วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้องทำอย่างไร? Share this

วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้องทำอย่างไร?

Sunuttinee Phumbanyen
โดย Sunuttinee Phumbanyen
โพสต์เมื่อ 19 June 2567

เปิดขั้นตอนการพ่วงแบตและจัมป์แบตที่ปลอดภัยและถูกต้อง พร้อมทั้งข้อควรระวังระหว่างพ่วงแบตรถยนต์มีอะไรบ้าง เดี๋ยวเลดี้พาไปชมค่ะ 


วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้องทำอย่างไร?

รถยนต์สตาร์ทไม่ติดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และหนึ่งในนั้นก็คือ แบตเตอรี่เสื่อมหรือหมด ซึ่งอาจเกิดจากการลืมปิดไฟหน้ารถ ในรถ และเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ รวมถึงจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานานโดยที่ไม่สตาร์ทเพื่อวอร์มเครื่องยนต์และแบตเตอรี่เลย ดังนั้นในกรณีฉุกเฉินคุณควรมีอุปกรณ์พื้นฐานที่สามารถช่วยคุณแก้ปัญหานี้ได้ก็คือ “สายจั้มแบตเตอรี่” หรือ “Jumper Cable” ซึ่งเลดี้จะพาไปชมขั้นตอนการพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้องปลอดภัย ผู้หญิงอย่างเราก็ทำได้ง่ายๆ ค่ะ 

วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้องทำอย่างไร? Cover

วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้อง

  • เตรียมสายจั้มแบตเตอรี่ หรือ Jumper Cable ไอเทมสำคัญที่ควรมีติดรถเอาไว้เสมอ วิธีการเลือกซื้อสายจั้มแบตเตอรี่ ควรเลือกที่มีความยาวเพียงพอ ไม่สั้นเกินไป เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกรณรีที่เราจอดรถไว้ในตำแหน่งที่ยากจะเข้าถึง

วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้อง (1)

  • รถยนต์อีกคันเพื่อช่วยจั้มแบตเตอรี่ ทำการเทียบจอดโดยการหันหน้าเข้าหากัน และเว้นระยะห่างเล็กน้อย จากนั้นดับเครื่องยนต์และปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าของทั้ง 2 คันให้เรียบร้อย เนื่องจากอาจเกิดประกายไฟระหว่างการพ่วงแบตเตอรี่ได้ 

วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้อง (2)

  • ต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ โดยที่พ่วงจากแบตเตอรี่ของรถยนต์ทั้งสองคัน ขั้นตอนแรกให้นำสายพ่วงสีแดงต่อเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่ของรถคันที่แบตหมด นำปลายสีแดงของสายพ่วงอีกด้านต่อเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่ของรถคันที่มาช่วย หลังจากนั้นนำสายพ่วงสีดำ พ่วงเข้ากับขั้วลบแบตเตอรี่ของรถคันที่มาช่วย และสายพ่วงสีดำอีกด้านหนึ่งที่เหลือ ให้หนีบไว้ที่ตัวถังรถหรือบริเวณที่เป็นโลหะของรถยนต์ (ข้อควรระวัง ห้ามใช้สายพ่วงสีดำพ่วงกับขั้วลบแบตเตอรี่ของรถคันที่แบตหมด เพราะอาจเกิดอันตรายได้)

วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้อง (3)

  • สตาร์ทเครื่องยนต์ เมื่อต่อสายพ่วงเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ของรถยนต์คันที่มาช่วยจัมพ์แบต สตาร์ททิ้งไว้ประมาณ 3-4 นาที และเร่งคันเร่งเบาๆ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า จากนั้นดับเครื่อง แล้วให้สตาร์ทเครื่องยนต์ของรถยนต์คันที่แบตหมด ทำการเร่งเครื่องเบาๆ โดยครั้งนี้ให้สตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ 1-2 นาที ดูว่ามีประจุไฟฟ้าเข้ามาที่แบตเตอรี่เพียงพอแล้วหรือยัง (ข้อควรระวัง ห้ามสตาร์ทรถสองคันพร้อมกัน เพราะอาจเกิดอันตรายได้)

วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้อง (4)

  • ถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ โดยเริ่มจากถอดสายสีดำที่หนีบตัวถังรถหรือบริเวณที่เป็นโลหะของรถคันที่แบตหมดก่อน ตามด้วยถอดสายสีดำออกจากขั้วลบแบตเตอรี่รถคันที่มาช่วย และจึงถอดสายสีแดงออกจากขั้วบวกแบตเตอรี่รถคันที่มาช่วย สุดท้ายค่อยถอดสายสีแดงออกจากขั้วบวกแบตเตอรี่รถคันที่แบตหมด

สิ่งที่ควรระวังระหว่างพ่วงแบตรถยนต์

จริงๆ แล้วการพ่วงพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์เป็นความรู้พื้นฐานที่ทั้งผู้หญิงและผู้ชายควรรู้ เพียงแต่อาจจะต้องระมัดระวังให้มากหน่อย เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อตัวรถและตัวคุณเอง ซึ่งมีข้อควรระวังดังต่อไปนี้ 

  • ระวังไม่ให้สายจัมพ์ต่างขั้วมาสัมผัสหรือโดนกัน อาจเกิดการลัดวงจรได้
  • ห้ามสตาร์ทรถสองคันพร้อมกัน
  • ห้ามพ่วงสายพ่วงแบตสีดำกับขั้วลบแบตเตอรี่ของรถคันที่แบตหมด
  • ห้ามทำอะไรที่ก่อให้เกิดประกายไฟ เช่น สูบบุหรี่ และจุดไฟแช็ก

วิธีพ่วงแบตรถยนต์ และการจัมป์แบตที่ถูกต้อง (5)

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 1.98% - 5.25% (เทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก 3.81% - 9.80% ต่อปี)
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 1.98% - 5.25% (เทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก 3.81% - 9.80% ต่อปี)

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ