"เมารถ" แก้ได้ด้วยวิธีง่ายๆ เอาอยู่ทุกทริป! Share this
Lifestyle
โหมดการอ่าน

"เมารถ" แก้ได้ด้วยวิธีง่ายๆ เอาอยู่ทุกทริป!

Sunuttinee Phumbanyen
โดย Sunuttinee Phumbanyen
โพสต์เมื่อ 17 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เมารถ อาการที่ผู้โดยสารอย่างเราไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวไปตลอดการเดินทาง จะดีกว่ามั้ย? ถ้าเลดี้มีไอเดียที่จะช่วยให้เพื่อนๆ แก้อาการเหล่านี้แบบหายเป็นปลิดทิ้ง รู้สึกดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วแน่นอน ไปดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง...


"เมารถ" แก้ได้ด้วยวิธีง่ายๆ เอาอยู่ทุกทริป!

อาการเมาจากการเดินทางไปท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบินก็ตาม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกทริป วันนี้เลดี้มีแนวทางวิธีที่จะไม่ให้ตัวเองรู้สึกวิงเวียนศีรษะหรือคลื่นไส้ระหว่างการเดินทาง ลองทำแบบนี้ดูค่ะ รับรองว่าจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้อย่างแน่นอน 

แก้อาการเมารถ

1. พยายามนั่งรถบริเวณส่วนหน้าของรถ

ที่ต้องให้นั่งบริเวณส่วนหน้าของรถก็เพราะว่าประสาทส่วนต่างๆ ของเราจะได้รับรู้ถึงจังหวะการเคลื่อนตัว รวมถึงอาการโคลงเคลงของรถได้ จากการทดลองพบว่าวิธีนี้ช่วยให้ผู้ชอบเมารถ มีอาการวิงเวียนศีรษะหรือคลื่นไส้ลดลงได้อย่างมาก ทั้งนี้ก็เพราะประสาทของเรารับรู้ความเคลื่อนไหวของรถและปรับตัวตามนั่นเอง

2. มองไปไกลๆ ใช้สายตามองตรงไปข้างหน้าเสมอ

พยายามไม่ก้มๆ เงยๆ หรือใช้สายตาจดจ่อกับมือถือหรือมุมมองภายในรถ ให้มองออกไปไกลๆ และนิ่งๆ เพื่อให้สมองมั่นใจว่าอะไรอยู่ด้านบน ล่าง ซ้าย ชวา และทราบถึงสถานะและตำแหน่งของตัวเองได้ถูกต้องขณะที่รถหรือพาหนะเคลื่อนไหว ยิ่งเฉพาะเวลาที่คุณรู้สึกคลื่นไส้ ให้หลับตาและหายใจช้าๆ โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที

3. พยายามสูดอากาศบริสุทธิ์ให้ได้มากที่สุด

ท่องไว้เสมอว่า "หายใจลึกๆ" ซึ่งคุณสามารถลุกออกจากที่นั่งและเดินเล่นข้างนอกรถซักครู่ พยายามแวะพักบ่อยๆ เพื่อเปิดให้อากาศบริสุทธิ์เข้ามาภายในตัวรถมากที่สุด หรือเร่งเครื่องปรับอากาศให้แรงขึ้นเพื่อให้ลมเป่าหน้า

4. จิบหรือดื่มน้ำอัดลมในปริมาณที่พอเหมาะ

ภาวะขาดน้ำอาจทำให้เกิดอาการเมารถได้ดังนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอ วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่รู้สึกมีอาการมวนท้องมากๆ เพราะน้ำอัดลมจะไปช่วยขับดันกรดในกระเพาะออกมา สามารถลดอาการมวนท้องลงได้พอสมควร และนอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการมวนท้องควรสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ในระหว่างที่เกิดอาการ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้ความรู้สึกวิงเวียนนั้นลดลงได้

วิธีแก้อาการเมารถง่ายๆ

5. ห้ามอ่านหนังสือในขณะที่กำลังนั่งรถ

การที่เรามองอะไรที่เป็นของชิ้นเล็กๆ ที่เขย่าหรือเคลื่อนไหวในรถ จะทำให้ประสาทหรือสมาธิของเราจดจ่ออยู่ที่ตรงข้างหน้าเท่านั้น และอาการที่ตามมาก็คือร่างกายปรับสมดุลตามการเคลื่อนไหวของรถไม่ได้ อาการเมาจึงมักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีพฤติกรรมอ่านหนังสือ/เล่นโทรศัพท์บนรถ ดังนั้นในขณะนั่งรถเราจึงไม่ควรจ้องหรือเพ่งอะไรอยู่ที่จุดเดียว พยายามมองออกไปไกลๆ 

6. ทานขิงหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

เชื่อหรือไม่ว่าการรักษาแบบธรรมชาตินี้สามารถช่วยบรรเทาความปั่นป่วนของท้องคุณได้เพียงเวลาไม่นาน ไม่ว่าจะเป็น น้ำขิงร้อนๆ หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว อาทิ มะม่วง มะดัน มะขาม ซึ่งรสเปรี้ยวจากผลไม้สามารถช่วยลดอาการเมาหรือวิงเวียนลงได้ แต่แนะนำว่าอย่าทานเยอะ เพราะจะเกิดกรดในกระเพาะและทำให้ท้องเสียได้

7. ทานอาหารเบาท้อง

การเดินทางขณะที่ท้องว่างอยู่จะทำให้อาการคลื่นไส้ของคุณแย่ลงกว่าเดิมมาก ดังนั้นอย่าลืมทานอาหารที่เบาท้อง อาทิ แครกเกอร์ องุ่น แอปเปิลเขียว แต่อย่าทานมากเกินไปและควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด รสเผ็ดจัด หรือรสเค็มจัด

วิธีแก้อาการเมารถง่ายๆ (1)

8. ทานยาแก้เมารถ

การใช้ยาแก้เมารถควรใช้ตามฉลากยาหรือตามที่เภสัชกรแนะนำเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเองมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร โดยยาแก้เมารถที่นิยมใช้มีดังต่อไปนี้

  • ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) เป็นยาแก้เมารถในกลุ่มที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือสั่งจ่ายโดยแพทย์ก็คือ ยาไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) และยาไซไคลซีน (Cyclizine) ซึ่งมีส่วนช่วยบรรเทาหรือป้องกันอาการเมารถอันเกิดจากสารฮิสตามีน ซึ่งเป็นต้นเหตุเดียวกันกับการเกิดอาการแพ้ต่างๆ ซึ่งยาแต่ละตัวจะมีปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาที่ต่างกันไป เราจึงควรอ่านฉลากยาก่อนเสมอ แต่สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป ยาไดเมนไฮดริเนตควรกินในปริมาณ 50–100 มิลลิกรัม ทุก 4–6 ชั่วโมง ส่วนยาไซไคลซีนควรกินในปริมาณ 50 มิลลิกรัม ทุก 4–6 ชั่วโมง โดยยาทั้งสองชนิดนี้ควรใช้ก่อนออกเดินทางอย่างน้อย 30–60 นาที
  • ยากลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิก (Anticholinergics) เป็นยากลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิกที่ออกฤทธิ์ปรับสมดุลของสารสื่อประสาทอย่างแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ที่ผิดปกติในสมอง อีกทั้งยังยับยั้งการส่งสัญญาณต่างๆ ไปสู่สมองส่วนกลางที่อาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน จึงอาจช่วยป้องกันการเมารถได้ ตัวอย่างยาแก้เมารถในกลุ่มนี้คือ ยาสโคโปลามีน (Scopolamine) ชนิดแผ่นแปะหลังหู แนะนำให้ใช้ก่อนเดินทางอย่างน้อย 4–6 ชั่วโมง ตามคำสั่งของแพทย์ผู้จ่ายยาเท่านั้น เพราะอาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง เจ็บคอ ท้องผูก แดงหรือคันผิวหนังบริเวณที่ใช้แผ่นแปะ มีปัญหาด้านการมองเห็น ง่วงซึม เวียนศีรษะ สับสน รู้สึกกระสับกระส่าย ฉุนเฉียวง่าย หรือมีเหงื่อออกมาก

วิธีแก้อาการเมารถง่ายๆ (2)

หากใครที่ชอบมีอาการเมารถขณะเดินทาง และทำให้รู้สึกไม่สบายตัวตลอดทริป ลองนำเคล็ดลับดีๆ เหล่านี้ ที่เลดี้นำมาฝากไปทำตามดูนะคะ เทคนิคไหนดีใช้แล้วได้ผล อย่าลืมบอกต่อกันนะคะ 

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน


ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ