[สัมภาษณ์] นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยกับการขับเคลื่อนยนต์ไฟฟ้าในไทย Share this

[สัมภาษณ์] นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยกับการขับเคลื่อนยนต์ไฟฟ้าในไทย

Tadsaneeya
โดย Tadsaneeya
โพสต์เมื่อ 06 August 2563

ในช่วงเวลาเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หรือ EVAT ก็ได้มีการขับเคลื่อนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหนึ่งในผู้ก่อตั้งเเละเป็นนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ได้มีเเนวทางการดำเนินงาน รวมไปถึงมุมมองในอนาคตของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย หลังจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ชะลอตัวลง ก่อนอำลาตำเเหน่งอย่างเป็นทางการ 


ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ในฐานะนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้มีบทบาทในการผลักดันเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย อย่างไรบ้าง 

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เริ่มก่อตั้ง อย่างเป็นทางการตั้งเเต่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) เป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนจากภาควิชาการและ ภาคเอกชน ภายใต้การสนับสนุนของภาครัฐ โดยใน ช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ผมได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในที่ปรึกษา คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์พลังงาน ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งได้จัดทำข้อเสนอการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าให้ทางรัฐบาล และเป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีนโยบายในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ เเละมองว่าช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะในฐานะนักวิชาการ เราทราบปัญหาของประเทศไทย โดยเฉพาะเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีปัญหามลพิษจากการจราจรที่ติดขัด รวมทั้งปัญหาการปล่อยก็าซเรือนกระจกที่เป็นตัวการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหรือที่รู้จักกันว่าโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาและความท้าทายระดับโลก การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าว และประเทศไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก การส่งเสริมให้เกิดการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญ เช่น แบตเตอรี่ ภายในประเทศ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศ พร้อมด้วยการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้สามารถไปแข่งขันในระดับโลกได้ในอนาคต โดยหวังว่าประเทศไทยจะเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของโลก ซึ่งจะช่วยทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศสูงขึ้น นำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และเป็นการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยั่งยืน ที่มีความต้องการใช้ยานยนต์สมัยใหม่และสามารถแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญในระดับโลกได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวภายหลัง นำมาเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน ของสมาคมฯในเวลาต่อมาอย่างต่อเนื่อง

สมาคมฯ ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการผลักดันโครงการและกิจกรรมในหลายเรื่อง อาทิ การสนับสนุน ให้เกิดโครงสร้างพื้นฐาน อย่างเช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้า การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ การทำงานในเชิงวิชาการในเรื่องมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า หรือหลักสูตรในสถาบันการศึกษา การให้ความรู้แก่ประชาชน การส่งเสริมให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยควบคู่กัน และได้จัดทำ 8 ข้อเสนอการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าต่อภาครัฐในการผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นรูปธรรม ได้แก่ การ จัดทำ EV Roadmap อย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนให้มีการจัดทำมาตรฐานของยานยนต์ไฟฟ้า เเละชิ้นส่วน ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการออกมาตรการกระตุ้นการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงส่งเสริมศักยภาพเเละพัฒนาบุคลากรไทย ด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น  รวมทั้งได้จัดพิมพ์ข้อเสนอเหล่านี้ลง EVAT Directory 2020 อีกด้วย ซึ่งทางสมาคมฯ จะยังคงยึดมั่นเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหามลพิษอย่างฝุ่นละออง ขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่ส่งผลต่อสุขภาพประชาชน ตามที่ทราบกันดีนั้น ซึ่งที่ผ่านมา ทางสมาคมก็ได้มีการทำงานร่วมกับ ภาครัฐตามข้อเสนอดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง 

จากสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลอย่างไรกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า 

ในระยะนี้ เศรษฐกิจของประเทศย่อมมีผลกระทบเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ลักษณะของอุตสาหกรรมยานยนต์มีห่วงโซ่อุปทานที่ยาว ย่อมมีผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ซึ่งพอเกิดผลกระทบ การฟื้นตัวอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากข้อจำกัดในการลงทุนในช่วงนี้ ทำให้ผู้ผลิตต้องพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบเพื่อให้ตอบโจทย์ได้ในระยะยาว กระเเสยานยนต์ไฟฟ้ากำลังจะกลายเป็นกระเเสหลัก และเชื่อว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะมุ่งไปในทางยานยนต์ไฟฟ้าด้วย โดยเฉพาะหากภาครัฐให้การสนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยใช้งบประมาณหรือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน หากมีการชะลอในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม สุดท้ายจะย้อนกลับเป็นปัญหาในระยะยาว ดังนั้น มองว่าแม้ว่าช่วงนี้จะมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีผลประกอบการตกต่ำ แต่หากมองในภาพใหญ่และในระยะยาว ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นคำตอบอย่างแน่นอน ดังนั้นที่เราคิดว่าไกลตัวอาจจะเริ่มใกล้ตัวเรามากขึ้น เพราะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนเเปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาค เอกชนที่ปรับเปลี่ยนตัวได้ทันเวลา จะทำให้รอดพ้นจากวิกฤตาร และมองว่าในช่วงปี ค.ศ. 2025-2030 ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 30% และแน่นอน ผู้ที่ปรับตัวได้ก่อน จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ ในขณะเดียวกันเราก็จะพบผู้เล่นใหม่ในตลาด อีกทั้งในอนาคตยานยนต์สมัยใหม่จะไม่ได้มีเเค่เรื่องยานยนต์ไฟฟ้าเเต่จะมีเรื่องการขับขี่อัตโนมัติ การเชื่อมต่อสื่อสารกับภายนอกยานยนต์ เเละเกิดรูปแบบธุรกิจยานยนต์ใหม่ เช่น การเเบ่งปัน (Mobility Sharing) เรื่องนี้เป็นแนวโน้มของยานยนต์สมัยใหม่ ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ทั้งหมด แต่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ต้องพร้อมปรับตัวและก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนี้

ดร. ยศพงษ์ ลออนวล กับบทบาทใหม่

ดร. ยศพงษ์ ลออนวล ในฐานะบทบาทใหม่ “หัวหน้าศูนย์วิจัย” Mobility and Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มจธ. หรือ เรียกสั้นๆว่า MOVE (มูฟ) โดยมีวิสัยทัศน์นำ MOVE ให้ก้าวเป็นผู้นำด้านยานยนต์สมัยใหม่ที่ยั่งยืนผ่านการวิจัย นวัตกรรม และการศึกษา มีพันธกิจ การพัฒนาเทคโนโลยี เเละ นวัตกรรมด้านยานยนต์สมัยใหม่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ รวมไปถึงการพัฒนาเเละสร้างห้องปฎิบัติการวิจัยที่ทันสมัยเพื่อรองรับการวิจัยโดยมีจะช่วยขับเคลื่อน มจธ. สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย เสนอแนวคิด “การขนส่งแบบไร้มลพิษ เพื่อก้าวไปสู่การเดินทางที่ยั่งยืน” โดยการใช้มหาวิทยาลัยเป็นสนามทดสอบ (Test Bed) และแหล่งเรียนรู้และวิจัยในวิถีชีวิต (Living Lab) ซึ่งปัจจุบันศูนย์วิจัยนี้ได้มีการดำเนินงานร่วมเป็นพันธมิตร ทั้งกับภาครัฐเเละภาคเอกชนหลายภาคส่วน

ล่าสุด ดร.ยศพงษ์ เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยมจธ.มีนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนโดยเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและการเป็น Entrepreneurial University และการสร้างผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงออกสู่สังคม (social change agent) โดยมหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกกิจกรรม ตั้งแต่การดำเนินงาน การเรียนการสอน การทำวิจัยและนวัตกรรม จนถึงการบริการวิชาการ เพื่อชุมชน และผู้ประกอบการ และมี 5 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ได้แก่

  • สร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
  • สร้างผลกระทบจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม
  • สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน
  • สร้างโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • สร้างสรรค์ระบบการบริหารที่ยั่งยืน

ดร. ยศพงษ์ ลออนวล ยังได้ทิ้งท้ายไว้ว่า การสิ้นสุดตำแหน่งไม่ได้หมายถึงการสิ้นสุดการทำงาน เพราะเรื่องเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าหรือยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นแนวโน้มของยานยนต์สมัยใหม่ เป็นสิ่งที่ทำมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ก่อนจะเกิดสมาคมหรือมีตำแหน่งใดๆ ดังนั้นยังทำงานในเชิงวิชาการอย่างต่อเนื่องแน่นอน นอกจากนี้ในฐานะที่ยังทำหน้าที่ในกรรมการผู้ทรงคุณวุติในคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ จะช่วยผลักดันให้เกิดการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย 

สำหรับการส่งไม้ต่อ ให้กรรมการชุดใหม่นั้น ดร. ยศพงษ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการทำงานของสมาคมฯ เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคน ผ่านกระบวนการทำงานในรูปแบบคณะทำงานและผ่านการกลั่นกรองและมติของกรรมการสมาคมฯ มาโดยตลอด ดังนั้น การดำเนินงานของนายกสมาคมหรือกรรมการใหม่ ย่อมต้องสานต่อความต้องการของสมาชิกสมาคมฯ และข้อเสนอ 8 ข้อ ของสมาคมฯ ยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตามและทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ การมี คนใหม่ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สมาคมฯ มีการพัฒนาที่ต่อเนื่องและเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามาสานต่อการทำงาน และการส่วนร่วมในการผลักดันและส่งเสริมให้ประเทศไทยมี การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อมาบรรเทาปัญหามลพิษของประเทศรวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่มั่นคงเเละยั่งยืนต่อไป

ติดตามข่าวรถยนต์ ราคารถยนต์ รีวิวรถยนต์ และจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อ กับเรา Autospinn
แชร์ความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด Autospinn คลิกเลย webboard.autospinn.com  
เช็คโปรโมชั่นรถใหม่ เช็คราคารถใหม่ ได้ที่นี่ 
ราคารถมือสอง ซื้อรถมือสอง ขายรถมือสอง เชิญได้เลยที่ one2car


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ