เทคโนโลยีจาก LG Chem ช่างเข้ามาถูกจังหวะซะจริงๆ หลังจากที่มีประเด็นร้อนแรงในเรื่องของแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าเกิดลัดวงจร และทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามจนเป็นข่าวดังเมื่อไม่กี่วันมานี้ วันนี้เลดี้จะพาไปชมนวัตกรรม "ฟิวส์เทอร์มอล" ที่ว่ากันว่าสามารถแก้ปัญหาไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้าได้ จะมีหลักการอย่างไร? ไปชมกันค่ะ
ปัญหาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าลุกไหม้อาจได้รับการแก้ไขเร็วๆ นี้ ด้วยเทคโนโลยีจาก LG Chem
ความร้อนสูงเกินไปหรือไฟฟ้าลัดวงจร อาจเป็นปัญหาอันก่อให้เกิดไฟไหม้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากก็จริงแต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ จากเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ในบ้านเราที่เห็นกันตามข่าว เป็นเรื่องที่น่ากลัวและอันตรายถึงชีวิต เพราะหากเกิดไฟไหม้แบตเตอรีขึ้นมา การระงับเปลวไฟจะค่อนข้างทำได้ยากลำบากมาก เนื่องจากเซลล์แบตเตอรี่แต่ละเซลล์ จะถูกหลอมละลายลง และกลายเป็นเชื้อเพลิงที่ยอดเยี่ยมให้กับเปลวไฟ ซึ่งวิธีเดียวที่จะหยุดไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้าได้ก็คือ การดับด้วยน้ำหลายร้อยหรือหลายพันลิตร แต่ดูเหมือนว่า "LG Chem" บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ของเกาหลีใต้ จะพบวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว
"ฟิวส์ความร้อน" แก้ปัญหาไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้าได้จริงหรือ?
จากการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications LG Chem กล่าวว่า "ฟิวส์" หรือ วัสดุที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิ ซึ่งมีขนาด 1/100 ตามค่าเฉลี่ยของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ ซึ่งหมายความว่าวัสดุนี้มีความบางมากพอที่จะจัดวางระหว่างชั้นแคโทด (Cathode Layer) ในด้านลบ หรือ กราวน์ (Negative side or Ground) และตัวเก็บกระแสไฟฟ้าในด้านบวก หรือ ขั้วบวก ของเซลล์แบตเตอรี่ เพื่อที่จะไปช่วยระงับการลดลงของความหนาแน่นในเซลล์แบตเตอรี ด้วย "ฟิวส์ความร้อน" จาก LG Chem ดังนั้นคำตอบก็คือ มีโอกาสแก้ปัญหาไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้าได้ 70-80%
ซึ่งการทำงานของ "ฟิวส์" ที่ว่านี้ ก็คือการช่วยหยุดหรือลดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรีเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นได้ แต่มันจะไม่ทำงานเหมือนฟิวส์ทั่วๆ ไป อย่างที่เราคุ้นเคย หรือตัดพลังงานลงเอาดื้อๆ ไปเฉยๆ โดยการทำงานของวัสดุนี้ จะเป็นเพียงการช่วยต้านทานไฟฟ้าในกรณีที่เกิดภาวะอุณหภูมิสูงจนเกินไป และอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ขึ้นได้ ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าพบว่า "ฟิวส์" นี้จะช่วยต้านทานพลังงานได้สูงถึง 5 กิโลโอห์ม เป็นปริมาณที่มากเพียงพอต่อการช่วยหยุดการเกิดปฏิกิริยาระหว่างขั้วบวกและขั้วลบได้อย่างน่าอัศจรรย์
ผลการทดสอบโดยชุดแบตเตอรี่ลิเธียมโคบอลต์ออกไซด์
LG Chem ได้มีการนำเอาชุดแบตเตอรีลิเธียมโคบอลต์ออกไซด์และนิกเกิลโคบอลต์แมงกานีส (NCM) โดยทำให้ชุดแบตเตอรีมีการใช้งานเสมือนจริง ทั้งการกระแทก ขีดข่วน หรือเจาะ ทำให้สภาพดูเหมือนจะไม่สามารถป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้อย่างสมบูรณ์ และได้นำเอา "ฟิวส์" มาทำหน้าที่ในการระงับไฟหรือช่วยลดความหนาแน่นของมวลพลังงานเพื่อช่วยให้สามารถดับไฟได้ง่ายขึ้น โดยจะทำการทดสอบ 2 แบบ ทั้งที่มีฟิวส์เทอร์มอลและไม่มี ซึ่งพบว่าชุดแบตเตอรีที่มีฟิวส์เทอร์มอล 70% ไม่เกิดการติดไฟ และ 30% เกิดการติดไฟ แต่สามารถดับได้ภายในไม่กี่วินาที ส่วนชุดแบตเตอรีที่ไม่มีฟิวส์เทอร์มอลทั้งชุดติดไฟแบบ 100%
การทดลอง คิดค้น และวิจัยทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งสำหรับการเริ่มใช้จริงกับรถยนต์ไฟฟ้าคาดว่าน่าจะเริ่มขึ้นอีกทีช่วงปี 2025 แต่ดูเหมือนว่า Mr. Lee Jong-gu ประธานบริหารใหญ่ของ LG Chem จะเชื่ออย่างหมดหัวใจว่าเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของเขานั้นจะสามารถใช้งานได้จริงในเร็วๆ นี้ และเขายังมั่นใจอย่างยิ่งว่าจะก้าวเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการแข่งขันของตลาดแบตเตอรีในอนาคต
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com
ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน
ความคิดเห็น