ณ วันที่ 4 (28 ตค. 2556) ของการเข้ามาชม และเอาใจช่วย นักแข่งไทย ในการแข่งขัน MediaCorp Subaru Challenge:The Asian Face Off 2013 (แตะรถชิงรถ) ทาง Subaru ได้จัดให้มีการขับทดสอบรถยนต์ทั้ง 4 รุ่น ให้กับนักข่าวจากต่างประเทศ ที่มาทำข่าวในงานนี้ ได้แก่ XV จำนวน 2 คัน สีขาว และฟ้า โดยในตอนแรก ทาง Instructor ไม่ยอมบอกเราว่า 2 คันนี้แตกต่างกันอย่างไร บอกเพียงว่า ให้เราได้เข้าไปลองขับแล้ว เดี๋ยวจะทราบเอง คันต่อมา คือ Forester และ BRZ ซึ่งได้จัดสถานที่ทดสอบเป็นการเช่าบริเวณพื้นที่ด้านหลังลานจอดรถ จัดวาง Pylon ให้ขับขี่ไปตามไลน์สนามจนครบรอบ แต่น่าเสียดายเพียงที่ได้ทดลองขับแบบเบาๆ เพียงคนละ 2 รอบสนามเท่านั้น แต่ทว่าต้องขอขอบคุณ คุณตะวัน Marketing Manager Motorimage ของไทยเรา ที่ได้ต่อรองให้ทางเราได้ขับกันคนละ 3 รอบสนาม
โดยในการขับขี่รอบแรก Instructor ได้สอนนำไลน์ การขับขี่ก่อน คือ เริ่มจากการขับ Slalom Zigzag ไปมาเพื่อทดสอบ Handling และช่วงล่าง U-Turn กลับรถซ้าย ก่อนจะ Slalom กันหนักๆ อีกสักรอบ และ U-turn ขวาอีกครั้ง ก่อนที่จะตรงยาวๆ ให้ดูอัตราเร่ง และถึงจุดที่ตั้ง Pylon ให้กระทืบเบรก อย่างหนัก เพื่อทดสอบ สมรรถนะในการหยุดรถ และระบบ ABS, EBD
สำหรับผมได้เริ่มขับคันแรก คือ Subaru XV คันสีขาว พอผมได้เข้าไปนั่ง ก็จะรู้สึกได้ทันที ว่ามันคือ ตัวสเป็กที่ใช้ขับในบ้านเรา นั่นเอง มีจอ Navi อยู่ตรงคอนโซลกลาง ไม่มี Sunroof กับ Handling ของพวงมาลัย ที่มีน้ำหนักหนืดพอตัวเมื่อได้ลองโยน Handling Slalom จะพบได้ค่อนข้างชัดเจนว่า Handling พวงมาลัย นั้นดูจะยังไม่คมแม่นยำ สักเท่าไร การหักวงเลี้ยวดูจะไม่กระฉับกระเฉง นัก พร้อมกับการโยนของตัวรถที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร และเมื่อกลับรถ เสร็จ ก็กดคันเร่งสุด แบบ Full Throtte รอบวิ่งแช่ยาวๆ ตามแบบเกียร์ CVT ก่อนถึงจุดตั้ง Pylon ให้เบรกหนักๆ ซึ่งผมได้ลงน้ำหนักจนสุดในทุกครั้ง จน ABS ได้ทำงานแบบมีประสิทธิภาพ เสริมกันกับระบบ EBD ซึ่งกว่ารถจะหยุดนั้นจะเลย Pylon ที่ตั้งให้ไว้สักเล็กน้อย
คันถัดมา ก็ยังคงเป็น Subaru XV แต่เป็น คันสีฟ้า เมื่อเข้าไปนั่งข้างในจะรู้สึกได้ทันทีว่า มันแตกต่างกันในส่วน ออปชั่น คือ จะมี Moonroof มาให้ พร้อมเครื่องเสียง 2Din และบริเวณพวงมาลัย จะปุ่ม ที่ใช้ควบคุมจอ MID ซึ่งอยู่ด้านล่าง ซ้าย นอกจากนั้น ถ้าพูดถึงงานประกอบ เท่าที่ทดลองขับ พบว่าแทบไม่มีอะไรแตกต่าง ยกเว้นอย่างเดียวคือ Handling พวงมาลัย ซึ่งมีน้ำหนักที่เบากว่า คันสีขาวมาก ซึ่งมีความคล่องตัวมากกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ผมกลับชอบพวงมาลัยของคันแรกมากกว่าที่ดูให้ฟีลลิ่งเป็นธรรมชาติ ดีกว่า แต่เมื่อขับเข้า Slalom กลับพบว่ามันแทบจะไม่แตกต่างกันเลย คือ พวงมาลัยยังดูไม่เฉียบคมพอ การหัก วงเลี้ยวเพื่อ Slalom ที่ 180 องศา เหมือนจะยังไม่ค่อยเข้า ซึ่งต้อง เผื่อระยะไม่ให้ชิด Pylon จนเกินไป ไม่เช่นนั้น โอกาสชนล้ม มีค่อนข้างสูง หรือ อาจต้องเผื่อวงเลี้ยวพวงมาลัยเพิ่มขึ้นมากอีกหน่อย และต้องรีบแก้พวงมาลัย คืนให้โดยเร็ว
ถัดมาคันที่ 3 ซึ่งผมไม่เคยได้ขับเลย นั่น คือ Forester 2.0 XT ซึ่งเป็นตัวเครื่องยนต์ Boxer Turbo แบบหัวฉีดตรง Direct Injection ซึ่งมีกำลังให้ใช้จุใจ 240 แรงม้า การขับขี่ Slalom หลบหลีก Pylon เราพบว่า พวงมาลัย นั้นดูจะตอบสนองได้ กว่า XV พอสมควร คือ การหักวงเลี้ยวจะเข้าได้ดีกว่า และแม่นยำกว่า แต่การโยนของช่วงล่าง ยังต้องบอกตามตรงว่า ก็ยังค่อนข้างสูงอยู่ แต่จะเฟิร์มกว่า XV แต่ในช่วง U-Turn ซ้ายหนักๆ รถจะโคลง ค่อนข้างหวาดเสียว ไม่แพ้กันนัก จากตัวรถที่มิติใหญ่กว่า สูงกว่า และอาการ Understeer ออกให้เห็นชัดเจนไม่แพ้กันกับ XV ด้านการตอบสนองของเครื่องยนต์ ต้องขอบอกว่าชอบมากจริงๆ แรงบิด 350Nm มีมาให้ที่รอบต่ำถึงกลาง 2,400-3,600rpm นั่นทำให้ การตอบสนองค่อนข้างติดเท้าดีพอสมควร ในการโยน Slalom ไม่สามารถกดคันเร่งเพียง 1/3 ก็เพียงพอแล้ว ในช่วงทดสอบระยะเบรก เราพบว่า ทำตามเงื่อนไขเดิม กระแทกคันเร่งออกหมด และเบรกในจุดที่ Pylon ตั้ง เจ้าป่า Forester นี้ กลับใช้ระยะเบรกที่ ยาวกว่าเพื่อน คือ เลย Pylon ที่ตั้งไว้พอสมควร ซึ่งคาดว่า มีสาเหตุจาก ความเร็ว ที่เมื่อถึงจุดเบรก แล้ว จะอยู่ที่ราว 50 กม./ชม. ในขณะที่ XV อยู่ประมาณ 40 กม./ชม. + เล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก น้ำหนักตัวที่มากกว่า และความเร็วถึงจุดเบรกที่สูงกว่าด้วย
และคันปิดท้าย BRZ รถสปอร์ต ฝาแฝด Toyota 86 ซึ่งอิง พื้นฐาน โครงสร้างตัวรถมาแบบเดียวกัน ยันเทคโนโลยีเครื่องยนต์ แต่มีการเซ็ตอัพช่วงล่างที่ออกมา แตกต่างกัน เมื่อเข้าไปนั่ง และเคลื่อนตัวออก พวงมาลัยความหนืดและน้ำหนักมาก ซึ่งถ้าเทียบกับล้อขนาด 17” ซึ่งถือว่าหนักเอาเรื่องเลย ถ้าต้องการเปลี่ยนล้อให้สวยดูเต็มซุ้มขึ้นอย่าง 18” หรือ อาจโดดถึง 19” คงหนักไม่แพ้ Supercar ญี่ปุ่น อย่าง GT-R แน่ๆ แต่สำหรับฟีลลิ่งทันทีที่ได้จับ ก็รับรู้ได้ทันทีว่าเป็นพวงมาลัยแบบไฟฟ้าที่ตอบสนองแปรผันไปตามความเร็ว อย่างแน่นอน การหักเลี้ยวนี่ล่ะ ใช่เลย การตอบสนอง ของวงเลี้ยว ทำได้ดีแคบ และแม่นยำคม ชนิดที่ขับ 2 คันแรก ก่อนหน้ามา มาขับในคันนี้ เข้าตัดไลน์ Pylon ได้ชิดขึ้นกว่าเดิม แต่การตอบสนองของแป้นเบรก ดูแข็ง และตื้นมาก ลักษณะใกล้เคียงพวกรถยนต์ Hybrid แต่เมื่อตอนทดสอบระยะเบรก กลับทำได้สั้นและน่าประทับใจมากที่สุด เหยียบและอยู่เท้าทันที ด้านสมรรถนะอัตราเร่ง เครื่อง NA Boxer D4S แบบหัวฉีด Direct Injection การตอบสนองของคันเร่งดูยังไม่ค่อยติดเท้านัก กำลังเครื่องยนต์มาในรอบสูง ซึ่งมาช้าเกินไป สำหรับการขับขี่แบบในสนามแบบเล็กๆ เช่นนี้ ในช่วงเร่งทางตรงยาว สามารถขับลากเกียร์ 1 ไปถึงประมาณ เกือบ 8,000rpm เสียงเครื่อง Boxer ออกแนวทุ้มผสมหวานๆ ซึ่งไม่โหด เหมือนพวก Impreza แบบก่อนๆ ที่คนนิยมเล่น ซึ่งความเร็วได้อยู่ราวๆ 50กม./ชม.
กล่าวโดยสรุป กับการทดลองขับแบบ 1st Impression ในครั้งนี้ ที่จริงแล้ว ทาง Motorimage ต้องการพิสูจน์ ให้เห็น ว่า Subaru XV ตัวที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่น (CBU) และตัวผลิตในมาเลเซีย (CKD) ที่ทำตลาด 3 ประเทศ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย นั้น มีคุณภาพ และสมรรถนะแทบไม่แตกต่างกันเลย เพียงต่างกันที่ออปชั่นเท่านั้น ซึ่งพูดถึงอนาคต คงต้องดูกันต่อไปถึงควาเป็นไปได้ที่จะมาตั้งรากฐานการผลิตในบ้านเรากันต่อ เผื่อคนไทย จะได้ขับรถสมรรถนะดี ในราคาที่ถูกลงกว่านี้ไปอีก
เชิญพูดคุยสอบถามรายละเอียดรถกับ Admin ภณ เพียรทนงกิจ Test Driver
ความคิดเห็น