เมื่อเดือน กรกฎาคม ฟอร์ด ประเทศไทย ได้เปิดตัว เรนเจอร์ ใหม่ อย่างเป็นทางการ หลังจากประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในรุ่นที่แล้ว มาถึงรุ่นใหม่ที่ทาง ฟอร์ดเพิ่งเปิดตัวไปได้ไม่นานกับกระแส รุ่นพี่อย่างแร็พเตอร์ ที่หลายคนพูดถึง ฟอร์ดจึงจัดการทดสอบเพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการเปลี่ยนแปลง
ฟอร์ด ประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมให้สื่อมวลชนทดสอบขับ เรนเจอร์ ใหม่ ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ยกเครื่องกันใหม่ เส้นทางในการทดสอบ คือจังหวัดเชียงราย ในการทดสอบครั้งมีทั้งรูปแบบเขา ทางหลวง และแบบถนนลูกรัง เรียกได้ว่าจะสามารถทดลองใช้งานได้ทุกระบบทุกสภาพกันเลย
เริ่มต้นการทดสอบเดินทางขึ้นเครื่องเพื่อไปทดสอบที่ จังหวัดเชียงราย รับฟังการบรรยายตัวรถ เรนเจอร์ ใหม่ ว่ามีอะไรเพิ่มเติมบ้าง พร้อมทั้งเส้นทางในการเดินทาง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลักๆคือเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนไป ทางฟอร์ดได้นำเอาเครื่องยนต์ 3.2 ลิตรออกจากระบบเหลือเพียงเครื่องยนต์ 2.2 ลิตร นำเครื่องใหม่ 2.0 ลิตร เข้ามาแทนมี 2 เครื่องต่างกันที่เทอร์โบ แบ่งเป็น เทอร์โบเดียวและเทอร์โบคู่ แรงม้าต่างกัน ระบบเกียร์ชุดเดียวกัน 10 สปีด
2.0 ลิตร เทอร์โบคู่
2.0 เทอร์โบเดี่ยว
เริ่มต้นการทดสอบทางทีมงานได้ขับ รุ่น Double Cab 2.0L Turbo Wildtrak Hi-Rider 10AT เครื่องยนต์ ดีเซลใหม่ขนาด 2.0 ลิตรพร้อม VG Turbo Intercooler กำลังสูงสุด 180 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 420 นิวตันเมตร หรือเทอร์โบเดียวนั้นเอง พูดถึงตัวรถกันหน่อย หลายคนอยาจจะไม่ค่อยถูกใจสำหรับหน้าตาที่ดูจะไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไรไปมากนัก ในความรู้สึกของทีมงานก็คิดว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ทางฟอร์ดอาจจะให้ความสำคัญกับตัวรถและระบบการขับขี่มากกว่า และเมื่อเข้ามาในห้องโดยสารสิ่งที่ชัดเจนคือเบาะนั่งที่ดูสวยงามด้วยเส้นด้ายสีส้มตัดกับเบาะสีดำ อีกจุดเด่น ระบบซิงค์ 3 (SYNC 3) ซึ่งสามารถจดจำเสียงและสั่งงานเสียงด้วยภาษาไทยได้ ช่วยโทรออก ฟังเพลง หรือเรียกใช้เมนูอื่นๆ ได้ โดยไม่ต้องละสายตาจากถนน รวมทั้งยังรองรับ Apple Carplay และ Android Auto พร้อมบลูทูธ จอทัชสกรีน ฟูลคัลเลอร์ ขนาด 8.0 นิ้ว และกล้องมองหลัง ตำแหน่งของปุ่มต่างๆก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไร มาถึงการขับขี่เครื่องยนต์เทอร์เบอร์เดียว 180 แรงม้า นี้สิ่งที่ชัดเจนคือกำลังในรอบต้น สามารถเรียกกำลังออกมาได้อย่างรวดเร็วเรียกว่ากดคันเร่งออกตัว ล้อฟรีกันเลย ส่วนรอบกลางกับปลายอาจจะ มาแบบเรื่อยๆสู้รอบต้นไม่ได้แต่ดีกว่าเครื่อง เดิม 2.2 ลิตรอย่างเห็นได้ชัดเจน เกียร์10สปีด ข้อดีคือ ให้การเปลี่ยนเกียร์ที่ราบเรียบต่อเนื่องมีการตอบสนองในการเปลี่ยนเกียร์ที่รวดเร็วขึ้น ความเร็ว 100 km รอบเครื่องอยู่ที่ 1,500 รอบซึ่งทำให้เกิดการประหยัดมากขึ้น การขับขี่ด้วยความเร็วในบางช่วงทำให้เห็นว่าตัวรถมีอาการโครงน้อยให้ความมั่นใจในการขับขี่มากขึ้น
ขับมาถึงจุดพักแรกไร่พีบี วัลเล่ย์ ทดสอบการขับขี่บนเส้นทางขรุขระ เพื่อทดสอบระบบช่วงล่างของฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ ซึ่งได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม และทดสอบระบบความปลอดภัย อย่างระบบช่วยจอดอัจฉริยะ (Active Park Assist) ช่วยให้การจอดรถง่ายขึ้น เพียงผู้ขับขี่เปิดใช้งานและคอยควบคุมเบรก เกียร์ ระบบจะควบคุมพวงมาลัยรถให้เข้าจอดในพื้นที่จอดโดยอัตโนมัตสิ่งที่ง่ายขึ้นคือระบบนี้ใช้ภาษาไทยในการออกคำสั่งบนหน้าจอ และระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติพร้อมระบบตรวจจับคนเดินถนน (AEB) ซึ่งผสานระบบเบรกแบบ Inter-Urban Autonomous Emergency Braking (AEB) เข้ากับระบบตรวจจับคนเดินถนน (Pedestrian Detection) และระบบตรวจจับยานพาหนะ (Vehicle Detection) บริเวณรอบตัวรถ เพื่อหยุดรถ และช่วยลดอัตราการชนท้ายและการชนคนเดินถนนลง โดยระบบนี้จะทำงานเมื่อใช้ความเร็วสูงกว่า 3.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ทางทีมงานได้จำลองคนข้ามถนนเดินตัดหน้ารถ รถสามารถเบรกเองได้อย่างอัตโนมัติ (ข้อจำกัดของระบบคือถ้าคนเดินตัดออกมาจากรถด้านข้างหรือซอยแคบระบบอาจจะไม่สามารถตรวจจับได้) และอีกสถานี ได้จำลองรถจอดอยู่ด้านหน้า รถของเราไหลเข้าไปหน้าโดยผู้ขับขี่ไม่ได้ระวังระบบก็จะเตือนก่อนการชนและก็เบรคเองเช่นกัน ทุกระบบจะทำงานได้ดีเพียงไรผู้ขับขี่ก็ต้องระมัดระวังด้วยเช่นกัน
ในวันที่สองสำหรับการเดินทางออกจาก อำเภอเชียงของ กลับเข้าเมืองเชียงราย ทางทีมงานได้เปลี่ยนรถเป็น Double Cab 2.0L Bi-Turbo Wildtrak 4x4 10AT เทอร์โบคู่ ภายในเหมือนกันกับตัวเทอร์โบเดียวสิ่งที่เพิ่มเติมคือระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ขับออกมาได้สักพักสิ่งแรกที่สัมผัสได้คือเสียงในห้องโดยสารที่เงียบขึ้นอย่างชัดเจน ด้วยระบบตัดเสียงรบกวนภายในห้องโดยสาร (Active Noise Cancellation) ช่วยให้การเดินทางสบายขึ้น มาด้านเครื่องยนต์ที่ให้กำลังมากกว่าเทอร์โบเดียวในทุกๆด้าน สัมผัสในการขับขี่การออกตัวออกไม่รุนแรงเท่าเทอร์โบเดียวแต่ออกแบบเรียบๆแต่มาเรื่อยๆทั้งกลางและปลายสามารถเรียกกำลังได้ดีกว่า แม้ว่าจะถอนคันเร่งและกดเร่งใหม่กำลังก็ไม่ตกลงเรียกได้ว่าทันใจตลอดเวลา เส้นทางในการทดสอบบางช่วงเป็นเส้นทางในการขึ้นเขา ทำได้ดีมากทั้งตอนขึ้นเขาที่มีกำลังอย่างเหลือเฟือให้ใช้งานทั้งการเร่งในทางเขาก็ตาม รวมทั้งทางลงเขาเกียร์ที่ฉลาดสามารถเชนเกียร์เองอัตโนมัติ แต่สิ่งนึงที่ขัดใจสำหรับเกียร์คือ ปุ่มที่เปลี่ยนเกียร์เองนั้นไปอยู่ที่ตำแหน่งหัวเกียร์ซึ่งในการใช้งานจริงนั้นไม่สดวกในการใช้เพราะเราจะต้องปล่อยมือจากพวงมาลัยในการขับขี่เพื่อไปเปลี่ยนเกียร์ทำให้เสียจังหวะในการขับขี่ที่เป็นทางโค้ง ส่วนในด้านต่างๆพวงมาลัยควบคุมได้ง่ายขึ้นกว่าตัวเก่า ช่วงล่างไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไรแต่ให้ความรู้สึกที่มั่นใจเหมือนเดิม
ด้านระบบควมปลอดภัยต่างๆนั้น
- ถุงลมนิรภัยเพิ่มเป็น 6 จุด: คู่หน้า / ด้านข้าง / และม่านถุงลมนิรภัย
- สัญญาณเตือนระยะจอดด้านหน้า
- เฟืองท้ายแบบ Locking Rear Differential
- เทคโนโลยีช่วยในการขับขี่อัจฉริยะ (Advanced- Driving Assist technology) (เฉพาะ 4x4)
- ระบบช่วยเบรคฉุกเฉินอัตโนมัติพร้อมระบบตรวจจับคนเดินถนน (AEB)
- ระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ (Adaptive Cruise Control)
- ระบบเตือนการชนด้านหน้า (Forward Collision Warning System)
- ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง (Lane Keeping System)
- ระบบแจ้งเตือนการขับขี่ (Driver Alert System)
- ระบบเปิด-ปิดไฟสูงอัจฉริยะ (Auto High Beam Control)
แต่สิ่งที่หน้าสนใจสำหรับระบบความปลอดภัยนี้คือ ระบบช่วยโทรฉุกเฉิน Emergency Assist จะทำงานรวมกับระบบ SYNC 3 ภาษาไทย ที่รองรับ Apple Carplay และ Android Auto ระบบนี้ต้องต่อเข้ากับมือถือของเรา ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ข้อแม้คือถุงลมต้องทำงานหรือระบบตัดน้ำมันทำงานเมื่อเกิดการชนท้าย อย่างใดอย่างนึงระบบจะโทรเข้าศูนย์ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน(สพฉ.) ที่ให้บริการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง แบบอัตโนมัติแต่ระบบจะถามเจ้าของรถก่อนว่าจะโทรหรือไม่ถ้าไม่มีการตอบสนองระบบจะติดต่อและบอกตำแหน่งที่ตั้งเอง ซึ่งถึงว่าเป็นระบบที่ให้ความปลอดภัยสูงสุดทีเดียว
|
เครื่องยนต์ 2.2 ลิตร เทอร์โบ TDCi |
เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร เทอร์โบ (ใหม่) |
เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ไบเทอร์โบ (ใหม่) |
ขุมพลัง |
160 แรงม้า ที่ 3,200 รอบต่อนาที |
180 แรงม้า ที่ 3,500 รอบต่อนาที |
213 แรงม้า ที่ 3,750 รอบต่อนาที |
แรงบิด |
385 นิวตันเมตร ที่ 1,600-2,600 รอบต่อนาที |
420 นิวตันเมตร ที่ 1,750-2,500 รอบต่อนาที |
500 นิวตันเมตร ที่ 1,750-2,000 รอบต่อนาที |
เกียร์ |
เกียร์ธรรมดา 6 สปีด/ |
เกียร์ธรรมดา 6 สปีด/ |
เกียร์อัตโนมัติ 10 สปีด (ใหม่) |
สุดท้ายสรุปได้ง่ายคือดีกว่ารุ่นเก่าในทุกๆด้านกันเลยแต่มีเพียงบางอย่างอาจจะขัดใจสำหรับแฟนฟอร์ดหรือลูกค้าใหม่คือหน้าตาที่อาจจะไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปมากเพียงแต่เปลี่ยนอุปกรณ์บางอย่างเพิ่มเติมเท่านั้นแต่ที่แน่ชัดคือเครื่องยนต์ที่ให้การตอบสนองที่ดีอย่างชัดเจน
ข้อดี เครื่องใหม่กำลังมากขึ้น เกียร์ใหม่ฉลาดขึ้นเปลี่ยนตามการใช้งานของคนขับ ประหยัดน้ำมันขึ้นเมื่อรวมเครื่องและเกียร์เข้าด้วยกัน ระบบซิงค์ 3 (SYNC 3) ซึ่งสามารถจดจำเสียงและสั่งงานเสียงด้วยภาษาไทยได้ ระบบความปลอดภัยต่างๆที่เพิ่มขึ้น รถขับดีขึ้นทั้งการขับขี่และการควบคุม เสียงที่เงียบขึ้นในห้องโดยสาร
ข้อเสีย หน้าตาปรับน้อยไป ตำแหน่งเปลี่ยนเกียร์ที่ติดตั้งบนหัวเกียร์ใช้งานยาก สีส้มใหม่ดูจืดไปหน่อยรวมๆแล้วกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆบอกได้เลยว่าทางฟอร์ดให้ความสำคัญกับการขับขี่มากกว่าส่วนเรื่องการใช้งานผู้ใช้ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา
ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ มีสีภายนอกให้เลือก 7 สี และสีใหม่ 2 สี นั่นคือสีส้มเซเบรอ (Saber) และสีฟ้าไลท์นิ่ง บลู (Lightning Blue)
ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสองเชิญที่นี่
ความคิดเห็น