พลังงานไฟฟ้า ปัจจัยพื้นฐานในการใช้ชีวิตของคนเราที่ขาดมันแทบไม่ได้ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในสังคมเมือง หากไฟดับทีนึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งไฟฟ้าถูกใช้งานกับอุปกรณ์หลากหลาย ทั้งอุปกรณ์ที่ใกล้ตัวเรา จนไปถึงอุปกรณ์การแพทย์
การคิดค่าไฟ
ปัจจุบันนี้ การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีหลักการคิดคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานในบ้านเรือนด้วยมาตรฐานเดียวกัน อัตราเดียวกัน ใช้เหมือนกันทั่วประเทศไม่มีแบ่งโซนภูมิภาคแต่อย่างใด โดยการคิดคำนวณค่าไฟฟ้านั้นจะมีตัวเลขประกอบกันอยู่ 4 ส่วน ได้แก่
- ค่าไฟฟ้าพื้นฐาน
- ค่า FT
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ค่าบริการ
ค่าไฟฟ้าฐาน
ค่าไฟฟ้าฐาน เป็นค่าพลังงานไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวงและส่วนภูมิภาค ใช้ในการคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเราตามจริง โดยปัจจุบันนี้ การคิดค่าไฟฟ้าฐานในครัวเรือนจะมีทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
- มิเตอร์ปกติ ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน
- มิเตอร์ปกติ ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย/เดือน
- มิเตอร์ TOU
มิเตอร์ปกติ ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน
มิเตอร์แบบปกติ ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน มีค่าบริการเดือนละ 8.19 บาท และมีเรทการคิดค่าไฟแบบอัตรา 1.1* มีหลักการคิดค่าไฟฟ้าฐานดังนี้
ค่าไฟฟ้า (บาท/หน่วย) | |
หน่วยที่ 1-15 | 2.3488 |
หน่วยที่ 16-25 | 2.9882 |
หน่วยที่ 26-35 | 3.2405 |
หน่วยที่ 36-100 | 3.6237 |
หน่วยที่ 101-150 | 3.7171 |
หน่วยที่ 151-400 | 4.2218 |
หน่วยที่ 401 ขึ้นไป | 4.4217 |
มิเตอร์ปกติ ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย/เดือน
มิเตอร์แบบปกติ ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน มีค่าบริการเดือนละ 38.22 บาท จะมีเรทการคิดค่าไฟแบบอัตรา 1.2* มีหลักการคิดค่าไฟฟ้าดังนี้
ค่าไฟฟ้า (บาท/หน่วย) | |
หน่วยที่ 1-150 | 3.2484 |
หน่วยที่ 151-400 | 4.2218 |
หน่วยที่ 401 ขึ้นไป | 4.4217 |
*ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย (มิเตอร์ 5(15) A) จะถูกจัดให้อยู่ใน อัตราข้อ 1.1 แต่ถ้ำมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะ จัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 1.2 และถ้ำมีการใช้พลังงำนไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนติดต่อกัน 3 เดือนใน เดือนถัดไป จะจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 1.1 ตามเดิม
*ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดเกินกว่า 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย (ตั้งแต่มิเตอร์ 15(45) ขึ้นไป) จะถูกจัดให้อยู่ ในอัตราข้อ 1.2 ตลอดไป
มิเตอร์ TOU คืออะไร
มิเตอร์ TOU หรือมิเตอร์แบบ Time of Use จะมีวิธีการคิดค่าไฟเป็นแบบช่วงเวลา (แบบปกติจะคำนวณตามปริมาณการใช้งาน) โดยจะแบ่งเวลาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ช่วง On Peak กับ Off Peak ซึ่งมีราคาไฟฟ้าแตกต่างกันถึง 2 เท่า มีค่าบริการเดือนละ 38.22 บาท
โดยช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (On Peak) ระหว่างเวลา 09.00-22.00 น. ของวันจันทร์-ศุกร์ อัตราค่าไฟฟ้า 5.7982 บาท ต่อหน่วย
ช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off Peak) ระหว่างเวลา 22.00-09.00 น. ของวันจันทร์-ศุกร์ และช่วงเวลาระหว่าง 00.00-24.00 ของวันเสาร์-อาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย) อัตราค่าไฟฟ้า 2.6369 บาท ต่อหน่วย
ค่า Ft คืออะไร
Ft ย่อมาจากคำว่า Fuel Adjustment Charge โดยดั่งเดิมแล้ว ค่า Ft มาจากคำว่า Float time คือการลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการคำนวณ
ทว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงสูตรคำนวณใหม่ คงไว้เพียงต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ที่ กฟผ.ไม่สามารถควบคุมได้ และสามารถนำไปคำนวณในสูตร Ft โดยค่า FT นี้ จะถูกปรับปรุงทุกๆ 4 เดือน โดยค่า Ft จะมีได้ทั้งแบบเก็บเงินเพิ่มและให้เป็นส่วนลด
ค่าไฟฟ้ารวม Ft+Vat หน่วยละเท่าไหร่
ในส่วนของค่าไฟฟ้าฐานรวม Ft, VAT (ไม่รวมค่าบริการ) เป็นราคาหน่วยละเท่าไหร่โดยประมาณ สรุปไว้แล้วดังนี้
ประเภทมิเตอร์ | ค่าไฟฟ้า | ค่าไฟฟ้า |
(บาทต่อหน่วย) | รวม Vat+Ft | |
มิเตอร์ปกติ | ||
หน่วยที่ 1 - 150 | 3.2484 | 4.4755 |
หน่วยที่ 151 - 400 | 4.2218 | 5.5170 |
หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป | 4.4217 | 5.7309 |
มิเตอร์ TOU | ||
On Peak | 5.7982 | 7.2038 |
Off Peak | 2.6369 | 3.8212 |
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปกับ Autospinn
ค้นหารถมือสองทุกรุ่น ทุกแบบ ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน ดูรายละเอียด และราคารถมือสองได้ที่ ตลาดรถมือสอง One2car
ความคิดเห็น