สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ความจุแบตเตอรี่ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ แต่สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือเรื่องระยะทางที่วิ่งได้ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง แต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่นก็มีความแตกต่างกัน ไม่เพียงแค่ความจุแบตเตอรี่ เรื่องสภาวะแวดล้อม และการใช้งานของแต่ละคนก็ส่งผลต่อระยะทางวิ่งด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งมาตรฐานระยะทางในปจุบันที่มีอ้างอิง ประกอบไปด้วย EPA NEDC และ WLTP ซึ่งแต่ละตัวมาจากที่ไหนกันบ้าง
มาตรฐานระยะทางรถไฟฟ้า EPA NEDC WLTP คืออะไร?
มาตรฐานระยะทางรถยนต์ไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
ในการทดสอบระยะทางที่รถยนต์ไฟฟ้าต่อการชาร์จหนึ่งครั้งของแต่ละรุ่น ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกจะใช้มาตรฐานการทดสอบในการอ้างอิงถึง ซึ่งปัจจุบันประกอบไปด้วย
- EPA หรือ Environmental Protection Agency
- NEDC หรือ New European Driving Cycle
- WLTP หรือ Worldwide Harmonised Light Vehicle Test Procedure
โดยมาตรฐาน NEDC และ WLTP ทั้งคู่เป็นมาตรฐานการทดสอบจากยุโรป ในขณะที่ EPA มาจากการทดสอบในสหรัฐอเมริกา แต่ละมาตรฐานก็มีการทดสอบที่แตกต่างกัน แต่ทั่วโลกให้การทดสอบของ EPA ให้ผลลัพท์ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
ทำไมมาตรฐานระยะทางจึงมีความแตกต่าง
ความแตกต่างระหว่างมาตรฐานของยุโรปและสหรัฐอเมริกาคือการเน้นที่ขั้นตอนการขับขี่ในเมืองและทางหลวงในยุโรป ดังนั้น NEDC และ WLTP มุ่งเน้นไปที่การเดินทางในเมืองและชานเมืองเป็นหลัก เนื่องจากเป็นประเภทของการขับรถที่ชาวยุโรปส่วนใหญ่ แต่สำหรับ EPA ให้ความสำคัญกับการขับรถบนทางหลวง เนื่องจากชาวอเมริกันใช้เวลาเดินทางระหว่างรัฐมากขึ้น ไม่ว่าจะเดินทางไปทำงานหรือเดินทางไกลเพื่อการท่องเที่ยว
NEDC กับ WLTP แตกต่างกันอย่างไร?
ทางด้านมาตรฐานการทดสอบ WLTP ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 ซึ่งกำลังจะมาแทนที่วิธีการของ NEDC ซึ่งขั้นตอนการทดสอบของ WLTP ที่มีความใหม่กว่า มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบยานพาหนะภายใต้สภาวะที่สมจริงยิ่งขึ้น
ซึ่งการทดสอบทั้ง 2 มาตรฐาน สามารถประมาณระยะทางการวิ่งได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ตัวเลขที่แม่นยำยิ่งขึ้น WLTP ได้ทำการปรับปรุงหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น WLTP เพิ่มการทดสอบเดี่ยวที่ใช้เวลา 20 นาที เป็นการทดสอบแบบไดนามิกเป็นเวลา 30 นาที ทำให้รอบการทดสอบจะเพิ่มระยะทางและจำนวนเฟสการขับขี่เป็นสองเท่า รวมถึงความสมดุลที่ดีขึ้นระหว่างการขับขี่ในเมืองและนอกเมือง WLTP ยังทำการทดสอบยานพาหนะด้วยความเร็วสูงกว่า จุดเปลี่ยนที่แตกต่างกัน และอุณหภูมิที่สมจริงกว่า NEDC
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้การทดสอบ WLTP มีความแม่นยำมากขึ้น โดยระยะทางของการวิ่งด้วยไฟฟ้าประมาณการสูงกว่าประมาณ 10% เปรียบเทียบกับแนวโน้มของ NEDC ที่จะประเมินค่าสูงไปประมาณ 25% ถึง 30% จึงทำให้ WLTP มีความน่าเชื่อถือมากกว่า
มาตรฐาน EPA ประมาณการระยะทางวิ่งอย่างไร?
ในสหรัฐอเมริกา ขั้นตอนการทดสอบของ EPA นั้นเข้มงวดกว่า NEDC และ WLTP ส่งผลให้ค่าประมาณที่แม่นยำกว่าสำหรับการขับขี่บนถนนในอเมริกาในโลกความจริง
การทดสอบมาตรฐาน EPA มีหลายขั้นตอน และหลายรูปแบบมาก เริ่มจากต้องชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มตามด้วยการจอดรถค้างคืน ในวันถัดไป EPA จะนำ EV ไปใช้บนไดนาโมมิเตอร์ หรือที่รู้จักกันว่า ไดโนเทส จากนั้นทำการทดสอบการขับขี่ในเมือง ทางหลวง และสภาวะคงที่อย่างต่อเนื่อง จนกว่าแบตเตอรี่จะหมด หลังจากการชาร์จแบตเตอรี่กลับอีกครั้ง จึงจะได้รับค่าประมาณสำหรับระยะการขับขี่จาก EPA นอกจากนี้ การทดสอบนี้ยังสามารถระบุค่าประมาณไมล์ต่อแกลลอนเทียบเท่า (MPGe) ที่เชื่อถือได้นอกเหนือจากระยะทางวิ่งรถ
อย่างที่ทราบกันว่า ค่ายรถยนต์ที่เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า ได้ใช้มาตรฐานการทดสอบทั้ง 3 แบบ ในการอ้างอิงถึงระยะทางที่วิ่งได้ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง แล้วแต่ผู้ผลิตได้กำหนดมา สุดท้ายนี้ อย่าลืมว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะมีระยะทางขับขี่จริงจะขึ้นอยู่สไตล์การขับขี่ การใช้อุปกรณ์เสริม และสภาพถนน ดังนั้นตัวเลขต่างๆ อาจจะไม่ตรงกันก็เป็นได้
Autospinn เว็บไซต์รายงานข่าวรถยนต์ รถยนต์ไฟฟ้า รถมอเตอร์ไซค์ เช็ควันเปิดตัวรถใหม่ ราคารถ ตารางผ่อน และรีวิวรถยนต์ รถจักรยานยนต์ โดยทีมงานมืออาชีพ
ซื้อ-ขาย รถมือสอง ได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัยชัวร์ ต้องที่ ตลาดรถ One2car
ความคิดเห็น