ประมาทร่วมคืออะไร เกิดอุบัติเหตุใครต้องรับผิดชอบ? Share this
Lifestyle
โหมดการอ่าน

ประมาทร่วมคืออะไร เกิดอุบัติเหตุใครต้องรับผิดชอบ?

Sunuttinee Phumbanyen
โดย Sunuttinee Phumbanyen
โพสต์เมื่อ 18 November 2567

ประมาทร่วมหมายถึงอะไร? ใครเป็นคนผิด ใครที่ต้องรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุในครั้งนี้ แล้วประกันชั้นไหนที่ให้ความคุ้มครองการ ประมาทร่วม บ้าง? 


ประมาทร่วมคืออะไร เกิดอุบัติเหตุใครต้องรับผิดชอบ?

ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม จำเป็นต้องสืบสวนว่าสรุปแล้วใครเป็นคนถูก ใครเป็นคนผิด แล้วใครที่จะต้องรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุในครั้งนั้น รวมถึงอุบัติเหตุทางรถยนต์ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งหลายๆ ครั้งเรามักจะได้ยินคำว่า "ประมาทร่วม" เลยทำให้เกิดความสับสนว่าแล้วสรุปว่ามีคนผิดกี่คน? ใครบ้างที่ต้องจ่ายค่าเสียหาย? แล้วประกันล่ะจะจ่ายไหม? วันนี้เลดี้รวบรวมความรู้มาให้ครบจบในหน้าเดียว อยากรู้เรื่องไหนไปหาคำตอบกันค่ะ 

ประมาทร่วมคือ (1)

 

ประมาทร่วมหมายถึงอะไร?

ประมาทร่วม มีความหมายตรงตัวเลยคือ อุบัติเหตุในครั้งนี้เกิดขึ้นจากความประมาณของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งทางกฎหมายหมายความว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” แปลเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายคือ ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างก็มีความประมาทจนกลายเป็นชนวนให้เกิดอุบัติเหตุ จึงมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งกรณีประมาทร่วมนั้นเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ และมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้ 

  • ประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอม
    ประมาทร่วมกันแต่คู่กรณีไม่ยอม มีความต้องการที่จะให้เราเป็นฝ่ายชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมา ต้องรีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อพูดคุยเจรจาไกล่เกลี่ย หรือหาหลักฐานมาประกอบคำให้การของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อยืนยันการประมาทร่วมในครั้งนี้ โดยที่เจ้าหน้าที่จะเป็นคนตัดสินว่าท้ายที่สุดแล้วใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
  • ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บ
    ประมาทร่วมและคู่กรณีบาดเจ็บ โดยพื้นฐานแล้วถึงแม้จะเป็นการประมาทร่วม แต่คุณสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ.รถยนต์ หรือประกันภัยภาคบังคับได้ นอกจากนั้นหากถือกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เพิ่มเติมก็สามารถใช้ร่วมกันได้ตามเงื่อนไขการรับประกัน 
  • ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส
    ประมาทร่วมและคู่กรณีบาดเจ็บสาหัส เบื้องต้นจะเหมือนกับกรณีของการบาดเจ็บแบบปกติ แต่จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมเข้ามา เช่น ได้รับค่าชดเชยจากการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 35,000 บาท/คน และกรณีที่เสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 35,000 บาท/คน เช่นเดียวกัน
  • ประมาทร่วม คู่กรณีไม่มี พ.ร.บ.
    ประมาทร่วมแต่คู่กรณีไม่มี พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานตามที่ข้อกฎหมายกำหนด ดังนั้นทางคู่กรณีจึงต้องมีการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด (ถ้าไม่ได้ถูกตัดสินว่าประมาทร่วม แต่คู่กรณีไม่มี พ.ร.บ. จะมีกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยที่คอยช่วยเหลือดูแล ในส่วนของค่าเสียหายให้เราก่อน หลังจากนั้นทางกองทุนจะไปติดตามเรียกเก็บค่าเสียหายคืนจากคู่กรณีเอง
  • ประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต
    ประมาทร่วมและคู่กรณีเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยเบื้องต้นจาก พ.ร.บ. 35,000 บาท/คน ส่วนความคุ้มครองด้านอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับทางประกันภัยที่ถือครองไว้ตามเงื่อนไข  
  • ประมาทร่วม ไม่มีประกัน
    ประมาทร่วม ไม่มีประกัน จะได้รับเพียงแค่การคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายด้านทรัพย์สิน ค่ารักษาบุคคลภายนอก หรือค่าเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ ทั้งหมดนี้จะต้องผิดชอบเองทั้งสิ้น

ประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอม

 

ประกันชั้นไหนบ้าง? ที่คุ้มครองกรณี "ประมาทร่วม" 

  • ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองแทบจะทุกกรณี ยกเว้นการดื่มสุรา หรือสารเสพติด หรือทำสิ่งผิดกฎหมาย ในกรณีอื่นๆ ยังให้ความคุ้มครองเกือบทุกรูปแบบ รวมถึงการชนแบบไม่มีคู่กรณี อาทิ ชนสุนัข ชนแมว ชนกำแพง ชนรั้ว ชนฟุตบาท เป็นต้น  
  • ประกันชั้น 2+ และ 3+ จะให้ความคุ้มครองกรณีประมาทร่วมด้วยเช่นเดียวกัน แต่จะไม่คุ้มครองกรณีชนสิ่งของที่ไม่ใช่รถหรือมอเตอร์ไซค์ อาทิ ชนสุนัข ชนแมว ชนกำแพง ชนรั้ว ชนฟุตบาท เป็นต้น

ประกันที่คุ้มครองประมาทร่วม

สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ก็คือ หากเกิดอุบัติเหตุและถูกตัดสินว่าประมาทร่วม นั่นหมายความว่าต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบค่าเสียหายกันเอง จะไม่ต้องรับผิดชอบให้กับอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน เนื่องจากถูกตัดสินว่าร่วมกันประมาททั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งถ้าใครที่ไม่มีประกันภัยก็จะเสียค่าใช้จ่ายสูงหน่อยนั่นเอง 

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ