การแข่งขันในรายการ ดาการ์ แรลลี มิตซูบิชิ ปาเจโร ต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง ปอร์เช่ 959, โอเปิล มันตรา, อาวดี้ ควอทโทร และ เรนจ์ โรเวอร์ แต่นักแข่ง มิตซูบิชิ ปาเจโร ทุกคนต่างทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่และสามารถเข้าเส้นชัยด้วยเวลาที่ดีที่สุด คว้าชัยชนะจากการแข่งขัน ในประเภทรวมโอเวอร์ออลได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นความสําเร็จครั้งแรกของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ในรายการ ดาการ์ แรลลี ครั้งแรกในปี 2526 และสามารถคว้าชัยชนะครั้งแรกในความพยายามครั้งที่สาม ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2528 โดยได้ส่ง มิตซูบิชิ ปาเจโร เข้าร่วมชิงชัยในรายการ ดาการ์ แรลลี่ รวมทั้งสิ้น 26 ครั้ง และสามารถคว้าชัยชนะรวมกันทั้งสิ้นมากถึง 12 ครั้ง พร้อมสร้างสถิติคว้าแชมป์ติดต่อกันถึง 7 สมัย ซึ่งยังไม่เคยมีใครสามารถทำได้จนถึงปัจจุบัน และยังได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั่วโลกให้เป็น “เจ้าแห่งทะเลทราย”
ทั้งนี้ในปี 2528 มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้ตัดสินใจส่ง มิตซูบิชิ ปาเจโร รุ่นต้นแบบ เพื่อลงแข่งขันแรลลี่ในรายการสุดหฤโหดอย่าง ดาการ์ แรลลี่ โดยรถต้นแบบคันดังกล่าว ใช้พื้นฐานและตัวถังมาจากโปรดักชั่นคาร์ที่ผลิตขึ้นเพื่อการจําหน่ายทั่วไป แต่ได้รับการปรับแต่งให้มีคุณสมบัติและสมรรถนะที่ดีขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันฯ อาทิ การปรับเปลี่ยนชุดเพลาหน้า การขยายฐานล้อและการปรับจูนความสมดุลของน้ำหนักด้านหน้า-หลังของตัวรถใหม่ ตัวถังภายนอกผลิตขึ้นจากพลาสติกพอลิเมอร์เสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอนแบบเคฟลาร์ ช่วยลดนํ้าหนักตัวรถได้มากกว่า 200 กก. พร้อมเปลี่ยนระบบกันสะเทือนด้านหลังจากแหนบมาเป็นแบบทรีลิงค์ ช่วยเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ให้ดีมากยิ่งขึ้น ติดตั้งเครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบขนาด 2.6 ลิตร ภายใต้รหัส 4G54 ที่ถูกคิดค้นโดยทีมวิจัยและพัฒนาเครื่องยนต์ของโรงงานผลิตรถยนต์ มิตซูบิชิ ที่เมืองโอกาซากิ ให้พละกำลังสูงสุด 225 แรงม้า พร้อมเทอร์โบชาร์จเจอร์แบบอินเตอร์คูลเลอร์ ที่สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 185 กม./ชม
มิตซูบิชิ ปาเจโร รุ่นต้นแบบทั้งสองคันถูกใช้ในการแข่งขันแรลลี่รายการดังกล่าวฯ โดยมี มร. แอนดรูว์ โคแวน จากสหราชอาณาจักร ที่เคยคว้าอันดับที่สาม และ มร. แพทริค ซานิโรลี่ ชาวฝรั่งเศส ผู้ที่เคยคว้าอันดับที่สองในประเภทรวมโอเวอร์ออลกับ เรนจ์ โรเวอร์ จากการแข่งขันฯ ในปีก่อน ทั้งนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง ปอร์เช่ 959, โอเปิล มันตรา, อาวดี้ ควอทโทร และ เรนจ์ โรเวอร์ โดยการแข่งขัน ดาการ์ แรลลี่ ในปีนั้นมีผู้เข้าแข่งขันรวมทั้งสิ้น 552 คน โดยมี 362 คน ที่สมัครลงแข่งในประเภทรถยนต์ และต้องขับลุยผ่านเส้นทางทะเลทรายเทเนเร่ ที่ทุรกันดารถึงสองครั้งแสดงถึงความหฤโหดของการแข่งขัน ดาการ์ แรลลี่ โดยมีระยะทางครอบคลุมรวมทั้งสิ้น 10,284 กม. ใช้ระยะเวลาในการแข่งขันทั้งสิ้นรวม 22 วัน และแบ่งเป็นระยะทางที่ใช้ในการแข่งขัน (SS) รวมทั้งสิ้น 7,487 กม
โดยการแข่งขันฯ สองครั้งก่อนหน้านี้ได้กำหนดจุดสตาร์ทให้เริ่มต้นที่ จตุรัส คอนคอร์ด แต่ในปีนี้ทางผู้จัดการแข่งขันฯ ได้กำหนดจุดสตาร์ทใหม่ โดยให้เริ่มต้นที่เมืองแวร์ซาย ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส และ มีผู้ชมราว 70,000 คน ร่วมเป็นสักขีพยานและให้กำลังใจแก่เหล่าบรรดานักแข่งที่กำลังเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มการแข่งขันฯ โดยการแข่งขันมีความเข้มข้นมากขึ้นที่เส้นทางในประเทศแอลจีเรีย ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ทีมปอร์เช่ พบปัญหาใหญ่จนต้องถอนตัว โดยมี โอเปิล มันตรา ที่ขับโดยนักแข่งชาวเบลเยี่ยมอย่าง มร. กีร์ คอนโซล เป็นผู้นำ ในขณะที่ มร. แพทริค ซานิโรลี่ ซึ่งขับตามอยู่ในอันดับที่สอง และเมื่อมาถึงเส้นทางการแข่งขันในเมืองอากาเดซ ทางตอนกลางของประเทศไนเจอร์ มิตซูบิชิ ปาเจโร ก็สามารถขับแซง โอเปิล มันตรา และขึ้นนำการแข่งขันในประเภทรวมโอเวอร์ออลได้สําเร็จ จากความผิดพลาดของทีม โอเปิล และปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ในช่วงต้นครึ่งหลังของการแข่งขัน
นักแข่ง มิตซูบิชิ ปาเจโร ทุกคนต่างทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่และสามารถเข้าเส้นชัยด้วยเวลาที่ดีที่สุดถึง 3 ครั้ง จนสามารถขึ้นเป็นผู้นำและคว้าชัยชนะจากการแข่งขันฯ ในประเภทรวมโอเวอร์ออลได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นความสําเร็จครั้งแรกของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น โดย มิตซูบิชิ ปาเจโร ทั้งสองคันทั้งของ มร. แอนดรูว์ โคแวน และ มร. แพทริค ซานิโรลี่ ที่ต่างทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมให้แก่บริษัทฯ โดยสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ และรองชนะเลิศจากการแข่งขันฯ ในปีเดียวกัน ทั้งนี้ มิตซูบิชิ ปาเจโร ยังสามารถคว้าชัยชนะทั้งในรุ่น โปรดักชั่นคาร์ และในรุ่นมาราธอน จากผลงานที่ยอดเยี่ยมดังกล่าวส่งผลให้ มิตซูบิชิ ปาเจโร ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั้งในด้านสมรรถนะ และความแข็งแกร่งในระดับโลก ทั้งนี้ในปีเดียวกันยังมีนักแสดงชาวญี่ปุ่น ได้แก่ มร. ยูซุเกะ นัทซึกิ และ มร. โยชิมาสะ ซูกาวาระ ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในประเภทโปรดักชั่นคาร์ กับ มิตซูบิชิ ปาเจโร แต่พวกเขาต้องถอนตัวออกจากการแข่งขันฯ ทั้งๆ ที่เหลือระยะทางห่างจากเส้นชัยเพียง 900 กม. เท่านั้น
สเป็ครถ Mitsubishi Pajero
- ความยาวโดยรวม 3,930 มม.
- ความกว้างโดยรวม 1,680 มม.
- เครื่องยนต์รหัส 4G54, ECI, เทอร์โบชาร์จ
- ปริมาตรความจุกระบอกสูบ 2,555 ซีซี
- กำลังสูงสุด 225 แรงม้า
- แรงบิดสูงสุด 313 นิวตันเมตร
- ความจุถังน้ำมัน 320 ลิตร
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ ตรวจสอบราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปกับ Autospinn
ค้นหารถมือสองทุกรุ่น ทุกแบบ ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน ดูรายละเอียด และราคารถมือสองได้ที่ ตลาดรถ One2car
ความคิดเห็น