิตร ให้ใช้การได้ทั้ง 7 ถัง  2) การพัฒนาระบบน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดิน ด้วยฝายชะลอความชุ่มชื้น ปรับปรุงดิน ปลูกกล้วยป่า ต๋าว และพืชเสริมอื่นๆ และ 3) การเพาะปลูก โดยมุ่งเน้นให้ในพื้นที่มีการปรับปรุงพื้นที่การเกษตรทั้งแนวราบและแนวสูง

ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกพืชใหม่เป็นแบบ “ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง” และเกษตรผสมผสานเพื่อให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำสำรองสำหรับอุปโภค-บริโภค และการเกษตรได้อย่างพอเพียงในฤดูน้ำแล้ง เป็นพื้นที่ต้นแบบของความสำเร็จในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ เกิดเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน และขยายผลความสำเร็จสู่ชุมชนอื่นต่อไป”

ติดตามข่าวสารอัพเดตเพิ่มเติม ได้ที่นี่

ค้นหารถยนต์มือสองสภาพดีการันตีจาก วันทูคาร์ ได้ที่นี่


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ