เดลต้า เปิดตัวโรงงานเดลต้าแห่งที่ 8 และศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปู ประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการขยายการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของเดลต้าไปยังลูกค้าระดับโลก
เปิดโรงงานเดลต้าแห่งที่ 8 และศูนย์วิจัย พัฒนารองรับยานยนต์ไฟฟ้าใหม่
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษภายในงานว่า รัฐบาลยินดีกับการเปิดโรงงานใหม่นี้ และยินดีสนับสนุนเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย ในฐานะผู้ส่งออกและผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำ โดยบริษัทฯ พร้อมที่จะสนับสนุนนโยบายของไทย โดยบริษัทได้ประกาศลงทุนและจะช่วยส่งเสริมวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub) และศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Hub)
วิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาตลอด 35 ปีสำหรับเดลต้า ประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2553 เราได้ผลิตผลิตภัณฑ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยโรงงานเดลต้าแห่งใหม่แห่งที่ 8 ของเรามีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ของเราจะช่วยพัฒนาเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการลงทุนที่สำคัญในครั้งนี้จะนำประโยชน์มากมายมาสู่อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ผลิตภัณฑ์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของเดลต้ามีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์การจัดการพลังงาน รวมถึงเครื่องชาร์จในตัว ตัวแปลง DC/DC และผลิตภัณฑ์ระบบส่งกำลัง รวมทั้ง Traction inverter และ Traction motor ตลอดจนโซลูชันการจัดการความร้อนและอุปกรณ์ที่ทำงานได้ด้วยตัวเอง Passive component โดยเดลต้ามีลูกค้าระดับโลก ได้แก่ ผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำจากยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เดลต้า ประเทศไทยได้ผลิตผลิตภัณฑ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับลูกค้าทั่วโลกที่โรงงานเดลต้า 1 ด้วยพื้นที่ 25,000 ตารางเมตร ปัจจุบันโรงงานแห่งใหม่และศูนย์วิจัยและพัฒนาทั้ง 2 แห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่กว่า 30,400 ตารางเมตร โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตตอบสนองต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า
การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพของเดลต้าครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับและจัดเก็บวัตถุดิบไปจนถึงขั้นตอนการผลิตต่างๆ เช่น ขั้นตอนการวางชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บนแผงวงจร (SMT) ขั้นตอนการประกอบแผงวงจร (PWBA) การประกอบชิ้นส่วนต่างๆและการ burn-in พร้อมทั้งการตรวจสอบสินค้าขั้นสุดท้ายก่อนการส่งออก การลงทุนมูลค่าเกือบ 3 พันล้านบาทสำหรับโรงงานแห่งที่ 8 และศูนย์วิจัยและพัฒนาครั้งนี้แสดงโซลูชันอาคารอัจฉริยะและการผลิตอัจฉริยะที่ประหยัดพลังงานของเดลต้ายกระดับความสามารถในการผลิตและมาตรฐานการผลิต
บทความที่น่าสนใจ
- วางแผนอย่างไร ก่อนถอยรถป้ายแดง
- ซื้อรถป้ายแดง ดาวน์เท่าไหร่ดี?
- 2 วิธีตรวจสอบคะแนนใบขับขี่ด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
ความคิดเห็น